ครูคลับ (Kru Club) กลยุทธ์การใช้ Padlet ขั้นสูงเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม EP.2
กลยุทธ์การใช้ Padlet “ขั้นสูง” เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม คือ
- การเรียนรู้แบบร่วมมือในปัจจุบัน Cooperative Learning หมายถึง กิจกรรมการเรียนการสอนที่ส่งเสริมให้นักเรียนทำงานร่วมกัน มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น มีการช่วยเหลือพึ่งพาซึ่งกันและกัน และมีความรับผิดชอบร่วมกัน ทั้งในส่วนตนและส่วนรวม เพื่อให้ทุกคนในกลุ่มประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ สิ่งที่พึงสังเกตว่าการเรียนรู้ “แบบร่วมมือ”และการเรียนรู้ “แบบร่วมกัน”จะไม่เหมือนกัน มีความแตกต่างกัน
- รูปแบบของ Padlet ที่พัฒนามา ณ วันนี้ (Update มีนาคม – เมษายน 2566) มีการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น การใช้เทคนิควิธีในการใช้ Padlet ขั้นสูงจะมุ่งเน้นการใช้งานจาก Interface ใหม่
การใช้ Padlet “ขั้นสูง” สิ่งสำคัญที่สุดจะต้องมีการ Upgrade การใช้งาน เพราะถ้าใช้งานก็จะเริ่มต้นที่
1.Neon 3padlets Free
20MB/Upload Free
2.Gold 20padlets THB99/month
100MB/Upload THB999/year
3.Platinum Unlimited padlets THB149/month
500MB/Upload THB1,490/year
Padlet เดิมมีกระดานให้เราเลือกใช้ทั้งหมด 7 แบบด้วยกัน คือ 1.Wall 2.Stream 3.Grid 4.Sheif 5.Map 6.Canvas 7.Timeline
แต่สำหรับ Padlet ใหม่ มีกระดานเพิ่มมาเป็น 11 แบบ คือเพิ่ม advance formats อีก 5 แบบ คือ 1. Timeline with sections 2. Grid with sections 3. Stream with sections 4. Wall with sections (shell) 5. Map with sections ซึ่งเราสามารถเลือกใช้ตามรูปแบบกิจกรรมของเราเองได้เลย กด Preview เพื่อดูบอร์ดได้ทุกแบบ
Simple formats
Canvas กระจัดกระจายรวบรวมเป็นกลุ่ม คือกระดานที่เราสามารถจะจัดวาง จับกลุ่ม หรือเชื่อมโยงกันอย่างอิสระรูปแบบใดก็ได้
Timeline การเรียนรู้เรื่องราวจากแผนผังแสดงลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามลำดับเวลา โดยสามารถสร้างตามหัวข้อที่สนใจ และช่วงเวลาที่สนใจ ครูให้หัวข้อแล้วให้เด็กเลือเรียงลำดับให้ถูกต้อง
Grid การเรียงเนื้อหาในรูปแบบของกล่อง เป็นระเบียบ สามารถเรียงลำดับได้อย่างง่าย เป็นแถวตอนเรียงสี่ สวยงามน่าสนใจ
Stream เนื้อหาจะเรียงจากบนลงล่าง สะดวกต่อการอ่าน เราว่ากระดานแบบนี้เหมาะสำหรับกิจกรรมที่ต้องเรียงลำดับข้อความหรือประโยค
Wall เป็นกระดานที่ทุกคนสามารถพิมพ์ข้อความ แทรกภาพหรือแทรกไฟล์เราไปบนกระดานเดียวกันได้ ไม่ได้มีระบบการจัดวางที่ตายตัว
Map กระดานรูปแบบแผนที่ เราต้องพิมพ์หาตำแหน่งที่เราต้องการ แล้วเราก็สามารถเพิ่มข้อความไปยังตำแหน่งนั้นในแผนที่ได้
Advanced formats คือการใช้รูปแบบของการมี sections ในการแบ่งตามการทำงานใน 5 แบบ คือ Timeline with sections / Grid with sections / Stream with sections / Wall with sections (shell) / Map with sections
ดังนั้นจะเห็นว่า Padlet เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่จะอำนวยความสะดวกต่อการใช้งานทั้งสำหรับผู้สอนและผู้เรียน โดยมีประโยชน์ ดังนี้
- ครูผู้สอนสามารถติดตามความคืบหน้าของงานของนักเรียนได้อย่างง่ายดาย เพราะจะสามารถเข้าถึง Padlet ของผู้เรียนได้ตลอดเวลา
- ผู้สอนสามารถสร้างแบบฝึกหัด กระดานความรู้หรือเกมที่ผู้เรียนทุกคนมีส่วนร่วมกันได้
- ผู้เรียนจะมีความสุข และจะสนุกไปกับการใช้ Padlet
- ผู้เรียนจะมีความรู้สึกว่าตนเองนั้นมีส่วนร่วมกับบทเรียนได้เป็นอย่างดี
- ผู้เรียนจะสามารถทำกิจกรรมร่วมกับผู้เรียนคนอื่น ๆ ในห้องเรียนได้เป็นอย่างดี ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้เรียนและผู้สอนได้อย่างสมบูรณ์ นั่นคือวิธีการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมนั่นเอง
เห็นได้ว่า การใช้งาน Padlet ขั้นสูงมีวิธีการที่ซับซ้อนมากขึ้นแต่ถ้าสามารถเรียนรู้ได้อย่างเข้าใจจะมีประโยชน์ต่อครูผู้สอนเป็นอย่างมากเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทำให้นักเรียนประสบความสำเร็จในการเรียนได้เป็นอย่างดี อีกทั้งเป็นการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้ สามารถรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ www.facebook.com/groups/541874742829976
บทความใกล้เคียง
5 คอร์สออนไลน์ยอดฮิต เรียนฟรี แสนคุ้มค่า จาก Starfish Labz
ส่อง 5 บริษัทและเครื่องมือเทคโนโลยีทางการศึกษา พลิกโฉมการสอน จากห้องเรียนธรรมดาสู่ Hybrid
รวบตึงแหล่งรวมเทมเพลตแจกฟรีสวย ๆ ไว้ให้ใส่ Google Slide ครบจบในที่เดียว
Related Courses
Micro Learning เครื่องมือช่วยจัดการเรียนรู้ทางไกล
การเลือกครื่องมือช่วยจัดการเรียนรู้ทางไกลมีความสำคัญเพราะเป็นช่องทางที่จะนำความรู้ไปสู่นักเรียน จะมีเครื่องมือไหนบ้างที่เหมาะส ...
เรียนรู้ศิลปะดิจิทัล Google Art & Culture Metaverse
Google Arts & Culture แพลตฟอร์มออนไลน์ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถเข้าถึงผลงานศิลปะและวัฒนธรรมจากพิพิธภัณฑ์และสถา ...
เรียนรู้ศิลปะดิจิทัล Google Art & Culture Metaverse
ต้องใช้ 100 เหรียญ
สร้างสรรค์การนำเสนอที่ทรงพลังด้วย Google Slides
การใช้ Google Slides เพื่อการสอนอย่างสร้างสรรค์สามารถช่วยกระตุ้นความสนใจและสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่มีส่วนร่วมสำ ...
การสร้างสื่อการเรียนรู้
การสร้างสื่อการเรียนการสอนแบบดิจิทัล เพื่อการสอนเสริมและลดปัญหาการถดถอยในการเรียนรู้ของผู้เรียน