ห้องเรียน Active Learning มีหน้าตาอย่างไร ชวนดูบรรยากาศของห้องเรียน Active Learning
ในบทความที่แล้วเราได้เรียนรู้กันไปแล้วถึงความหมายและแนวคิดของ Active Learning หรือการเรียนรู้เชิงรุก เชิงปฏิบัติ รวมถึงเทคนิคเบื้องต้น ที่คุณครูสามารถนำไปต่อยอด ประยุกต์ใช้ในห้องเรียน Active Learning ของตัวเองกันได้ แต่แม้จะรู้ความหมาย รวมถึงเทคนิคอย่างคร่าวแล้ว อีกหนึ่งสิ่งสำคัญก็คือการมองเห็นและเข้าใจบรรยากาศของห้องเรียน Active Learning จริงๆ ว่าเป็นอย่างไร ต้องสอนกันแบบไหนถึงจะเรียกว่า Active Learning อ่านเพิ่มเติม https://bit.ly/3DSf5xu
ในบทความนี้ แน่นอนว่า Starfish Labz มีคำตอบ พร้อมกรณีตัวอย่างประกอบจริงๆ จากห้องเรียน Active Learning ของโรงเรียนบ้านปลาดาว ที่ Starfish Labz ได้มีโอกาสเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยพัฒนาและติดตามความสำเร็จ จะมีองค์ประกอบใดที่เรียกว่าเป็นส่วนสำคัญของห้องเรียน Active Learning กันบ้าง ตาม Starfish Labz มาดูกันเลยค่ะ
1.องค์ประกอบด้านการคิดวิเคราะห์ (Thinking)
เมื่อพูดถึงองค์ประกอบของห้องเรียน Active Learning จริงๆ แล้วอาจต้องกล่าวว่าแต่ละโรงเรียนก็อาจให้คำนิยามและให้ขอบเขตความหมายต่างกัน ขึ้นอยู่กับการออกแบบหลักสูตรการเรียนรู้ของแต่ละโรงเรียน แต่หากพูดถึงบรรยากาศที่สำคัญๆ อย่างโดยกว้างๆ แล้ว หนึ่งในโมเดลที่ได้รับการกล่าวและนำเสนอไว้โดยสถาบันการเรียนรู้ Center for Teaching Innovation จากมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ประเทศสหรัฐอเมริกาก็คือ Thinking, Discussing, Investigating และ Creating นั่นเองค่ะ ในพาร์ทของการคิดวิเคราะห์ หรือ ‘Thinking’ องค์ประกอบในการมีพื้นที่แห่งความคิดดังกล่าวที่ว่าให้กับเด็กๆ ก็คือการเปิดโอกาสให้เด็กๆ เป็นมากกว่าเพียงแค่ ‘ผู้รับสาร’ เปลี่ยนขั้วการเรียนรู้จากเดิมที่เด็กคือผู้รับสารอย่างเงียบๆ มาสู่ห้องเรียนที่กระตุ้นให้เกิดการขบคิด การวิเคราะห์ผ่านกิจกรรมจนถึงการบรรยายที่น่าสนใจต่างๆ
ตัวอย่างบรรยากาศห้องเรียน Active Learning ในบริบทนี้ เช่น การใช้เทคนิค Problem-Based Learning กระตุ้นการเรียนรู้และการคิดของเด็กๆ ด้วยการใช้ปัญหาเป็นฐานของโรงเรียนบ้านปลาดาว
“โรงเรียนมีใบไม้แห้งที่ดูเหมือนจะเป็นขยะเยอะมาก แต่เราจะสามารถทำอะไรกับปัญหานี้ได้ไหม ลองนำมาทำเป็นปุ๋ยหมักได้หรือเปล่า และปุ๋ยหมักที่ว่าคืออะไร จะทำได้อย่างไร?”
2.องค์ประกอบด้านการเปิดโอกาสให้การแลกเปลี่ยน สนทนา อภิปราย (Discussing)
เมื่อคิดแล้ว แน่นอนว่าก็ถึงเวลาของการแลกเปลี่ยน เด็กๆ แต่ละคนย่อมมีหลากหลายความคิดที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ต่อกันและกัน องค์ประกอบที่สองของห้องเรียน Active Learning ที่ดีจึงคือ Discussing หรือการเปิดโอกาสให้เด็กๆ มีโอกาสในการสนทนา แลกเปลี่ยน และอภิปรายนั่นเองไม่ว่าจะผ่านกิจกรรมการนำเสนอหน้าห้องเรียนแบบเดี่ยว, การจับกลุ่มคุยกันเป็นกลุ่ม หรืออื่นๆ ยิ่งคุณครูเปิดโอกาสให้เด็กๆ ได้มีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนกันอย่างจริงๆ จังๆ มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งช่วยให้เด็กๆ มีความสนใจที่จะเรียนรู้และรู้สึกสนุกสนานมากยิ่งขึ้นเท่านั้นตัวอย่างบรรยากาศห้องเรียน Active Learning ในบริบทนี้ เช่น การให้คำบรรยายหรือชวนเด็กๆ มาเรียนรู้เกี่ยวกับประเด็นหนึ่งๆ โดยตรงและเปิดโอกาสให้เขาแลกเปลี่ยน พูดคุย และนำเสนอความคิดเห็นกันในแต่ละกลุ่ม
“การนำเสนอโปรเจกตส่วนตัวของเด็กๆ แต่ละคนหรือแต่ละคู่ ตามประเด็นการเรียนรู้และความสนใจ”
3.องค์ประกอบด้านการตั้งคำถาม ขบคิด (Investigating)
