สร้างระบบนิเวศการเรียนรู้แบบสืบเสาะบ่มเพาะการคิดเชิงวิพากษ์ในสังคมไทย
โรงเรียนบ้านปลาดาว เป็นโรงเรียนเอกชนประเภทศึกษาสงเคราะห์ ซึ่งเป็นโรงเรียนนำร่องในพื้นที่นวัตกรรมทำให้โรงเรียนสามารถพัฒนาหลักสูตรของตนเองที่มุ่งเน้นการจัดการเรียนการสอนด้วยการบูรณาการจากสิ่งที่เด็กต้องรู้หรือสิ่งที่เด็กควรจะรู้ และสิ่งที่หลักสูตรอยากให้เด็กรู้ จึงทำให้มีวิธีการจัดการเรียนการสอนหลากหลายรูปแบบให้เด็กสามารถได้เรียนในสิ่งที่ต้องการจะเรียนและเล็งเห็นว่าเป็นสิ่งที่มีความหมายกับผู้เรียนทั้งนี้ โรงเรียนได้จัดการเรียนการสอนโดยการใช้กิจกรรม Makerspace ซึ่งเป็นการสร้างหรือจัดพื้นที่ให้เด็กได้เรียนรู้ในการเป็นเจ้าของกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองภายใต้การสร้างข้อตกลงและการทำงานร่วมกันภายในห้องเรียนนั้นๆ ผ่านกระบวนการ STEAM Design Process เป็นแกนหลัก
ในการทำงาน ซึ่งประกอบด้วย 5 ขั้นตอนดังนี้
1) ขั้นถาม (Ask) เป็นการถามเพื่อกระตุ้นความสนใจ เพื่อให้เด็กใช้ในการแก้ไขปัญหา
2) ขั้นจินตนาการ (Image) เป็นการเปิดโอกาสให้เด็กได้จินตนาการถึงสิ่งที่อยากจะทำ
3) การวางแผน (Plan) เป็นการวางแผนในสิ่งที่ได้จินตนาการไว้
4) ขั้นสร้างสรรค์/ลงมือทำ (Create) การสร้างสรรค์งานตามแผนที่ได้วางไว้
5) การสะท้อนคิดและออกแบบใหม่ (Reflect & Redesign) เป็นการทบทวนสิ่งที่ทำมา เพื่อพัฒนาหรือปรับปรุงงาน
นอกจากนี้ โรงเรียนบ้านปลาดาวได้มีการจัดการเรียนรู้แบบ PBL ซึ่งมีสองรูปแบบที่แตกต่างกันคือ Problem Based Learning ที่อาศัยวิธีการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตจริงของนักเรียนชั้นประถมศึกษา และ Project Based Learning เป็นการสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่ใช้สิ่งที่นักเรียนชั้นอนุบาลสนใจ เพื่อให้เด็กได้มีทักษะในการวางแผนแก้ไขปัญหา โดยใช้กระบวนการ "EDICRA" ที่พัฒนาต่อยอดจากกระบวนการ STEAM Design Process ซึ่งประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 Explore การสํารวจปัญหา
ขั้นตอนที่ 2 Define ระบุปัญหาถึงสิ่งที่เด็กต้องการจะทำคืออะไร
ขั้นตอนที่ 3 Investigate การสืบสวน เจาะลึก หาข้อมูลในการแก้ปัญหา
ขั้นตอนที่ 4 Create การสร้างสรรค์นวัตกรรมในการแก้ปัญหา
ขั้นตอนที่ 5 Reflex การสะท้อนคิด
ขั้นตอนที่ 6 Act การสร้างความแตกต่างจากนวัตกรรม
และจากการเข้าสู่กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบ PBL และ Makerspace ผ่านกระบวนการ EDICRAโดยใช้ปัญหาหรือความสนใจเป็นฐานเพื่อกระตุ้นความสนใจของผู้เรียนช่วยให้ผู้เรียนสามารถค้นหาคำตอบจากคำถามที่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่พบในชีวิตประจำวัน โดยมีครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ และยังสามารถกำกับการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
เห็นได้ว่า การเรียนรู้ของเด็กแต่ละคนมีความสามารถที่หลากหลาย การวัดและประเมินผลพัฒนาการและความก้าวหน้าของเด็กทุกคนย่อมแตกต่างกัน ซึ่ง Starfish Education ได้มีเครื่องมือ Starfish Class Application แพลตฟอร์มเครื่องมือในการวัดและประเมินผลในการจัดการเรียนการสอน และประเมินทักษะสมรรถนะที่หลากหลายของผู้เรียนตามสภาพจริง (Learning Outcomes) ประกอบด้วย ทักษะ 4C และ 6 ทักษะ Social Motional Learning Skill
ซึ่งครูสามารถเลือกประเมินให้สอดคล้องกับเป้าหมายในเนื้อหาการเรียนรู้นั้นๆ ทั้งนี้ ครูยังสามารถเพิ่มทักษะที่ต้องการในด้านอื่นๆ รวมถึงการเก็บหลักฐานการเรียนรู้ทั้งในรูปแบบของรูปภาพ วิดีโอ และไฟล์เอกสารได้ อีกทั้งยังสามารถรายงานผลของเด็กได้ทั้งรายบุคคลและรายห้องเรียนในรูปแบบ Digital Portfolio ได้อีกด้วย
บทความใกล้เคียง
Starfish Teachers Hero Season 2 แท็กทีมครูมีไฟ หัวใจฮีโร่ ในยุค New Normal
การเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคม (Social Emotional Learning)
Empowering Creativity and Innovation: The Impact of Starfish Makerspace in Three Thai Schools
Related Courses
พื้นที่แบบไหนก็จัด Makerspace ได้
พื้นที่นักสร้างสรรค์ Makerspace เป็นการจัดเตรียมพื้นที่สำหรับนักสร้างสรรค์ สามารถจัดได้หลายรูปแบบตามบริบทของพื้นที่นั้นๆ เพื่อใ ...
คู่มือ Starfish Makerspace Certified Teacher & School Leader
Starfish Makerspace Certified Teacher & School Leader เป็นคู่มือที่ออกแบบมาเพื่อส่งเสริมพัฒนาทักษะและศักยภาพข ...
คู่มือ Starfish Makerspace Certified Teacher & School Leader
การวางแผนพัฒนาตนเอง
การวางแผนพัฒนาตนเองช่วยให้คุณครูกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน มีการวางแผน และช่วยให้ครูเลือกใช้วิธีการที่เหมาะสม มีการกำหนดระ ...
การออกแบบกล่องเพื่อการเรียนรู้ (Learning Box)
เนื่องจากสถานการณ์โควิดทำให้โรงเรียนไม่สามารถจัดการเรียนการสอนได้ตามปกติ และเด็กจำเป็นต้องเรียนที่บ้าน Learning box ...