เจาะลึกอาชีพในอนาคต สาย Gaming: ทำความรู้จัก Gamer อาชีพในฝันของผู้รักการเล่นเกม

Starfish Academy
Starfish Academy 49278 views • 1 ปีที่แล้ว
เจาะลึกอาชีพในอนาคต สาย Gaming: ทำความรู้จัก Gamer อาชีพในฝันของผู้รักการเล่นเกม

คนเรามีความหลากหลายทั้งความสามารถและความคิด มีการเรียนรู้และความสนใจที่แตกต่างกัน ทำให้มี ความถนัดด้านต่างๆ ที่ไม่เหมือนกัน บางคนถนัดความรู้ทางวิชาการ บางคนถนัดในงานอดิเรกของตนเอง อย่างไรก็ตาม คนที่ไม่ได้ถนัดความรู้วิชาการ ก็ไม่ได้หมายความว่า จะไม่สามารถทำงานที่ใฝ่ฝันหรือหาเงินได้จำนวนมาก ยังเป็นแนวคิดที่ควรหมดไปจากสังคมเรา เพราะยังมีอาชีพอีกมากมายที่เราอาจนึกไม่ถึง และเป็น อาชีพในอนาคต

วันนี้เราจะพาไปทำความรู้จัก อาชีพในฝันของผู้รักการเล่นเกม นั่นก็คือ เกมเมอร์ (Gamer) เราจะไปดูกันว่าเหล่าเกมเมอร์นั้น เป็นอย่างไรและหาเงินได้อย่างไร รวมทั้งเรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ สำหรับคนที่กำลังมองหาแนวทางในอาชีพของตนเอง หรือคนที่อยากทำความรู้จักอาชีพใหม่ ๆ ในอนาคตกัน

เกมเมอร์คืออะไร มีอะไรบ้าง?

กมเมอร์ (Gamer) หรือนักเล่นเกม โดยทั่วไปจะหมายถึงบุคคลที่ชื่นชอบในการเล่นเกมในทุกประเภท แต่ในปัจจุบันอาชีพเกมเมอร์ที่สามารถทำเงินได้ดี และเป็นที่นิยมที่เราจะกล่าวถึงต่อไปนั้น คือการเล่นเกมดิจิทัลหรือเกมออนไลน์ในแพลตฟอร์ม หรือแอปพลิเคชันประเภทต่างๆ 

โดยอาชีพที่เกี่ยวข้องกับเกมเมอร์มีหลายประเภท ได้แก่ Streamer, Caster, และ E-Sports Players ซึ่งเราจะพาไปเจาะลึกแต่ละประเภทกัน

1.Streamer (สตรีมเมอร์)

Streamer คือคนที่ทำการถ่ายทอดสดแบบเรียลไทม์ ผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น Twitch, Facebook, YouTube Live หรือแพลตฟอร์มสตรีมมิงแบบสดอื่น ๆ โดยทุกคนที่มีคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่สามารถถ่ายทอดสดการเล่นเกมของตนเองได้ แต่สตรีมเมอร์ที่ทำเป็นอาชีพนั้นจะถ่ายทอดสดผ่านช่องทางของตนเองอย่างสม่ำเสมอ (รายวันหรือรายสัปดาห์) เพื่อให้สามารถดึงดูดผู้ชมได้มากขึ้น ซึ่งบางครั้งผู้ติดตาม

(หรือ "Subscribers") ช่องของสตรีมเมอร์ก็มีการบริจาคเงินให้แก่สตรีมเมอร์ด้วยStreamer ถือได้ว่าเป็นอาชีพที่หลายคนสนใจ เพราะสามารถเริ่มต้นได้ง่ายและไม่ต้องมีการลงทุนมากนัก เพียงแค่มีคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเล่นเกม หูฟัง และไมค์ที่ฟังได้อย่างชัดเจน ก็สามารถเป็น Streamer ได้แล้ว แต่จะถูกตาต้องใจผู้ชมหรือไม่นั้น อาจจะต้องอาศัยทักษะต่าง ๆ ประกอบด้วย ซึ่งเราได้รวบรวมมาให้แล้วด้านล่างนี้

