มิกซ์อย่างไรให้เวิร์คเทคโนโลยีการศึกษากับการประยุกต์ใช้สื่อแบบ Blended learning
ภาคการศึกษาได้รับผลกระทบจากวิกฤตไวรัสจนต้องมีการปรับกระบวนการเรียนการสอนใหม่ตามวิถี New Normal ในสถานการณ์เช่นนี้ เทคโนโลยีการศึกษา มีบทบาทอย่างมาก และแม้ว่าขณะนี้วิกฤตจะคลี่คลาย แต่การเรียนการสอนแบบใหม่ยังคงพัฒนาต่อโดยได้มีการประยุกต์แนวคิดของการผสมผสานสื่อการเรียนหลายรูปแบบเข้าด้วยกัน การผสมผสานอาจไม่ใช่แนวคิดใหม่ แต่ก็มีส่วนดีที่นำมาปรับเข้ากันได้กับยุคสมัยของ Digital Transformation ประเด็นที่น่าสนใจคือ การประยุกต์ใช้สื่อการเรียนการสอนแบบ Blended learning ในวิถีใหม่นี้จะลงตัวแค่ไหน วงการศึกษาจะพัฒนาอย่างไรให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
บทบาทของ เทคโนโลยีการศึกษา ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงสู่วิถีของการเรียนออนไลน์
ความโชคดีอย่างหนึ่งของคนที่เกิดในยุคเทคโนโลยีก็คือ สามารถเรียนรู้ได้อย่างไร้ขีดจำกัดเพราะเทคโนโลยีช่วยเชื่อมโยงข้อมูลให้เด็กสามารถนั่งเรียนบนหน้าจอคอมพิวเตอร์จากที่ไหนก็ได้ เทคโนโลยีมีบทบาทในการส่งต่อข้อมูลจากโลกภายนอกทุกแห่งหนเข้ามายังผู้เรียน เพียงแค่ผู้เรียนทำหน้าที่ในการค้นหาก็สามารถเข้าถึงความรู้ได้มากมายหลายด้าน ทั้งยังสามารถนำข้อมูลความรู้มาแชร์กัน ผ่านเครือข่ายสื่อสารที่เรียลไทม์ ไม่เพียงแค่ผู้เรียนเท่านั้น ครูผู้สอนก็มีอิสระในการพัฒนาการสอนผ่าน เทคโนโลยีการศึกษา ได้มากยิ่งขึ้น การพัฒนาด้านการศึกษาจึงมีทิศทางที่กว้างไกลมากกว่าเดิมหลายเท่าตัว อนาคตของระบบการเรียนการสอนสามารถทำได้หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น การเรียนรู้บนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ การเรียนแบบ Web-based Learning การเรียนในห้องเรียนเสมือนจริง หรือ Virtual Class การเรียนจาก e-book ซึ่งเป็นสื่อดิจิทัลที่ผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาและเรียนรู้ด้วยตัวเอง ตลอดจนรูปแบบอื่น ๆ อีกหลายวิธีซึ่งได้ถูกนำมาใช้ร่วมกันในโลกของการศึกษาแบบ Blended learning ทั้งการเรียน On site และ Online
Blended learning กลยุทธ์การเรียนการสอนที่ยังมีข้อจำกัดสำหรับเด็กไทย
บนความโชคดีของชาวดิจิทัล ก็ยังพบว่ามีข้อจำกัดบางอย่างสำหรับเมืองไทยซึ่งที่ผ่านมาพบว่ามีความไม่พร้อมทางด้านซอฟต์แวร์อยู่หลายพื้นที่ ทำให้ศักยภาพในการเข้าถึงเทคโนโลยีของผู้เรียนมีไม่เท่ากัน บางคนอยู่ในพื้นที่ห่างไกลเกินกว่าจะเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ บางคนยังขาดโอกาสที่จะได้ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นอุปสรรคทำให้ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากสื่อดิจิทัลเหล่านี้ได้อย่างเต็มที่ ขณะที่ผู้สอนก็ยังไม่สามารถเข้าถึงผู้เรียนได้ทั้งหมด
Blended learning คือ การผสมผสานสื่อการเรียนการสอนที่อาจมีข้อจำกัดจากตัวรูปแบบของการผสมผสานเอง โดยในส่วนของการเรียนออนไลน์ Interaction ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนจะมีน้อยกว่าการเรียนในห้องเรียน ซึ่งทำให้ผู้สอนอาจจะไม่ทราบถึงปัญหาที่แท้จริงของผู้เรียนได้อย่างชัดเจน อีกทั้งในเรื่องของทักษะการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เป็นเทคโนโลยีใหม่ยังต้องพัฒนาต่อไปให้มากกว่าที่เป็นอยู่ ดังนั้นการผสมผสานระบบการเรียนการสอนที่สัมฤทธิ์ผลจะต้องมีวิธีขจัดจุดอ่อนเหล่านี้เพื่อให้การศึกษาของไทยก้าวต่อไปในโลกดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
