กิจกรรมการเรียนรู้สู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDG
การเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs (Sustainable Development Goals) คืออะไร
คือ กรอบเป้าหมายที่องค์การสหประชาชาติกำหนดขึ้นในปี 2015 เพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศสมาชิก มีเป้าหมายทั้งหมด 17 เป้าหมาย ครอบคลุมประเด็นสำคัญในด้านสังคม สิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ โดยมีเป้าหมายที่ตั้งไว้ให้บรรลุภายในปี 2023
เป้าหมายทั้ง 17 เป้าหมายประกอบด้วย
เป้าหมายที่ 1: ยุติความยากจนทุกรูปแบบในทุกที่
เป้าหมายที่ 2: ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหารและยกระดับโภชนาการ และส่งเสริมเกษตรกรรมที่ยั่งยืน
เป้าหมายที่ 3: สร้างหลักประกันการมีสุขภาวะที่ดี และส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับทุกคนในทุกช่วงวัย
เป้าหมายที่ 4: สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุม และเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต
เป้าหมายที่ 5: บรรลุความเสมอภาคระหว่างเพศ และเพิ่มบทบาทของสตรีและเด็กหญิงทุกคน
เป้าหมายที่ 6: สร้างหลักประกันเรื่องน้ำและการสุขาภิบาล ให้มีการจัดการอย่างยั่งยืนและมีสภาพพร้อมใช้ สำหรับทุกคน
เป้าหมายที่ 7: สร้างหลักประกันว่าทุกคนเข้าถึงพลังงานสมัยใหม่ในราคาที่สามารถซื้อหาได้ เชื่อถือได้ และยั่งยืน
เป้าหมายที่ 8: ส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง ครอบคลุม และยั่งยืน การจ้างงานเต็มที่และ มีผลิตภาพ และการมีงานที่มีคุณค่าสำหรับทุกคน
เป้าหมายที่ 9: สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่มีความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลง ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรม ที่ครอบคลุมและยั่งยืน และส่งเสริมนวัตกรรม
เป้าหมายที่ 10: ลดความไม่เสมอภาคภายในและระหว่างประเทศ
เป้าหมายที่ 11 : ทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ มีความครอบคลุม ปลอดภัย ยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลง และยั่งยืน
เป้าหมายที่ 12: สร้างหลักประกันให้มีแบบแผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน
เป้าหมายที่ 13: ปฏิบัติการอย่างเร่งด่วนเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่เกิดขึ้น
เป้าหมายที่ 14: อนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทร ทะเลและทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
เป้าหมายที่ 15: ปกป้อง ฟื้นฟู และสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน จัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน ต่อสู้การกลายสภาพเป็นทะเลทราย หยุดการเสื่อมโทรมของที่ดินและฟื้นสภาพกลับมาใหม่ และหยุดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ
เป้าหมายที่ 16: ส่งเสริมสังคมที่สงบสุขและครอบคลุม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ให้ทุกคนเข้าถึงความยุติธรรม และสร้างสถาบันที่มีประสิทธิผล รับผิดชอบ และครอบคลุมในทุกระดับ
เป้าหมายที่ 17: เสริมความเข้มแข็งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูสภาพหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนถูกแบ่งเป็น 5 ด้าน (5P)
- People การพัฒนาคน ประกอบไปด้วยเป้าหมายที่ 10,11,1,2,3 : เริ่มต้นจากคนที่เป็นพื้นฐานสำคัญในประชากรที่จะช่วยทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
- Planet สิ่งแวดล้อม ประกอบไปด้วย เป้าหมายที่ 6,12,13,14,15 : คนกับสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องเดียวกัน เราจะทำยังไงให้คนเข้ามามีส่วนร่วมกับสิ่งแวดล้อม และทำอย่างไรให้โลกของเรามีความยั่งยืนมากขึ้น
- Partnership หุ้นส่วนการพัฒนา ประกอบไปด้วยเป้าหมายที่ 17
- Prosperity เศรษฐกิจและความมั่งคั่ง ประกอบไปด้วยเป้าหมายที่ 4,5,7,8,9 : เราจะทำอย่างไรให้คนมีมั่งคั่งสามารถมาช่วยกัน สามัคคีกันเพื่อผสานโลกให้ยั่งยืน
- Peace สันติภาพและความยุติธรรม ประกอบไปด้วยเป้าหมายที่ 16 : ความสงบจะเกิดขึ้นได้ถ้าโลกเกิดความยุติธรรม และมีการปกครองทางกฎหมายที่ยุติธรรม
- บทบาทของครูทำอะไรได้บ้าง ?