รายได้

รายได้เฉลี่ยอยู่ที่ 10,000 - 100,000 บาท ต่อเดือน ทั้งนี้ อาจขึ้นอยู่กับจำนวนเงิน ที่ผู้ชมบริจาค ให้ด้วย

ทักษะที่ควรมี

  • ทักษะการเล่าเรื่อง แน่นอนว่าผู้ชมที่เข้ามาดู Streamer เล่นเกมนั้น ก็ต้องการที่จะเข้ามารับชม รับฟังการเล่าเรื่องของ Streamer ว่าจะมี Reaction หรือคำพูดใดเมื่อเจอสถานการณ์ต่าง ๆ ในเกม Streamer ที่เป็นที่นิยม จึงมักจะเป็นผู้เล่าเรื่องที่ดี และมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง   
  • ทักษะการเอ็นเตอร์เทน นอกจากการเล่าเรื่องที่ดีแล้วนั้น ก็ยังต้องอาศัยการเอ็นเตอร์เทนคนดู เพื่อให้ทุกคนเกิดอารมณ์ร่วมและไม่น่าเบื่อ Streamer บางคนก็อาจมีสไตล์ที่เรียกเสียงหัวเราะให้แก่ผู้ชมได้ด้วย

ทักษะการแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้า ด้วยความที่ Streamer จะทำการถ่ายทอดสดแบบเรียลไทม์ จึงต้องมีทักษะการแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้า เนื่องจากอาจเกิดเหตุขัดข้องทางเทคนิคที่เราจะต้องแก้ไขในทันที

2.Caster

Caster หรือนักแคสเกม คือคนทั่วไปที่ชื่นชอบการเล่นเกม โดยมักจะเล่นเกมแล้วอัดวิดีโอเอาไว้ และนำวีดีโอที่เล่นนั้น มาตัดต่อและเผยแพร่ลงบน YouTube, Facebook โดยมีการพากษ์เสียงต่าง ๆ   เพื่อความบันเทิง หรืออาจเป็นการสอนเทคนิคการเล่นต่าง ๆ ซึ่งการแคสเกม จะได้รับรายได้จากยอดวิว และยอดการติดตาม แต่จะไม่มีช่องทางการบริจาคเหมือนกับ Streamer เนื่องจากไม่ได้ทำการถ่ายทอดสด การแคสเกมอาจทำให้น่าสนใจได้ง่ายกว่า Streamer ตรงที่เราสามารถเลือกเทคที่เรามีฝีมือการเล่นที่ดี หรืออาจตัดต่อบางส่วนที่น่าสนใจน้อยออกไปได้ 

รายได้

รายได้เฉลี่ยอยู่ที่ 40,000 - 500,000 บาท ต่อเดือน โดยขึ้นอยู่กับจำนวนผู้ติดตาม (Subscribers) ยิ่งหากมีจำนวน Subscribers มาก ก็ยิ่งได้เงินมากขึ้น

ทักษะที่ควรมี

  • ทักษะการเล่าเรื่อง เช่นเดียวกัน Caster ก็ต้องมีทักษะการเล่าเรื่องที่ดีและน่าสนใจ เช่นเดียวกับ Streamer เพื่อดึงดูดผู้ติดตาม
  • ทักษะการตัดต่อวิดิโอ Caster ไม่ได้ทำการถ่ายทอดสดเช่นเดียวกับ Streamer จึงจำเป็นที่จะต้องมีการตัดต่อวิดีโอเพื่อความสมบูรณ์แบบ โดยในปัจจุบันก็มีโปรแกรมตัดต่อวิดิโอให้เลือกมากมาย และยังมีคอร์สออนไลน์ที่สอนการนำเสนอวิดีโอให้น่าสนใจอีกด้วย ทุกคนสามารถเลือกโปรแกรม ที่ตนเองถนัดเพื่อสร้างสรรค์ผลงานของตนเองกันได้เลย
  • ความคิดสร้างสรรค์ นอกจากจะตัดต่อวิดีโอเป็นแล้ว การมีความคิดสร้างสรรค์ที่ดี ก็จะยิ่งช่วยให้วิดีโอของเรามีความสนุกสนานแก่ผู้ชมมากยิ่งขึ้น บางคนมีสไตล์การนำเสนอใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ  เช่น การใส่ Effects ต่าง ๆ ลงไปในวิดีโอ เหล่านี้ก็อาจทำให้มีผู้มาติดตามมากยิ่งขึ้น