หัวใจสำคัญของ Blending learning ที่ประสบความสำเร็จคืออะไร
การมิกซ์สื่อให้เกิดประโยชน์ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย หัวใจสำคัญของการใช้ เทคโนโลยีการศึกษา รูปแบบต่าง ๆ ร่วมกันได้อย่างราบรื่นและประสบความสำเร็จคือ
- การสร้าง Interaction ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนและสร้างการมีส่วนร่วมของผู้เรียนให้มากที่สุด
- การเชื่อมโยงสื่อการเรียนการสอนกับชุมชนของผู้เรียนเพื่อให้เข้าถึงผู้เรียนได้มากขึ้น
- การส่งเสริมผู้เรียนและสร้างแรงจูงใจให้กับผู้เรียนที่มีโอกาสทางการศึกษาน้อยกว่าผู้อื่น
- การจัดสรรทรัพยากรและเทคโนโลยีการเรียนการสอนให้ครอบคลุม
Blended learning คือ ระบบการเรียนการสอนซึ่งมีรูปแบบการใช้สื่อที่หลากหลาย สามารถปรับเปลี่ยนสื่อต่าง ๆ ให้เข้ากับบริบทของการเรียนในแต่ละพื้นที่ และปรับให้เป็นไปตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป บุคลากรทางการศึกษาควรติดตามสถานการณ์ทุกด้านและมีความยืดหยุ่นในการใช้สื่อต้องติดตามผลการเรียนของผู้เรียนอย่างสม่ำเสมอและเตรียมความพร้อมในการสนับสนุนผู้เรียนที่อาจหลุดจากระบบหรือตามไม่ทัน ในส่วนของผู้เรียนนั้นก็จะต้องมี Interaction ระหว่างกันในแบบที่เรียกว่า ช่วยกันเรียน พร้อมปรับตัวให้ทันเทคโนโลยีอยู่เสมอ ปัจจัยเหล่านี้จะช่วยให้การมิกซ์สื่อการเรียนการสอนขยับเข้าใกล้ความสำเร็จได้เร็วและมากยิ่งขึ้น Starfish Class มีระบบจัดการศึกษารูปแบบใหม่ที่ช่วยพัฒนาทักษะทั้งผู้เรียนและผู้สอน พร้อมที่จะสนับสนุนระบบการศึกษาไทยให้มีคุณภาพ และหากท่านใดต้องการไอเดียใหม่ ๆ ในการเรียนการสอน สามารถเข้าชมได้ที่เว็บไซต์ของ Starfish Class คลิกที่นี่ https://www.starfishclass.com/
อ้างอิง:
บทความใกล้เคียง
5 แอปพลิเคชันช่วยคุณครูประเมินสมรรถนะของผู้เรียนได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ
Active Teacher ตอน Portfolio ตัวช่วยครูค้นหาศักยภาพนักเรียน
ส่อง 5 บริษัทและเครื่องมือเทคโนโลยีทางการศึกษา พลิกโฉมการสอน จากห้องเรียนธรรมดาสู่ Hybrid
Related Courses
เทคนิคและวิธีการสอนสมัยใหม่
การใช้คำถาม เครื่องมือ การนำเสนอ ที่แปลกใหม่ น่าสนใจ มีส่วนสำคัญในการสร้างห้องเรียนที่ผู้เรียนมีส่วนร่วม เรียนรู้วิธีการถาม กา ...
Micro Learning เครื่องมือช่วยจัดการเรียนรู้ทางไกล
การเลือกครื่องมือช่วยจัดการเรียนรู้ทางไกลมีความสำคัญเพราะเป็นช่องทางที่จะนำความรู้ไปสู่นักเรียน จะมีเครื่องมือไหนบ้างที่เหมาะส ...
เทคนิคการสร้าง AR Content อย่างง่ายด้วย MywebAR
ผู้ที่สนใจในการสร้างเนื้อหาดิจิทัล และต้องการใช้ AR เพื่อเพิ่มมิติใหม่กับผลงานของตัวเอง โดยเฉพาะคุณครูอาจารย์ที่ต้องการสร้าง ...
เทคนิคการสร้าง AR Content อย่างง่ายด้วย MywebAR
ต้องใช้ 100 เหรียญ
การสร้างสื่อการเรียนรู้
การสร้างสื่อการเรียนการสอนแบบดิจิทัล เพื่อการสอนเสริมและลดปัญหาการถดถอยในการเรียนรู้ของผู้เรียน