แนวทางการพัฒนากระบวนการเรียนรู้นำไปสู่การทำวิจัยในอนาคต
การเรียนรู้ถือได้ว่าเป็นกระบวนการที่สำคัญที่ทำให้มนุษย์ได้รับประสบการณ์ที่หลากหลาย สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตได้จากความสามารถในการเรียนรู้ที่เต็มความสามารถและฝังแน่นจนพัฒนาเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ การเรียนรู้ (Learning) คือ กระบวนการหรือวิธีการที่ผู้เรียนใช้ในการสร้างความรู้ความเข้าใจเชิงลึก (Deep learning) ให้กับตนเองผ่านการปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้อย่างมีเป้าหมาย
กระบวนการเรียนรู้ (Learning Process) คือ การดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอนหรือการใช้วิธีการต่าง ๆ ที่ช่วยให้บุคคลเกิดผลลัพธ์การเรียนรู้ (Learning Outcome) ประกอบด้วย 3 มิติ ได้แก่ 1) ความรู้ความเข้าใจในสาระต่าง ๆ (Knowledge) 2) การใช้ทักษะกระบวนการต่าง ๆ (Skills) และ 3) ความสามารถในการประยุกต์ใช้และความรับผิดชอบ (Application and Responsibility) ทั้งนี้ การจัดการเรียนรู้ต้องยึดหลักที่ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ตามบริบทของตนเองผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก หรือ Active Learning ซึ่งเป็นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เน้นการมีส่วนร่วมของผู้เรียน โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์และ
ลงมือทำ อาทิเช่น รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้บทบาทสมมติ (Role Playing Model) เทคนิคคู่คิด (Think-Pair-Share) วิธีการสอนแบบใช้เกม (Games Based Learning) เทคนิคการสอนแบบแผนผังความคิด (Mind Mapping) การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning) ฯลฯ เพื่อเป็นเครื่องมือในการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้ นอกจากนี้ กระบวนการวิจัยยังถือได้ว่าเป็นเครื่องมือสำคัญที่นำมาใช้ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาผู้เรียนทั้งในด้านความรู้ ทักษะ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ และกระบวนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละระดับการศึกษาอีกด้วย
การวิจัย (Research) เป็นการค้นคว้าหาความรู้หรือคำตอบที่ได้จากการกระทำซ้ำแล้วซ้ำอีก จนกระทั่งได้ผลสรุปหรือข้อยุติกระบวนการหาความรู้ที่ถูกต้อง เชื่อถือได้อย่างเป็นระบบสำหรับงานวิจัย ประกอบด้วย 5 บท ดังนี้
1) บทที่ 1 บทนำ ประกอบด้วย ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา วัตถุประสงค์ของการวิจัย สมมติฐานการวิจัย ขอบเขตของการวิจัย นิยามศัพท์เฉพาะ กรอบแนวคิดการวิจัย
2) บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เป็นการศึกษาเอกสาร แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศที่เกี่ยวข้อง
3) บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล
4) บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
5) บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
ทั้งนี้ การทำวิจัยสามารถสอดคล้องกับประเด็นท้าทายในการประเมินเพื่อขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะตามเกณฑ์ วPA อีกทั้งยังสามารถต่อยอดสู่แผนการจัดการเรียนการสอนได้อีกด้วย เห็นได้ว่าการวิจัยเป็นกระบวนการที่สามารถตอบโจทย์ในการพัฒนากระบวนการเรียนรู้เทคนิคและวิธีการสอนให้มีคุณภาพอันนำไปสู่ผลลัพธ์ของผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง
บทความใกล้เคียง
"พลังการเรียนรู้: การเติบโตและพัฒนาผ่านประสบการณ์การเรียนรู้"
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “นักเรียน : ผลลัพธ์จากโรงเรียนพัฒนาตนเอง”
กระบวนการสร้างโรงเรียนต้นแบบ (โรงเรียนวัดบางพลัด Model) โดยมูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮม ผ่านการจัดการเรียนรู้ Makerspace ด้วยกระบวนการ STEAM Design Process
Related Courses
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้เสมอการเรียนรู้การปฐมพยาบาลเบื้องต้น เพื่อเตรียมรับมือกับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดจึงเป็นเรื่องสำคัญ การปฐมพยา ...
ฝึกทักษะพื้นฐานในการตัดสินใจ (Decision Making)
การตัดสินใจที่ดีและมีประสิทธิภาพนั้น ถ้าหากได้รับการฝึกฝนทักษะการตัดสินใจตั้งแต่วัยรุ่น ก็จะเพิ่มโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในชีวิ ...
การออกแบบกล่องเพื่อการเรียนรู้ (Learning Box)
เนื่องจากสถานการณ์โควิดทำให้โรงเรียนไม่สามารถจัดการเรียนการสอนได้ตามปกติ และเด็กจำเป็นต้องเรียนที่บ้าน Learning box ...
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...