E-Sports Players

E-sports ย่อมาจาก Electronic Sports หรือการแข่งขันกีฬาแบบอิเล็กทรอนิกส์ เป็นรูปแบบหนึ่งของกีฬาการแข่งขัน โดยมักจะอยู่ในรูปแบบของการแข่งขันวิดีโอเกมแบบผู้เล่นหลายคน อาจแข่งแบบ 1-1 หรือเป็นทีมก็ได้ และจะมี กฏ กติกา การเล่นแบบสากล รวมทั้งสโมสร เจ้าของทีมจะมีการเซ็นสัญญาจ้างกับนักกีฬาด้วย 

ลักษณะการแข่งขันของ E-sports คือมีเกมออนไลน์เปรียบเสมือนสนามแข่งขัน อุปกรณ์ในการแข่งขันคือ เครื่องคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือ หูฟัง คีย์บอร์ด และอินเทอร์เน็ตที่ค่อนข้างเสถียร โดยนักกีฬาภายในทีมและคู่แข่งอาจจะไม่จำเป็นต้องอยู่ในสถานที่เดียวกัน แต่สามารถแข่งขันร่วมกันได้แบบออนไลน์ เช่นเดียวกับนักกีฬาทั่วไป นักกีฬา E-sports จะต้องฝึกซ้อมเพื่อพัฒนาฝีมือการเล่น เพราะการแข่งขันเป็นตัวกำหนดผลงาน ความสำเร็จและค่าตอบแทนของอาชีพนี้

รายได้

รายได้เฉลี่ยอยู่ที่ 15,000 บาทไปจนถึงหลักล้านบาทต่อเดือน

ทักษะที่ควรมี

  • ความเข้าใจและทักษะในการเล่นเกม การจะเล่นเกมได้ต้องเข้าใจลักษณะของเกม และต้องเป็นผู้ที่เล่นเกมเป็น เข้าใจจุดประสงค์ของเกมและสามารถหาทางออกได้ว่าจะต้องทำอย่างไร เพื่อที่จะไปสู่ชัยชนะ
  • การคิดวิเคราะห์ คนที่เล่นเกมเก่งมักจะวิเคราะห์รูปเกมออก ว่าคู่ต่อสู้ต้องการจะทำอะไรและเราจะต้องใช้กลยุทธ์ใดเพื่อที่จะเอาชนะคู่ต่อสู้ให้ได้ บางเกม หากใครมีกลยุทธ์ที่ดีกว่า และสามารถ   ทำตามแผนที่วางไว้ได้ ก็เป็นฝ่ายชนะไป
  • การฝึกฝนฝึกซ้อม การเล่นเกมเป็นอาชีพไม่ได้พึ่งดวงอย่างเดียวแน่นอน หากแต่เกิดจากการฝึกฝนฝึกซ้อมอยู่เสมอ เพราะในเกมอาจมีสถานการณ์ใหม่ ๆ และคู่ต่อสู้ใหม่ ๆ ที่เราไม่เคยเจอมาก่อน เมื่อเรามีการฝึกซ้อมก็จะทำให้เราจัดการกับสถานการณ์และคู่ต่อสู้ได้ดีกว่าการเผชิญหน้าครั้งแรก

นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของอาชีพเกมเมอร์เท่านั้น ยังมีอาชีพอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเกมอีกมากมาย ที่เป็นอาชีพในอนาคต สำหรับคนที่ชื่นชอบอุตสาหกรรมเกมหรือสนใจในสายงานนี้ โดยทุกท่านสามารถติดตามและเลือกอ่านบทความอาชีพอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ในบทความของ StarfishLabz เลยค่ะ

อ้างอิง


มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

Future Ready
การรับผิดชอบต่อการตัดสินใจของตนเอง
basic
0:30 ชั่วโมง

วัยทีนยุคใหม่ จัดการเวลายังไงให้สมดุล

ในยุคดิจิทัลที่เต็มไปด้วยสิ่งล่อตาล่อใจ ทั้งโซเชียลมีเดีย การเรียน กิจกรรมต่าง ๆ และการใช้ชีวิตส่วนตัว การจัดการเวลาจึงเป็นทั ...

