How to ลดการพึ่งพาสไลด์
ไม่ง่ายเลยที่จะเป็นครู และก็ไม่ง่ายเลยที่จะทำให้นักเรียนเข้าใจ แถมยิ่งใช้สไลด์ พวกเขาก็ยิ่งงงเข้าไปใหญ่ทำไมกันนะ?
เรามาแก้ไขปัญหานี้ และสร้างการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพกันเถอะ
1. ลด ละ เลิก
ไม่ใช่การเลิกเหล้า แต่เป็นการ “เลิก” ใช้ข้อความยาวเหยียดเหมือนนำเรียงความมาใส่ในบทเรียน ทั้ง ๆ ที่มันคือข้อมูลที่จำเป็นบ้าง ไม่จำเป็นบ้าง หรือต่อให้จำเป็น มันไม่ได้แปลว่า “ทุกอย่างที่จำเป็นต้องอยู่ในหน้าสไลด์” ดังนั้นลอง “ลด” ข้อความ และใช้วีดีโอ , podcast หรือ สื่อต่าง ๆ เป็นตัวช่วยในบทเรียนนั้น ๆ
และลองนึกถึงจุดประสงค์ ในข้อความต่าง ๆ ที่ใส่ลงไป หลาย ๆ ครั้ง คุณไม่จำเป็นต้องร่ายทุกสิ่งในหน้าสไลด์ เพียงแต่ใส่วิธีการ หรือ โครงสร้างสิ่งนั้น ๆ ให้กระจ่างก็เพียงพอแล้ว และ ผู้เรียนนำไปประยุกต์ใช้ต่อในบทเรียนเองจะเป็นทางที่ดีกว่าดังนั้นการ “ละ” สิ่งใด ๆ ไว้ในฐานที่เข้าใจ คือคุณค่าหลักของการเรียนรู้
2. ให้นักเรียนได้เป็นส่วนหนึ่งในบทเรียน
การที่จะทำให้ผู้เรียนได้เข้าใจในสิ่งที่เราสอนจริง ๆ ก็คือให้เขาเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างอุปกรณ์ หรือ ตัวช่วยในบทเรียนนั้นขึ้นมา
ตัวอย่างเช่น ถ้าเราจะสอนเรื่อง สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ แทนที่เราจะแสดงให้เห็นถึงข้อสรุป หรือข้อมูลโต้ง ๆ ลองให้นักเรียนแต่ละคนได้ลองลิสต์สิ่งที่ตัวเองรู้เกี่ยวกับหัวข้อนั้น ๆ แล้วให้ทั้งห้องได้แลกเปลี่ยนกันเรียนรู้ ก็เป็นอีกทางที่น่าสุก และ ทำให้พวกเขามีความสนใจมากขึ้น
3. หยุดใช้ “Any Questions?” ได้แล้ว!!!
ทุกคนเคยผ่านจุดที่เจอ “ไสลด์แห่งความเงียบ” มาแล้วทั้งนั้น เหตุผลก็เพราะมันมักจะไม่มีใครถามอะไร และอยากให้มันจบไปไว ๆ น่ะสิ!
เราแนะนำให้ลองปรับเป็นคำถามปลายเปิดหลังการเรียนรู้แทน เพราะมันจะให้ทุกคนในห้องเรียนได้แบ่งปันความคิด และผู้สอนเองจะได้รู้ถึงความเข้าใจของผู้เรียนแต่ละคนอีกด้วย ปล. รางวัลเล็ก ๆ น้อย ๆ อาจสร้างสีสันได้ดีเชียวล่ะ!
อีกเรื่องคือลองเพิ่ม “เวลารอ” หลังตั้งคำถาม และ หลังจากผู้เรียนตอบ เพราะจากการวิจัยพบว่าผู้สอนมักไปไวกว่า 1 วินาที ก่อนที่จะได้ยินนักเรียนพูดตอบ ลองอดใจรออีกสักนิดนะคุณครู!
4. ปรับเปลี่ยนรูปแบบในห้องเรียน
บางครั้งเราใช้สไลด์มากไป จนลืมการมีปฎิสัมพันธ์ และการเข้าใจกันและกัน ลองหันหลังให้สไลด์ แล้วตั้งวงนั่งคุยกันถึงความเข้าใจ ผู้สอนลองเริ่มจากคำถามง่าย ๆ ให้ผู้เรียนได้เข้าถึง แล้วเขยิบไปทีละนิดจนถึงเป้าหมายที่เราต้องการให้พวกเขาได้เรียนรู้
สไลด์ช่วยได้มากในการสอน แต่เมื่อลดการพึ่งพามันจะทำให้การสอนและความเข้าใจของผู้เรียนนั้นดียิ่งขึ้น
ขอบคุณข้อมูลจาก
www.edutopia.org/article/reducing-dependence-slides
บทความใกล้เคียง
Related Courses
การฟื้นฟูภาวะความรู้ถดถอย (Learning loss)
เรียนรู้ผลกระทบของ Learning Loss ที่ส่งกระทบถึงผู้เรียน ในภาพรวมของประเทศเพื่อฟื้นฟูการเรียนรู้ของนักเรียน โดยใช้ 5ม ...
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...
Micro Learning เครื่องมือช่วยสอนการเรียนออนไลน์
เครื่องมือช่วยครูในการเรียนออนไลน์ในคอร์สนี้ แนะนำเครื่องมือที่น่าสนใจ 3 ตัวช่วย คือ Google Earth, Line Open Chat แ ...
3 แอปพลิเคชันง่ายๆ ตัวช่วยทำสื่อการสอน
เรียนรู้ 3 แอปพลิเคชันง่ายๆ ที่นำไปใช้ได้จริงสำหรับการสร้างสื่อการสอน สะดวกต่อการใช้งาน มีประโยชน์สำหรับห้องเรียน ช่วยให้นัก ...