ดิจิทัลเกมซิมูเลชัน (DGS) : เทคโนโลยีการเรียนรู้ยุคใหม่ ในรูปแบบเกม
ด้วยกระแสเกม และอีสปอร์ตที่มาแรงในปัจจุบันนี้ ถ้าคุณเป็นคนนึงที่มีความฝันอยากสร้างเกมของตัวเองสักเกมหนึ่งหรือหลายเกม ยุคนี้เปิด youtube เรียนเองก็ได้ แต่จะดีกว่าหรือไม่ หากได้มีโอกาสมาเรียนในหลักสูตรที่เปิดโดยนักพัฒนาเกมเพื่อสร้างนักพัฒนาเกมโดยเฉพาะ โดยทางหลักสูตรดิจิทัลเกมซิมูเลชัน ได้รวบรวมคัดสรรทีมอาจารย์ ผู้สอนที่มีประสบการณ์ ในการพัฒนาเกมมายาวนาน และสอนให้ผู้เรียนได้คว้ารางวัลระดับประเทศมาหลายยุคหลายสมัย การที่ได้เรียนกับผู้สอนที่รู้จริงทำงานในสายอาชีพนี้ ก็เท่ากับว่าหนทางข้างหน้าได้เปิดขึ้นแล้ว ไม่ต้องเรียนเองโดยที่คาดเดาเรื่องต่างๆ จากอินเทอร์เน็ตเอง เมื่อเจอปัญหาผู้เรียนก็สามารถถามคำถามจากอาจารย์ได้เลย ปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ก็จะเป็นเรื่องง่ายดาย ผู้เข้าเรียนจะได้เรียนการสร้างเกมอย่างครบถ้วนตั้งแต่ทฤษฎีเบื้องต้น การวาดภาพ การปั้นโมเดลสามมิติ แนวคิดในการพัฒนาเกม การออกแบบเกม ทำอย่างไรให้เกมสนุก การเขียนเกมออนไลน์ การตั้งทีมพัฒนาเกม การพัฒนาเกม การจัดจำหน่ายเกม และหลักสูตรดิจิทัลเกมซิมูเลชันยังเป็นหลักสูตรแรกที่สอนการสร้างเมต้าเวิรส์ที่ทันสมัยที่สุดในย่านนี้เรียนกับมืออาชีพไปได้เร็วกว่า ไปได้ไกลกว่า
จุดเด่นของหลักสูตร
- เรียนเจาะลึกทางด้านเกม กราฟิก การพัฒนาโปรแกรม ศิลปะสำหรับเกม
- ได้เรียนกับอาจารย์ที่เชี่ยวชาญตัวจริง มีความรู้ความสามารถในด้านต่างๆ
- มุ่งเน้นการทำได้จริง ไม่ต้องท่องตำรา
- เน้นพัฒนาความสามารถของผู้เรียนเป็นสำคัญ
- มีวีดีโอดูย้อนหลังได้ ในบางรายวิชา
- พิเศษเฉพาะหลักสูตรดิจิทัลเกมซิมูเลชัน ได้ใช้ซอฟต์แวร์ที่ทันสมัยและถูกลิขสิทธิ์ เช่น iclone, adobe อุปกรณ์ฮาร์แวร์ เช่น motion capture
- มีคำถามที่ถามกันบ่อยมากหลักสูตรนี้ดีกว่าหลักสูตรศิลปะทั่วไปอย่างไร คำตอบง่ายนิดเดียว หลักสูตรดิจิทัลเกมซิมูเลชันเรียนทั้งศิลปะและการพัฒนาซอฟต์แวร์ การพัฒนาแนวคิดเชิงวิทยาศาสตร์ ผู้เข้าเรียนจะได้เรียนทั้งศิลป์และวิทย์และยังได้รับวุฒิการศึกษา วท.บ. จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งหางานง่ายกว่า โอกาสได้รับเงินเดือนมากกว่าโอกาสในการเลื่อนตำแหน่งงานที่ดีกว่า และโอกาสเรียนต่อปริญญาขั้นสูงที่เปิดกว้างกว่า
- การผสมผสานอย่างลงตัวจากประสบการณ์ของการสร้างหลักสูตรทางด้านเกมมากกว่า 16 ปี เราได้ติดตามตลาดงานและคุณภาพบัณฑิตอย่างสม่ำเสมอ และได้นำมารวบรวมและปรับปรุงเพื่อให้เป็นหลักสูตรชั้นนำ หลักสูตรนี้จึงเป็นหลักสูตรเกม และซิมูเลชันที่ดีที่สุดและเนื้อหาครบที่สุดของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
