Future Talk นวัตกรรมการศึกษา มุ่งพัฒนาการเรียนรู้ ควบคู่การพัฒนาชุมชน
นวัตกรรมการศึกษา เป็นการนำแนวคิด วิธีปฏิบัติ หรือสิ่งที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งใหม่หรือวิธีการสอนแบบใหม่ ๆ ที่จะช่วยให้การศึกษาและการเรียนการสอนมีคุณภาพ ส่งผลให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ นำไปสู่การต่อยอดการพัฒนาชุมชนอย่างเป็นระบบ ซึ่งการพูดคุย
ในครั้งนี้ เป็นการนำนวัตกรรมการศึกษาของโรงเรียนวัดปรังกาสี โมเดล “PKS 3L” มาใช้ในการพัฒนาต่อยอดการเรียนรู้ เชื่อมโยงสู่การพัฒนาชุมชนในพื้นที่ โรงเรียนวัดปรังกาสี จังหวัดกาญจนบุรี เป็นโรงเรียนขยายโอกาสขนาดใหญ่ จากบริบทของชุมชนมีจุดแข็งหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของคน ทรัพยากรธรรมชาติ ศิลปะ วัฒนธรรมท้องถิ่น ชาติพันธุ์(กะเหรี่ยง) ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน และเจ้าอาวาสวัด ผู้ซึ่งให้ความสำคัญกับบวร (บ้าน วัด โรงเรียน) แต่เนื่องด้วยองค์ประกอบของชุมชนที่หลากหลาย ทำให้ขาดการจัดการความรู้ที่เป็นระบบ ฉะนั้น โรงเรียนจึงเป็นส่วนหนึ่งในการเชื่อมโยงให้เกิดการเรียนรู้ขึ้นโดยโรงเรียนได้มีการ PLC ร่วมกันระหว่างครู ชุมชนถึงความต้องการในชุมชน การให้ความรู้ และการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม จนเกิดเป็นนวัตกรรมพัฒนาต่อยอดสู่การทำให้นักเรียนเป็นผู้ที่มีความรู้ เป็นคนดีของสังคม มีทักษะอาชีพ ทักษะชีวิต เชื่อมโยงไปสู่การพัฒนาชุมชน ภายใต้ชื่อ “PKS 3L” โดยได้แนวคิดจากการศึกษาสภาพความต้องการพัฒนา ส่งเสริมจัดการศึกษาจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโรงเรียน เช่น คณะกรรมการการศึกษา ผู้ปกครอง ครู นักเรียน และชุมชน คือ การพัฒนาพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของผู้เรียน จึงเกิดเป็นที่มาในการสร้างนวัตกรรมขึ้น เพื่อเป็นรูปแบบให้ครูต่อยอดนวัตกรรมของตนเอง ให้สอดคล้องและนำไปสู่ห้องเรียน
ทั้งนี้ นวัตกรรมการศึกษา “PKS 3L” มุ่งพัฒนาโรงเรียน ทั้งระบบ ประกอบด้วย P (Professional) การสร้างความเป็นมืออาชีพ ทั้งผู้บริหาร ครู นักเรียน และชุมชน K (Knowledge) การเรียนรู้จากทุกฝ่าย S (Skill) การพัฒนาทักษะวิชาชีพครู และ 3L คือ การเรียนเพื่อรู้ ปฏิบัติ และพัฒนาต่อยอด เพื่อนำไปสู่ผลลัพธ์การเรียนรู้ และชุมชนได้มีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้อีกด้วย สำหรับบทบาทของครู ในการนำแนวทางสร้างนวัตกรรมสู่การต่อยอด เริ่มจากการศึกษาและร่วมสร้างนวัตกรรมของผู้บริหาร โดยการต่อยอดผลลัพธ์นวัตกรรม นั่นคือ ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ เป็นนวัตกรรมการเรียนการสอนของครู และแบ่งบทบาทของครูออกเป็น 4 รูปแบบ คือ
- บทบาทของการเป็นโค้ช
- บทบาทของการเป็นนักเล่าเรื่อง
- บทบาทนักสร้างแรงบันดาลใจ
- บทบาทการเป็นผู้นำเปลี่ยนแปลง
ทั้งนี้ จากการเล็งเห็นความสำคัญของผู้บริหาร จึงได้มีการสนับสนุน ส่งเสริมในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสื่อ วัสดุอุปกรณ์ การให้ความรู้ ทักษะที่จำเป็นต่าง ๆ การเข้าถึงสื่อเทคโนโลยี การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน ในการต่อยอดพัฒนาวิชาชีพครู ส่งผลให้โรงเรียน มีภาพลักษณ์ที่ดีขึ้น ชุมชนมีความเชื่อมั่น นักเรียนเกิดพฤติกรรมรักในการเรียนรู้ มีทักษะ มีวิถีการดำเนินชีวิตที่ดีขึ้น ครูได้พัฒนาตนเองในการจัดการเรียนรู้เป็นแบบอย่างแก่เพื่อนครู นักเรียนเกิดความใกล้ชิด สนิทสนมกับชุมชนมากขึ้น เกิดความภาคภูมิใจในชาติพันธุ์ ด้านชุมชนเกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบ้าน วัด และโรงเรียน ถือว่าเป็นบวรที่สำคัญในการสร้างพลังบวกให้กับโรงเรียน และเกิดความเชื่อมั่นกับชุมชนเห็นได้ว่า การให้ความสำคัญกับสิ่งที่มีในชุมชน โดยเริ่มต้นจากการพูดคุยร่วมกันระหว่างผู้บริหาร ครู ชุมชน เพื่อหาจุดแข็งของตนเองไป สู่เป้าหมาย ร่วมกันในการพัฒนานักเรียน และชุมชนให้มีคุณภาพ นวัตกรรมเพียงหนึ่งอาจนำไปสู่แนวทางในการปรับใช้ ต่อยอดสู่การพัฒนาอย่างเป็นระบบได้ ทั้งนี้ สามารถรับชม รับฟังเพิ่มเติมได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=B__rLY4crLw
บทความใกล้เคียง
ยกระดับการเรียนรู้โรงเรียนทองผาภูมิวิทยา ด้วย 3 นวัตกรรมเทคโนโลยีด้านการศึกษา จาก Starfish Education
ตื่นตา ตื่นใจ กับการเรียนรู้โลกทั้งใบด้วย Google Earth
Starfish Education กับภารกิจที่ไม่ใช่แค่ให้เด็กเข้าถึงการศึกษา แต่ต้องเป็น Meaningful Education
Related Courses
Micro Learning เรียนคณิตศาสตร์ ม.1-3
คอร์สนี้เป็นการเรียนรู้การเกี่ยวกับการสอนวิชาคณิตศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่1-3 โดยแบ่งเป็นบทเรียนที่เหมาะสมกับต่ละรดับชั้น ...
STAMPER Learning การเรียนรู้แบบบูรณาการ
STAMPER Learning เป็นการบูรณาการแบบใหม่ ครบจบทั้งขั้นตอนการเรียนรู้ และการประเมินผลสำหรับครู ซึ่งทำได้ง่ายๆ ในกิจกร ...
Micro Learning เทคนิคการดูแลสุขภาพกาย ป.1-3
การฝึกการเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐานในวัยเด็กเป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สำคัญสำหรับการวางพื้นฐานที่ถูกต้อง นำไปสู่พัฒนาการด้านร่างก ...
เทคนิคสอนภาษาไทยแบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA) ฉบับครูมัธยม
การสอนภาษาไทยผ่านกระบวนการ Active Learning เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมหลากหลายรูปแ ...