ครูคลับ (Kru Club) เพลินเพลง PA (เด็กเพลินรู้ ครูเพลินใจ)
เพราะห้องเรียนไม่จำเป็นต้องเงียบเสมอไป บางครั้งเพลงก็เป็นตัวช่วยในการสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนได้เป็นอย่างดี นอกจากเป็นการละลายพฤติกรรมให้นักเรียนมีความพร้อมในการเรียนแล้วยังช่วยทำให้นักเรียนไม่เครียดกับวิชาการมากเกินไป แถมทำบรรยากาศในห้องเรียนมีความสุขเพิ่มขึ้นด้วย เพราะห้องเรียนคือ “พื้นที่ปลอดภัย” หมายถึง พื้นที่นักเรียนรู้สึกปลอดภัยทั้งทางร่างกาย จิตใจ และการแสดงออกทางความคิด เป็นพื้นที่เปิดกว้างและได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน ไม่มีการจัดอันดับหรือแบ่งแยกให้รู้สึกด้อยค่า พื้นที่ที่สามารถเรียนรู้ได้จากความผิดพลาดและมีโอกาสให้เสมอ บนพื้นฐานความเชื่อว่า “คนทุกคนสามารถพัฒนาและเปลี่ยนแปลงได้” ซึ่งพื้นที่ปลอดภัย ตรงข้ามกับ “พื้นที่อันตราย” ครูต้องทำห้องเรียนให้เป็นพื้นที่ปลอดภัยทั้งร่างกายและจิตใจ อยากให้นักเรียนเรียนในห้องเรียนแล้วรู้สึกว่า เป็นพื้นที่ปลอดภัย สนุกสนาน และมีความสุขในการเรียนรู้อย่าใช้ความกดดัน การตำหนิติเตียนกลายเป็นพื้นที่อันตรายจนเด็กไม่อยากมาโรงเรียน
“ดนตรี” จึงเป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่ทำให้นักเรียนรู้สึกสนุกสนาน มีความสุขและเกิดความปลอดภัยในการเรียนรู้เต็มไปด้วยบรรยากาศของการเรียนรู้และสร้างสรรค์ ดังนั้นการใช้เพลงเป็นสื่อในการจัดการเรียนการสอนย่อมเป็นหน้าที่ของคุณครูทุกคน ไม่ใช่เฉพาะครูวิชาดนตรี เท่านั้น คุณครูทุกคนสามารถใช้เพลงเป็นสื่อในการนำเข้าสู่บทเรียน เพื่อสร้างความสุขในการเรียนรู้ของนักเรียน เพราะครูคือผู้อำนวยความสะดวก หรือเป็นผู้อำนวยความสุขให้กับนักเรียนนั่นเอง
มนุษย์เราจะเพลิดเพลินตอนทำกิจกรรมหลายอย่าง เช่น การนอนหลับ การพักผ่อนหย่อนใจ การต่อเลโก้ การเล่นกับสัตว์เลี้ยง การฟังเพลง การปลูกต้นไม้ ฯลฯ ซึ่งความเพลิดเพลินของแต่ละคนจะไม่มีการบังคับ แต่เกิดจากความสนใจ เด็กในชั้นเรียนย่อมเหมือนกัน ย่อมต้องการความเพลิดเพลินในการเรียนรู้จากความเครียดจากเนื้อหาทางวิชาการ ครูต้องมีความเข้าใจว่า “เด็กในศตวรรษที่ 21 ชอบอะไรบ้าง” ตัวอย่างเช่น
1. มีอิสระในการเลือกในสิ่งที่พอใจของตัวเด็กเอง
2. ต้องการดัดแปลงสิ่งต่างๆให้ตรงตามความสนใจ
3.ต้องการตรวจสอบหาความจริงเบื้องหลัง
4. เป็นตัวของตัวเองและสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
5. ชอบความสนุกสนาน รักการเล่น
6. ชอบความร่วมมือในการทำกิจกรรม
7.ต้องการความเร็วในการสื่อสาร/หาข้อมูล
8.สร้างนวัตกรรมต่อทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิต
ในปัจจุบันสิ่งที่สำคัญที่สุดในการเรียนรู้ เรียกว่า ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ( 3R 8C ) 3R คือ ทักษะด้านความรู้ (Hard Skills) ได้แก่
- (R)eading : สามารถอ่านออก อ่านจับใจความได้
- (W)Riting : สามารถเขียนได้ สื่อสารให้คนอื่นเข้าใจ
- (A)Rithemetics : มีทักษะการคำนวณ คิดแบบนามธรรม
ส่วน 8C คือ ทักษะทางอารมณ์ (Soft Skills) ได้แก่
- Critical thinking and problem solving คือ มีทักษะการคิดวิเคราะห์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณและสามารถแก้ไขปัญหาได้
- Creativity and innovation คือ การคิดอย่างสร้างสรรค์และคิดเชิงนวัตกรรม
- Cross-cultural understanding คือ ความเข้าใจในความแตกต่างของวัฒนธรรมและกระบวนการคิดข้ามวัฒนธรรม
- Collaboration teamwork and leadership คือ ความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะความเป็นผู้นำ
- Communication information and media literacy คือ มีทักษะในการสื่อสารและการรู้เท่าทันสื่อ
- Computing and IT literacy คือ มีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์และรู้เท่าทันเทคโนโลยี
