หลาย ๆ ครั้งเรามักมองว่าการผิดพลาดคือสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ในการเรียน แต่หากเรามองมันดี ๆ สิ่งเหล่านี้มันคือโอกาสของการเรียนรู้ของนักเรียน แล้วเราควรทำอย่างไร?
Carol Dweck นักจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ดทำการทดลองเปรียบเทียบระหว่างนักเรียนที่มี Growth mindset กับ Fixed mindset
โดยการให้ทำแบบทดสอบง่าย ๆ กับเด็ก ป.5 เมื่อได้รับผลคะแนนแล้ว เธอจึงจะกล่าวชมเด็ก
เธอเลือกชมเด็กครึ่งหนึ่งในความเก่ง “เธอต้องเก่งในเรื่องนี้แน่เลย” (ซึ่งคำชมนี้สร้าง Fixed mindset )
และอีกครึ่ง เธอเลือกชมในความพยายาม “เธอพยายามมากเลยนะ” (คำนี้จะสนับสนุนการสร้าง Growth mindset)
หลังจากนั้นนักเรียนจะได้เลือกแบบทดสอบระหว่าง แบบยากขึ้น กับแบบง่าย(แบบทดสอบเดิม)
ผลที่ได้คือ 90% ของนักเรียนที่ถูกชมในความพยายาม เลือกที่จะทำแบบทดสอบที่ยากขึ้น ในขณะที่ นักเรียนที่ถูกชมในความฉลาดส่วนใหญ่ เลือกที่จะทำแบบง่าย
ทำไมถึงเป็นแบบนั้น?
คำตอบคือ สิ่งที่ Dweck พูดกับกลุ่มที่ถูกชมเรื่องความเก่ง เป็นการยึดให้นักเรียนติดอยู่กับ “ภาพลักษณ์” ของคนเก่ง การเกิดความผิดพลาดจะทำให้ส่งผลต่อภาพลักษณ์ของพวกเขา ในขณะที่คนที่ถูกชื่นชมในด้านความพยายาม จะเน้นไปที่การเรียนรู้ และไม่ต้องห่วงเรื่องของภาพลักษณ์ว่าจะดีหรือไม่
-แบบทดสอบสุดท้าย-
รอบนี้เป็นข้อสอบแบบยาก นักเรียนได้รับข้อสอบสำหรับเด็กม.2 ทั้ง ๆ ที่พวกเขาอยู่เพียง ป.5 เนื่องจาก Dweck อยากเห็นการตอบสนองของเด็ก ๆ และเป็นอีกครั้งที่มีความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัด
เด็กที่มี Growth mindset พยายามจะแก้โจทย์ปัญหา ในขณะเดียวกัน เด็กติดภาพ “ฉันเก่ง” กลับแสดงท่าทีหมดกำลังใจ
-เรียนรู้จากผู้อื่น-
เมื่อจบการทดสอบ เด็ก ๆ สองกลุ่มสามารถเลือกดูข้อสอบคนที่ได้คะแนน เยอะกว่า หรือ น้อยกว่า ได้
และผลลัพธ์แตกต่างต่างกันอย่างมาก เด็กที่ถูกชื่นชมในความเก่ง เลือกที่จะดูคนที่ได้คะแนนต่ำกว่า เพื่อยืนยันว่าพวกเขายังเก่งอยู่
ในขณะที่ผู้ที่ถูกชมเรื่องความพยายามเลือกที่จะดูคนที่ได้คะแนนสูงกว่า เพื่อที่จะนำความผิดพลาดของตัวเองมาเรียนรู้
-ผลลัพธ์จากการทดสอบ-
พบว่านักเรียนที่ถูกชื่นชมในความพยายาม มีตะแนนแบบทดสอบสูงขึ้นเฉลี่ย 30% เพราะด้วย Growth mindset พวกเขาจึงมีความตั้งใจที่จะท้าทายและเอาชนะตัวเอง ถึงแม้จะพลาดในตอนแรกก็ตาม
ในทางกลับกัน นักเรียนที่ถูกชมในความเก่งกลับมีคะแนนลดลง 20% จากที่พวกเขากลัวที่จะผิดพลาดทำให้พวกเขาไม่สามารถกล้าที่จะเรียนรู้อะไรใหม่ ๆ ได้
หากเราต้องการให้เขากล้าที่จะเรียนรู้ กล้าที่จะได้ทดลองสิ่งใหม่ ๆ เราต้องยอมรับ และอนุญาตให้พวกเขาได้ลอง และ ล้มเหลว รวมถึงตัวเราเอง ยิ่งคุณอยากจะเป็นแบบไหน คุณยิ่งต้องปลุกฝังสิ่งนั้นไว้กับตัวเอง ท้าทาย และโอบกอดความผิดพลาด ให้สิ่งเหล่านี้เป็นการเรียนรู้และเติบโตไปกับมัน
“ผมชู้ตบาสพลาดมากกว่า 9,000 ครั้งในการเล่นระดับอาชีพ ผมแพ้เกือบ 300 เกม และอีก 26 ครั้งที่ผมถูกคาดหวังให้ชู้ตเพื่อคว้าชัยให้กับทีมแต่ผมกลับทำพลาด ผมล้มเหลวในชีวิตซ้ำแล้วซ้ำอีก และนั่นคือเหตุผลว่าทำไมผมจึงประสบความสำเร็จ” - ไมเคิล จอร์แดน
ขอบคุณข้อมูลจาก
Related Courses
เติบโตได้ไม่รู้จบ ด้วย Growth Mindset
ฝึกฝนและพัฒนา เป็นกุญแจสำคัญมากกว่าพรสวรรค์ใดๆ เมื่อรู้สึกว่าน้ำในแก้วเริ่มเต็ม ควรเปลี่ยนแก้วใบใหม่ เพื่อรับน้ำที่มากขึ้นและจงเป็ ...



บทบาทสมมติกระตุ้นพัฒนาการได้อย่างไร
การจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมติเป็นการสอนที่สร้างสถานการณ์ให้คล้ายกับความเป็นจริง โดยให้ผู้เรียนแสดงตามความรู้ ...



อัจฉริยะ 8 ด้าน
พหุปัญญา (Multiple Intelligences) หรือ ปัญญาหลากหลายด้านของมนุษย์ ซึ่งเป็นการอธิบายความสามารถทางสมองของมนุษย์ ...



จากไอเดียสู่ธุรกิจด้วย Business Model Canvas
คอร์สนี้ออกแบบมาเพื่อให้เราเข้าใจ Business Model Canvas (BMC) และประยุกต์ใช้ในด้านการตลาดและการผลิต เพื่อช่วยวา ...



จากไอเดียสู่ธุรกิจด้วย Business Model Canvas
ต้องใช้ 100 เหรียญ
Related Videos


Starfish Trend Talk | EP.3 | : เราต่างต้องค้นหาตัวเองในทุกช่วงวัย

