การบ่มเพาะเด็กและเยาวชนไทยให้มีทักษะชีวิตความสำเร็จตอนที่ 2

ผศ.ดร. ชไมมน ศรีสุรักษ์
ผศ.ดร. ชไมมน ศรีสุรักษ์ 6760 views • 4 ปีที่แล้ว
การบ่มเพาะเด็กและเยาวชนไทยให้มีทักษะชีวิตความสำเร็จตอนที่ 2

วิธีการ “เลี้ยงดูเล่นเย็นใจ” เพื่ออบรมบ่มเพาะเด็กและเยาวชนไทยให้มีทักษะชีวิตความสำเร็จ ตอนที่ 2


การอบรมบ่มเพาะเด็กและเยาวชนไทยให้มีทักษะชีวิตความสำเร็จ เป็นอย่างไร?

คำว่า “อบรมบ่มเพาะ” และ “ทักษะชีวิตความสำเร็จ” ในแต่ละคำมีความหมายที่เกี่ยวข้องในทิศทางการพัฒนาเด็กและเยาวชนไปแนวทางเดียวกัน ดังนี้

“อบรม” คือการให้ความรักความอบอุ่น การขัดเกลานิสัยให้มีความซึมซาบในคุณงามความดีของตนเองและผู้อื่น

“บ่ม” คือ การสอนและสนับสนุนให้ประพฤติปฏิบัติในทางที่ดีจนเป็นนิสัย ให้เป็นคนที่สุกงอมหอมหวาน น่ารัก มีเสน่ห์ มีคุณลักษณะนิสัยที่พึงประสงค์

“เพาะ” คือการปลูกฝังคุณลักษณะที่พึงประสงค์ทุกด้านให้เกิดแก่เด็กและเยาวชน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา

“ทักษะ”คือ การทำซ้ำๆ จนเกิดความชำนาญ

“ชีวิต” คือ ความเป็นอยู่ การดำรงชีวิต

“ความสำเร็จ” คือ การได้ทำในสิ่งที่ตั้งใจไว้ให้บรรลุตามจุดประสงค์ หรือ เป้าหมายตามที่ตั้งใจไว้


ดังนั้น “การอบรมบ่มเพาะเด็กและเยาวชนไทยให้มีทักษะชีวิตความสำเร็จ” คือ การให้เด็กและเยาวชนสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ตามเป้าหมายตามที่ตั้งใจไว้ ด้วยวิธีการให้ความรักความอบอุ่น สนับสนุนให้ประพฤติปฏิบัติในทางที่ดีจนเป็นนิสัย และปลูกฝังคุณลักษณะที่พึงประสงค์ทุกด้านให้เกิดแก่เด็กและเยาวชน ซึ่งการจัดกระทำได้นั้นทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องควรคำนึงถึงบทบาทของตนเอง ดังนี้


1. บทบาทผู้ปกครอง ให้ความรักและเมตตาต่อลูกหลาน ให้เวลา ให้ความเข้าใจ เป็นต้นแบบที่เหมาะสม และให้ความร่วมมือกับสถานศึกษา หรือ องค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีวิธีคิดที่ถูกต้อง (Mind set) ในการพัฒนาเด็กและเยาวชน ตลอดจน ให้ความสนใจเรียนรู้ตามอัธยาศัยไปตลอดชีวิตเพื่อการอบรมบ่มเพาะเด็กและเยาวชนไทยให้มีทักษะชีวิตความสำเร็จ ตามความแตกต่างระหว่างบุคคล


2. บทบาทครูผู้สอน ต้องมีศาสตร์การสอนที่หลากหลาย ใช้รูปแบบการเรียนรู้ผ่านการเล่น มีลักษณะของการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) มีกระบวนการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติจริงอย่างเหมาะสมกับวัย และสามารถบูรณาการทุกกลุ่มสาระด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ต่าง ๆ ที่น่าสนใจสำหรับผู้เรียนที่เป็นเด็กและเยาวชนวัยต่างๆเพื่อจัดการศึกษาให้แก่เด็กและเยาวชนทุกท้องถิ่น รวมถึงเด็กและเยาวชนที่มีความต้องการพิเศษด้วย


ครูผู้สอน ต้องสามารถจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning ได้ และควรศึกษาว่ามีเทคนิคและศาสตร์การสอนอะไรบ้าง? ที่สามารถนำมาใช้พัฒนาเด็กและเยาวชนได้ อาทิเช่น เทคนิคการจัดการชั้นเรียน เทคนิคการเตรียมเด็กให้สงบ การใช้เพลง เกมการศึกษา การเคลื่อนไหวประกอบจังหวะ การเล่นกลางแจ้ง การเล่นเสรี กิจกรรมสร้างสรรค์ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กและเยาวชน เป็นต้น โดยนำมาบูรณาการและออกแบบกิจกรรมใหม่ ๆ ให้น่าสนใจ เพื่อส่งเสริมให้เด็กเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ประสบผลสำเร็จในชีวิตและปรับตัวเข้ากับสังคมที่เปลี่ยนแปลงได้ในช่วงวัยต่อไป