กลุ่มอาชีพที่สามารถประกอบได้หลังจบการศึกษา
- โปรแกรมเมอร์ในสายงานทั่วไป
- นักวาดภาพ 2 มิติ
- นักปั้นโมเดล 3 มิติ
- โปรแกรมเมอร์ทางด้านกราฟิก 2 มิติ 3 มิติ
- นักพัฒนาเกมคอมพิวเตอร์
- นักออกแบบเกมคอมพิวเตอร์
- นักสร้างและวิเคราะห์ซิมูเลชันในเชิงสามมิติ เช่น การเกิดปรากฏการณ์ท้องฟ้า การจำลองน้ำท่วม การเคลื่อนที่ของยานพาหนะสมจริง เป็นต้น
วิชาที่น่าสนใจในหลักสูตร
- ดนตรีและเสียงพื้นฐานในดิจิทัลเกมและซิมูเลชัน
- การวาดภาพทิวทัศน์เชิงดิจิทัล
- ศิลปะสำหรับดิจิทัลเกมและซิมูเลชัน
- การสร้างแบบจำลองและพื้นผิวสามมิติ
- ปัญญาประดิษฐ์สำหรับดิจิทัลเกมและซิมูเลชัน
- การออกแบบตำแหน่งสถานที่ในเกม
- การวิเคราะห์ออกแบบเกม
- เจาะลึกการสร้างเกมในรูปแบบต่างๆ เช่น เกมปลูกผัก เกมรถแข่ง MOBA
- มีการทำโครงงานดูแลโดยผู้เชี่ยวชาญ ฝึกงานกับสถานประกอบการ สหกิจศึกษา
เรียนรู้เพิ่มเติมได้ที่ https://science.utcc.ac.th/major_dgs/
บทความใกล้เคียง
ทำอย่างไรให้ AI ช่วยวัยรุ่น? ขจัดปัญหาวุ่น ๆ ในการเรียน
กลยุทธ์การใช้ Padlet "ขั้นสูง" เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้แบบร่วมมือ Update AI and New Feature (2024)
เรียนรู้การใช้ Extension สุดเจ๋ง! เพื่อเสริมการทำงาน Google Workspace
Related Courses
การทำงานแบบทีม ทักษะจำเป็นยุคดิจิทัล (Collaboration skill)
ในคอร์สนี้จะเป็นการเรียนรู้ว่า การทำงานร่วมกันเป็นอย่างไร ทำไมเราต้องทำงานกับผู้อื่น แล้วเมื่อต้องทำงานร่วมกันแล้วจะส่งเสริมใ ...
การทำงานแบบทีม ทักษะจำเป็นยุคดิจิทัล (Collaboration skill)
เปิดโลกการเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา ด้วย Google Lens
Google Lens เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การเรียนรู้กลายเป็นเรื่องง่ายและสนุกสนาน ผ่านการใช้กล้องสมาร์ทโฟนเพียงเครื่องเดียว ผู้ ...
เปิดโลกการเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา ด้วย Google Lens
ต้องใช้ 100 เหรียญ
เริ่มต้นทำ Visual Note อย่างง่ายใครๆ ก็ทำได้
หากคุณเป็นคนชอบวาดรูป ชอบการขีดเขียน หรือการจดบันทึก อยากลองทำ Visual Note แต่ไม่รู้จะสื่อสารออกมาอย่างไรดี คอร์สเ ...
เริ่มต้นทำ Visual Note อย่างง่ายใครๆ ก็ทำได้
ต้องใช้ 100 เหรียญ
How to รู้เท่าทันมิจฉาชีพบนโลกไซเบอร์
ทุกวันนี้การใช้งานบนโลกอินเทอร์เน็ตก็เหมือนกับดาบสองคม ที่ไม่ได้มีแต่เรื่องดีๆ เสมอไป ขึ้นอยู่กับผู้ใช้แล้วว่าจะเลือกข้อมูลด้านไหน ...