- เอาเนื้อหาบทเรียนเป็นตัวตั้ง
- เลือกส่วนสัมพันธ์เชื่อมโยงกับ SDG ข้อไหนได้บ้าง
- บูรณาการเหตุการณ์ สถานการณ์ให้ชัดเจน
- ใช้เกม หรือกิจกรรมสร้างสรรค์
ตัวอย่างการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้วิชาภาษาไทย
เนื้อหา : วิชาภาษาไทย ระดับชั้น ม.3 เรื่องพระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อ ส่วนสัมพันธ์เชื่อมโยง : การช่วยเหลือ , ทะเล บูรณาการ : G-17, G-14 ใช้เกม หรือกิจกรรม : เกมขี่ม้าส่งเมือง
ตัวอย่างการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์
เนื้อหา : วิชาวิทยาศาสตร์ ระดับชั้นม.3 เรื่อง ประโยชน์จากส่วนประกอบสาร
ส่วนสัมพันธ์เชื่อมโยง : สุขภาพ
บูรณาการ : G-3
ใช้เกม หรือกิจกรรม : ปิงปองกลิตเตอร์ ทำให้เธอเห็นการระบาดของไวรัส
วิธีการเล่น คือ การส่งปิงปองที่มีกลิตเตอร์ไปเรื่องๆ เพื่อให้เห็นว่าการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสติดต่อกันได้อย่างไร
ทำอยางไร กลิตเตอร์จะออกจากมือเรา ? ใช้หนังยาง หรือหนังยางชุบสบู่ พร้อมทั้งถ่ายภาพ/ถ่ายคลิป บันทึกผล
ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้สู่สถานศึกษายั่งยืน (SDGs)
- พานักเรียนเดินสำรวจเพื่อสร้างแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน
- ชวนนักเรียนเชื่อมโยงแหล่งเรียนรู้กับเป้าหมายของ SDGs
- โยนประเด็นการเรียนรู้และโจทย์ให้นักเรียนสร้างกิจกรรมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เช่น เป็นฐานการเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
- ใช้สถานการณ์จำลองเพื่อให้นักเรียนได้เรียนครบทั้ง 17 ประเด็น
กิจกรรมอื่นๆ ที่เชื่อมโยงกับ SDGs
- ให้นักเรียนออกแบบโรงเรียนในฝันของตัวเอง
- สร้างแหล่งเรียนรู้โรงเรียนที่เชื่อมโยงกับ SGDS
- สร้างกิจกรรมโดมิโน่ SDGs
- ให้นักเรียนออกแบบเมืองในฝันที่ตอบโจทย์ SDGs
- บันทึกกิจกรรมสู่ความยั่งยืน โดยการให้นักเรียนแชร์ประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับ SDGs ข้อไหนอย่างไร แล้วนำมาทำเป็นสมุดสะสม หรือ Portfolio ให้กับเพื่อน
- ให้นักเรียนสร้างโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับ SDGs
- ให้นักเรียนสร้าง Storytelling ยกตัวอย่างจากสิ่งของ 1 สิ่งว่าเชื่อมโยงกับ SDGs เรื่องไหนได้บ้าง เช่น บุหรี่ 1 ตัวเชื่อมโยงกับอะไรได้บ้าง อย่างไร
สุดท้ายคุณครูสามารถหาความรู้เกี่ยวกับ SDGs ได้ในเว็บไซต์ทั่วไป จะมีข้อมูลที่หลากหลายให้คุณครูได้ทำความเข้าใจเพิ่มเติม หรือต้องการไอเดียกิจกรรมสามารถเข้าไปที่เพจ Green Power Gangster
Related Courses
STAMPER Learning การเรียนรู้แบบบูรณาการ
STAMPER Learning เป็นการบูรณาการแบบใหม่ ครบจบทั้งขั้นตอนการเรียนรู้ และการประเมินผลสำหรับครู ซึ่งทำได้ง่ายๆ ในกิจกร ...
Micro Learning การดูแลสุขภาพใจ ป.4-6
เด็กระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6 จะอยู่ในช่วงวัยที่เริ่มเรียนรู้จักพัฒนาตนเอง สนใจความรู้สึกตนเองและผู้อื่น เริ่มให้ความสนใจเพศตร ...
Micro Learning การดูแลสุขภาพใจ ป.1-3
การที่เด็กอารมณ์ดี มีความร่าเริงแจ่มใสจะมีผลต่อพัฒนาการในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็น สมอง จิตใจ และร่างกาย แต่หากอารมณ์ไม่ ...
Micro Learning เรียนคณิตศาสตร์ ม.1-3
คอร์สนี้เป็นการเรียนรู้การเกี่ยวกับการสอนวิชาคณิตศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่1-3 โดยแบ่งเป็นบทเรียนที่เหมาะสมกับต่ละรดับชั้น ...