รูปแบบการสอนแบบ Active Learning สำหรับเด็กและเยาวชนมีอะไรบ้าง? เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนมีบทบาทในกิจกรรมการเรียนอย่างตื่นตัวและมีชีวิตชีวา เป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนมีส่วนริเริ่มและดำเนินการเรียนรู้อย่างใส่ใจ จดจ่อกับเนื้อหาและเรื่องที่เรียนอย่างต่อเนื่อง การเรียนรู้เชิงรุกมีรูปแบบหลากหลายประการ อาทิเช่น

·     การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน / โครงการ เป็นฐาน

·     การจัดการเรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวน

·     การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหา เป็นฐาน

·     การจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัย เป็นฐาน

·     การจัดการเรียนรู้แบบไฮสโคป (High Scope)

·     การจัดการเรียนรู้แบบภาษาธรรมชาติ/ ภาษาองค์รวม (Whole language)

·     การจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์ปัญญา (Constructionism)

·     การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (Integration)

·     ฯลฯ


    3. บทบาทผู้บริหารสถานศึกษา หรือ องค์กรที่เกี่ยวข้อง ควรกำหนดนโยบายและกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบ้านและโรงเรียน เพื่อให้ทุกฝ่ายมีมุมมองการปกป้องเด็กและเยาวชนได้ตรงกัน ดังนี้

   3.1 จัดกิจกรรมเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อให้มีมุมมองในการพัฒนาเด็กและเยาวชนได้อย่างเหมาะสมเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

   3.2 จัดกิจกรรมปลูกจิตสำนึกความเมตตาต่อกัน เข้าอกเข้าใจกัน เพราะบางครั้ง “ผู้ปกครองที่ดี ก็มีลูกหลานที่น่าสงสาร” รวมถึง “บางครั้งครูที่ดี ก็มีลูกศิษย์ที่น่าสงสาร”


4. บทบาทสถาบันการศึกษา และ องค์กรชุมชนทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กและเยาวชน ควรสนับสนุนนโยบายของการพัฒนาประเทศ และจัดกิจกรรมรูปแบบต่าง ๆ ผ่านทุกช่องทางเพื่อให้การศึกษาพัฒนาครู ผู้ปกครอง เด็กและเยาวชน ให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ มีทักษะชีวิตความสำเร็จ ตามที่ชาติคาดหวัง

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

การศึกษาในอนาคต
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ การรู้จักสังคม
basic
2:00 ชั่วโมง

ทำไมการศึกษาไทยต้องเปลี่ยนแปลง

ผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษาคงไม่ใช่แค่หน้าที่ของ “ครู” แต่คือผู้ที่มีความเชื่อและกล้าที่จะเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษา เพื่อก ...

Starfish Academy
Starfish Academy
ทำไมการศึกษาไทยต้องเปลี่ยนแปลง
Starfish Academy

ทำไมการศึกษาไทยต้องเปลี่ยนแปลง

Starfish Academy
ทักษะสําคัญแห่งโลกอนาคต
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
2:00 ชั่วโมง

กระตุ้นคิดแบบ High Scope

การเรียนการสอนแบบ High Scope เป็นการสอนที่เน้นการเรียนรู้แบบลงมือทำผ่านมุมและสื่อที่หลากหลายเหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก

Starfish Academy
Starfish Academy
กระตุ้นคิดแบบ High Scope
Starfish Academy

กระตุ้นคิดแบบ High Scope

Starfish Academy
1861 ผู้เรียน
เครืองมือครู
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
2:00 ชั่วโมง

Creative Thinking Classroom Design

Creative Thinking (ความคิดสร้างสรรค์) เป็นคุณลักษณะที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน และเป็ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
Creative Thinking  Classroom Design
Starfish Academy

Creative Thinking Classroom Design

Starfish Academy
14434 ผู้เรียน
พัฒนาการเด็ก
การรู้จักตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

พัฒนาการด้านร่างกายสำคัญอย่างไร

เรียนรู้ความสำคัญ ตัวอย่างกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย แนวทางการจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการด้านร่า ...

Starfish Academy
Starfish Academy
พัฒนาการด้านร่างกายสำคัญอย่างไร
Starfish Academy

พัฒนาการด้านร่างกายสำคัญอย่างไร

Starfish Academy
6586 ผู้เรียน

Related Videos

Starfish Academy
06:16
Starfish Academy

Starfish Academy

Starfish Academy
365 views • 3 ปีที่แล้ว
Starfish Academy
"ถาม"คือ"สอน"
04:30
Starfish Academy

"ถาม"คือ"สอน"

Starfish Academy
139 views • 3 ปีที่แล้ว
"ถาม"คือ"สอน"
Makerspace Day #2
04:27
Starfish Academy

Makerspace Day #2

Starfish Academy
278 views • 1 ปีที่แล้ว
Makerspace Day #2
“การศึกษาไทยไปทางไหนดี? ในช่วง COVID-19”
03:31
รศ.ดร.ธันยวิช วิเชียรพันธ์

“การศึกษาไทยไปทางไหนดี? ในช่วง COVID-19”

รศ.ดร.ธันยวิช วิเชียรพันธ์
120 views • 4 ปีที่แล้ว
“การศึกษาไทยไปทางไหนดี? ในช่วง COVID-19”