Starfish Labz
Starfish Labz
วัยทีนยุคใหม่ จัดการเวลายังไงให้สมดุล
Starfish Labz

วัยทีนยุคใหม่ จัดการเวลายังไงให้สมดุล

Starfish Labz
ทักษะสําคัญแห่งโลกอนาคต
ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา การรับผิดชอบต่อการตัดสินใจของตนเอง การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

ฝึกทักษะพื้นฐานในการตัดสินใจ (Decision Making)

การตัดสินใจที่ดีและมีประสิทธิภาพนั้น ถ้าหากได้รับการฝึกฝนทักษะการตัดสินใจตั้งแต่วัยรุ่น ก็จะเพิ่มโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในชีวิ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
ฝึกทักษะพื้นฐานในการตัดสินใจ (Decision Making)
Starfish Academy

ฝึกทักษะพื้นฐานในการตัดสินใจ (Decision Making)

Starfish Academy
1803 ผู้เรียน
เทคโนโลยีดิจิทัล
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา การบริหารจัดการตนเอง
basic
3:00 ชั่วโมง

เริ่มต้นทำ Visual Note อย่างง่ายใครๆ ก็ทำได้

หากคุณเป็นคนชอบวาดรูป ชอบการขีดเขียน หรือการจดบันทึก อยากลองทำ Visual Note แต่ไม่รู้จะสื่อสารออกมาอย่างไรดี คอร์สเ ...

แพร เวธนี คงปลื้มจิตต์
แพร เวธนี คงปลื้มจิตต์
เริ่มต้นทำ Visual Note อย่างง่ายใครๆ ก็ทำได้
แพร เวธนี คงปลื้มจิตต์

เริ่มต้นทำ Visual Note อย่างง่ายใครๆ ก็ทำได้

แพร เวธนี คงปลื้มจิตต์

ต้องใช้ 100 เหรียญ

ภาษาและการสื่อสาร
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
3:00 ชั่วโมง

How to พูดอังกฤษยังไงให้เป๊ะ แบบไม่เน้นท่องจำ

การสื่อสารภาษาอังกฤษ ใครว่ายาก? หากเราเข้าใจ และสื่อสารมันจากความรู้สึก และไม่ต้องกังวลจนเกินไป ในคอร์สเรียนนี้เราจ ...

ศรีชัยยะพรกณก กิจเวชเจริญ (อ.บี)
ศรีชัยยะพรกณก กิจเวชเจริญ (อ.บี)
How to พูดอังกฤษยังไงให้เป๊ะ แบบไม่เน้นท่องจำ
ศรีชัยยะพรกณก กิจเวชเจริญ (อ.บี)

How to พูดอังกฤษยังไงให้เป๊ะ แบบไม่เน้นท่องจำ

ศรีชัยยะพรกณก กิจเวชเจริญ (อ.บี)

ต้องใช้ 100 เหรียญ

Related Videos

3 ข้อดี Starfish Class Website Version
02:55
Starfish Future Labz

3 ข้อดี Starfish Class Website Version

Starfish Future Labz
435 views • 2 ปีที่แล้ว
3 ข้อดี Starfish Class Website Version
10 ขั้นตอน สร้าง PORTFOLIO
02:33
Starfish Future Labz

10 ขั้นตอน สร้าง PORTFOLIO

Starfish Future Labz
62005 views • 3 ปีที่แล้ว
10 ขั้นตอน สร้าง PORTFOLIO
พื้นที่แห่งการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21
04:37
Starfish Future Labz

พื้นที่แห่งการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21

Starfish Future Labz
8874 views • 3 ปีที่แล้ว
พื้นที่แห่งการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21
แนวโน้มอาชีพเด็กไทยในอนาคต
24:40
Starfish Academy

แนวโน้มอาชีพเด็กไทยในอนาคต

Starfish Academy
1230 views • 2 ปีที่แล้ว
แนวโน้มอาชีพเด็กไทยในอนาคต