- Career and learning skills คือ มีทักษะอาชีพและการเรียนรู้
- Compassion คือ มีความเมตตากรุณา มีคุณธรรม และมีระเบียบวินัย
ทักษะเด็กยุคใหม่ 3R / 8C เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับนักเรียนในยุคการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 เป็นอย่างมาก ซึ่งมีความแตกต่างจากการเรียนรู้ในสมัยก่อนทำให้การเรียนรู้ของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น หลักการเรียนรู้ 7 ประการ How Learning Works “การเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21” นั่นคือ
- ความรู้เดิมของผู้เรียนช่วยเสริมส่ง หรือเป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้
- วิธีที่ผู้เรียนจัดระเบียบความรู้มีอิทธิพลต่อการเรียน และการนำความรู้ไปใช้
- แรงจูงใจของผู้เรียนกระตุ้นให้เกิด ชี้นำ และเกื้อหนุนการกระทำเพื่อเรียนรู้
- เพื่อพัฒนาความรู้ทักษะ ความสามารถ และรู้ว่าเมื่อใดควรประยุกต์ใช้สิ่งที่เรียนมา
- การเรียนรู้ต้องอาศัยทั้งการฝึกฝนที่มุ่งเป้าหมาย และผลป้อนกลับที่มุ่งเป้าหมาย
- พัฒนาการระดับปัจจุบันของผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับบรรยากาศทางสังคม ทางอารมณ์ และทางสติปัญญาของรายวิชา ปฏิสัมพันธ์ดังกล่าวนี้ ส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้
- เพื่อให้เป็นผู้เรียนที่กำกับตนเองได้ ต้องรู้จักประเมินความต้องการของงาน ประเมินความรู้ และทักษะของตนเอง วางแผนแนวทางตรวจสอบความก้าวหน้า และปรับยุทธศาสตร์ของตนไปตามที่จำเป็น
ซึ่งหลักการเรียนรู้นี้จะต้องอาศัย Active Learning จึงเป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสร้างสรรค์ทางปัญญา (Constructivism) ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้มากกว่าเนื้อหาวิชา เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้ หรือสร้างความรู้ให้เกิดขึ้นในตนเอง ด้วยการลงมือปฏิบัติจริงผ่านสื่อหรือกิจกรรมการเรียนรู้ ที่มีครูผู้สอนเป็นผู้แนะนำนั่นเอง
เห็นได้ว่า การใช้เพลงเป็นสื่อ มาเพิ่มคุณค่าจากเสียงเพลงที่ฟังเพื่อความผ่อนคลาย เพื่อสนองความสุขและจรรโลงใจให้หายจากความเศร้า หรือความเครียด มาเป็นเสียงเพลงที่จะช่วยสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับตัวชี้วัด วPA เพื่อให้ เด็กจะเพลินในการเรียนรู้ และครูจะเพลิดเพลินใจในการสอน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ สามารถรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ www.StarfishLabz.com
บทความใกล้เคียง
Starfish Talk: ครู SMART ทำได้สร้างห้องเรียนสมรรถนะตามเกณฑ์ วPA – วงคุยเคล็ดลับ วPA จากผู้ปฏิบัติจริง
แชร์ไอเดียการสอนภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ ง่ายๆ สไตล์โรงเรียนบ้านปลาดาว
5 คอร์สออนไลน์ยอดฮิต เรียนฟรี แสนคุ้มค่า จาก Starfish Labz
Related Courses
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...
ฝึกทักษะพื้นฐานในการตัดสินใจ (Decision Making)
การตัดสินใจที่ดีและมีประสิทธิภาพนั้น ถ้าหากได้รับการฝึกฝนทักษะการตัดสินใจตั้งแต่วัยรุ่น ก็จะเพิ่มโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในชีวิ ...
เริ่มต้นทำ Visual Note อย่างง่ายใครๆ ก็ทำได้
หากคุณเป็นคนชอบวาดรูป ชอบการขีดเขียน หรือการจดบันทึก อยากลองทำ Visual Note แต่ไม่รู้จะสื่อสารออกมาอย่างไรดี คอร์สเ ...
เริ่มต้นทำ Visual Note อย่างง่ายใครๆ ก็ทำได้
ต้องใช้ 50 เหรียญ
การพัฒนาทักษะในอนาคตด้วย Makerspace
ในคอร์สนี้ จะเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการเตรียมพร้อมผู้เรียน เพื่อพัฒนาให้เกิดทักษะที่จำเป็นในอนาคต ผ่านการจัดการเรียนรู้แบบ Ma ...