นอกเหนือจากการคิดวิเคราะห์เฉยๆ การเสริมสร้างบรรยากาศให้เด็กๆ กล้าที่จะตั้งคำถาม ขบคิดตั้งแต่ในระดับพื้นฐานไปจนถึงเชิงลึกก็ยังอีกหนึ่งจุดที่สำคัญของห้องเรียน Active Learning ในการเรียนรู้ที่เด็กๆ มีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ที่โรงเรียนให้ความสำคัญกับความคิดและความสนใจของเด็กๆ สิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือการตั้งคำถามต่างๆ ของเขา ตั้งแต่ความสับสน ความไม่เข้าใจ จนถึงความพยายามและความกล้าหาญของเขาในการถามเกี่ยวกับสิ่งใหม่ๆองค์ประกอบด้านการ Investigating จะช่วยให้เด็กๆ ไม่เพียงมีทักษะการนำตนเอง (autonomy) แต่ยังรวมถึงการคิดนอกกรอบ การคิดถึงสิ่งใหม่ๆ ที่เกิดจากกระบวนการวิเคราะห์และสังเคราะห์ของเขาเอง
ตัวอย่างบรรยากาศห้องเรียน Active Learning ในบริบทนี้ เช่น การจัดกิจกรรม ชวนเด็กๆ สำรวจและตั้งคำถาม
“คุณครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้นอกสถานที่ให้กับเด็กๆ ณ ทุ่งนาหางดงและโรงสีข้าวหมู่บ้านหางดน ชวนเด็กๆ เรียนรู้และตั้งคำถามเกี่ยวกับคุณลักษณะของข้าวจนถึงกระบวนการปลูกและผลิตออกมาเป็นเมล็ด”
4.องค์ประกอบด้านการคิดริเริ่ม สรรสร้าง และสร้างสรรค์ (Creating)
เมื่อมีการวิเคราะห์ แลกเปลี่ยน และขบคิดแล้ว การเรียนรู้เชิงรุก เชิงปฏิบัติอย่างแท้จริงก็จะคงจะสมบูรณ์ไม่ได้เลยหากไม่มีการชวนให้เด็กๆ ได้ลงมือทำสิ่งต่างๆ หรือสิ่งใหม่ ๆ ออกมาจากการเรียนรู้ดังกล่าว
การเรียนรู้เชิงรุก เชิงปฏิบัติคือการบ่มเพาะทัศนคติที่ดีให้กับเด็กๆ ในการทั้งสามารถคิดและสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ออกมา ตัวอย่างบรรยากาศห้องเรียน Active Learning ในบริบทนี้ เช่น การจัดกิจกรรม ชวนเด็กๆ สร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ตามประเด็นของการเรียนรู้
“นำเสนอบทเรียน Unit – Let’ Party เกี่ยวกับอาหารในงานเลี้ยงฉลองนานาชาติ และชวนให้เด็กๆ ทำความเข้าใจถึงเมนูต่างๆ โดยตรงด้วยการให้เขาลองลงมือทำด้วยตัวเองผ่านเครื่องมือการเรียนรู้ STEAM Design Process พร้อมกับสาธิตออกมาเป็นภาษาอังกฤษ”
สรุปสาระสำคัญ (Key Takeaway)
คิดวิเคราะห์, ตั้งคำถาม, แลกเปลี่ยน, และสร้างสรรค์ ลงมือทำ สิ่งเหล่านี้คือหนึ่งในโมเดลหัวใจหลักของห้องเรียน Active Learning ที่วันนี้ Starfish Labz ได้นำมาฝากทุกคนกันนั่นเองค่ะ แม้อาจฟังดูเหมือนยาก แต่เมื่อดูตัวอย่างจากโรงเรียนบ้านปลาดาวแล้ว ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าจริงๆ แล้วห้องเรียน Active Learning นั้น หากคุณครูมีใจที่พร้อม สามารถเกิดขึ้นได้อย่างง่ายๆ และแถมยังเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญในการช่วยเสริมสร้างคุณภาพการเรียนรู้ เติมความสนุกสนานให้กับทั้งคุณครูและเด็กๆ ตลอดจนหากพูดถึงความสำคัญของ Active Learning เองแล้ว ตัวรูปแบบยังเป็นจุดที่สำคัญในการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ การเปลี่ยนผ่านจากเพียงแค่เนื้อหาหรือประเด็นต่างๆ มาสู่การลงมือปฏิบัติจริง เรียนรู้จริง และได้รับการฝึกฝนพัฒนาทักษะอย่างจริงๆ
อ้างอิง:
Related Courses
คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว
คงจะดีถ้าการอ่านออกเขียนได้ ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป นวัตกรรม3R โรงเรียนบ้านปลาดาว ได้ออกแบบชุดการสอนที่ง่ายและเกิดผล ...
การสอนคณิตศาสตร์ (3R)
คณิตศาสตร์จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แค่เรามีเทคนิคดีๆ มาเป็นตัวช่วยในการสอน คณิตศาสตร์ของเราก็จะเป็นเรื่องง่าย ไม่น่าเบื่ ...
การสอนภาษาไทย (3R)
การสอนภาษาไทยของมูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮมได้ออกแบบมาเพื่อพัฒนาทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน อย่างเป็นระบบเข้าใจง่ ...
การพัฒนาทักษะในอนาคตด้วย Makerspace
ในคอร์สนี้ จะเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการเตรียมพร้อมผู้เรียน เพื่อพัฒนาให้เกิดทักษะที่จำเป็นในอนาคต ผ่านการจัดการเรียนรู้แบบ Ma ...