เรียนดีมีความสุข การศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ และการศึกษาเพื่อความมั่นคงของชีวิต “จับมือไว้แล้วไปด้วยกัน”
พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มอบนโยบายการศึกษา ที่มุ่งเน้นขับเคลื่อนนโยบายเพื่อสร้างคุณภาพให้แก่ผู้เรียนและสร้างคุณภาพชีวิตให้แก่ครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยขับเคลื่อนนโยบาย "เรียนดี มีความสุข" โดยแบ่งเป็น 2 หลัก คือ 1.การศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ และ 2 การศึกษาเพื่อความมั่นคงของชีวิต ซึ่งการดำเนินการมีแนวทางในการปฏิบัติ 2 แนวทางคือ
1.การลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยการปรับวิธีการประเมินวิทยฐานะครูและบุคลากรทางการศึกษาตามสภาพจริง ลดขั้นตอนการทำเอกสาร การประเมินที่ไม่ซับซ้อนและเป็นธรรม มุ่งผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนตามช่วงวัยเป็นสำคัญโดยคำนึงถึงบริบทของสถานศึกษาเพื่อไม่ให้เป็นการสร้างภาระงานให้แก่ครูจนเกินไป โดยใช้ระบบการประเมินเพื่อเลื่อนขั้นเงินเดือนและการประเมินวิทยฐานะให้มีความเชื่อมโยงกัน มีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการประเมินได้อย่างมีคุณภาพ ครูและบุคลากรทางการศึกษาคืนถิ่น เช่น โยกย้ายกลับภูมิลำเนา ด้วยความโปร่งใส ไม่มีการซื้อขายตำแหน่ง รวมถึงการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษาโดยการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในการใช้เงินและเก็บออมเงินโดยการปลูกฝังผู้ที่รับการบรรจุใหม่ให้มีความรู้ สร้างวินัยการบริหารจัดการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการสร้างขวัญและกำลังใจให้กับครูโดยการการรวมหนี้เป็นก้อนเดียวเพื่อลดภาระการผ่อนชำระหนี้ และการพักชำระดอกเบี้ยให้กับครูโดยลูกหนี้ชำระเพียงเงินต้นเท่านั้น ตลอดจนจัดหาวัสดุอุปกรณ์การสอนและสวัสดิการ ครู 1 คน ต่อ แท็บเล็ต 1 เครื่อง ที่สามารถเชื่อมโยงระบบออนไลน์ที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณเป็นงบลงทุนด้นโครงสร้างพื้นฐานเพื่อพัฒนาให้ครอบคลุมทั้ง 3 ด้าน คือ Hardware, Software , People ware
2. ลดภาระนักเรียนและผู้ปกครอง โดยการให้นักเรียนเรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา (Anywhere Anytime) เรียนฟรี มีงานทำ "ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง" มีระบบหรือแพลตฟอร์มการเรียนรู้ โดยผู้เรียนไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา (1 นักเรียน 1 แท็บเล็ต)โดยการส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการสนับสนุนและการจัดการศึกษา 1 อำเภอ 1 โรงเรียนคุณภาพ ระบบแนะแนวการเรียน (Coaching) และเป้าหมายชีวิตการจัดทำระบบวัดผลรับรองมาตรฐานวิชาชีพ (Skill Certificate) ผู้เรียนสามารถเพิ่มเพื่อรับประกาศนียบัตรในการประกอบอาชีพการทำระบบวัดผลเทียบระดับการศึกษาและประเมินผลการศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนที่มีความสามารถเป็นเลิศไม่ต้องเสียเวลาในระบบประหยัดเวลา ประหยัดค่าใช้จ่ายมีรายได้ระหว่างเรียน จบแล้วมีงานทำ (Learn to Earn) เน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เช่น ครอบครัว ผู้นำทางศาสนา และโรงเรียนเพื่อร่วมกันพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน โดยการสร้างเสริมประสบการณ์การเรียนรู้และการจัดการเรียนการสอนให้มีคุณภาพต่อไปในอนาคต ด้วยหลักแนวคิดร่วมการขับเคลื่อนของทุกภาคส่วนนั่นคือ “จับมือไว้ แล้วไปด้วยกัน” สู่การศึกษา เพื่อความเป็นเลิศ และการศึกษาเพื่อความมั่นคงของชีวิต
บทความใกล้เคียง
Related Courses
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...
การสอนคณิตศาสตร์ (3R)
คณิตศาสตร์จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แค่เรามีเทคนิคดีๆ มาเป็นตัวช่วยในการสอน คณิตศาสตร์ของเราก็จะเป็นเรื่องง่าย ไม่น่าเบื่ ...
ฝึกทักษะพื้นฐานในการตัดสินใจ (Decision Making)
การตัดสินใจที่ดีและมีประสิทธิภาพนั้น ถ้าหากได้รับการฝึกฝนทักษะการตัดสินใจตั้งแต่วัยรุ่น ก็จะเพิ่มโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในชีวิ ...
การวางแผนพัฒนาตนเอง
การวางแผนพัฒนาตนเองช่วยให้คุณครูกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน มีการวางแผน และช่วยให้ครูเลือกใช้วิธีการที่เหมาะสม มีการกำหนดระ ...