Classroom เรียนรู้แบบ Active Learning

Starfish Academy
Starfish Academy 2688 views • 2 ปีที่แล้ว
Classroom เรียนรู้แบบ Active Learning

การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เป็นกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้  ผู้เรียนมีส่วนร่วมและมีปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติที่มีหลากหลายรูปแบบ และเสริมสร้างให้ผู้เรียนเกิดความเรียนรู้ที่ตรงตามความต้องการและสอดคล้องกับความถนัดของผู้เรียน ให้เกิดการตื่นตัวในการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา

บทความใน Starfish Labz นี้ เป็นข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ที่จัดขึ้นจริงในห้องเรียน ซึ่งเป็นบทสัมภาษณ์จากนักพัฒนาการศึกษามูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮม ที่จะมาบอกเล่าเรื่องราวดี ๆ จากประสบการณ์จริงของโค้ชที่มีส่วนในการนำรูปแบบการเรียนรู้แบบ Active Learning มาฝากกันค่ะ  

อุปสรรคที่เจอในการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning

โค้ชจ๋าได้มองอยู่สองส่วนคือ ส่วนแรกช่วงโควิดนักเรียนต้องเรียนอยู่บ้านกับผู้ปกครองเท่านั้น ซึ่งแน่นอนว่าผู้ปกครองไม่มีความเข้าใจว่า Active Learning คืออะไร แล้วก็ไม่สามารถจัดการเรียนการสอนให้ลูกได้ ทำให้ผู้เรียนเกิดปัญหาในด้านความรู้ถดถอย ซึ่งทำให้เกิดปัญหาและอุปสรรคในการเรียนรู้ เพราะต้องเรียนออนไลน์อยู่ที่บ้านเป็นเวลานาน

ส่วนที่สองคือ เมื่อโรงเรียนเปิดเรียนแบบ On-Site ปัญหาที่โค้ชจ๋าพบเจอคือ ครูไม่เข้าใจว่า Active Learning คืออะไร ครูบางคนคิดว่า Active Learning คือกิจกรรมที่เด็กต้องได้วิ่งหรือต้องออกกำลังกายเท่านั้น ซึ่งเบื้องต้นโค้ชจ๋าได้ทำความเข้าใจว่าสิ่งที่ครูเข้าใจแบบนี้ก็เป็นปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการจัดการเรียนรู้ ในเมื่อตัวครูยังไม่มีความเข้าใจ ก็ยังไม่สามารถจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ได้

อะไรที่ช่วยให้ครูก้าวข้ามอุปสรรคได้ในการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning

ครูต้องเกิดการเรียนรู้และเข้าใจก่อนว่าการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning คืออะไร ซึ่งโค้ชได้สร้างความเข้าใจในเรื่อง กระบวนการ STEAM Design Process เพื่อนำไปจัดการเรียนรู้ ที่สามารถจัดเป็น Active Learning ได้ ครูต้องเป็นผู้คอยชี้นำและอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ของนักเรียน เพราะกระบวนการตรงนี้ช่วยฝึกให้นักเรียนมีการคิดอย่างเป็นระบบขั้นตอน รวมการวางแผนซึ่งตัวผู้เรียนรู้ว่ากำลังทำอะไร เมื่อเจอปัญหาหรืออุปสรรคก็ต้องหาวิธีในการแก้ไขด้วยตนเอง โดยที่เด็กไม่ต้องไปวิ่งหรือออกกำลังกายก็สามารถเป็น Active Learning ได้ โดยผ่านกระบวนการคิด ดังนั้นหน้าที่ของโค้ชจ๋าที่จะช่วยได้คือ ต้องทำความเข้าใจกับคุณครูก่อน แล้วครูถึงจะสามารถไปสอนเด็ก ๆ ของคุณครูได้

ผลที่เกิดขึ้นจากการมีส่วนช่วยโรงเรียนให้เกิดการเรียนการสอนแบบ Active Learning 

คือ ครูได้นำไปต่อยอดบอกต่อครูท่านอื่น ๆ ในเรื่องของกระบวนการที่ทำแล้วประสบผลสำเร็จ ได้อย่างชัดเจน ครูเห็นภาพของการเรียนแบบ Active Learning มากขึ้น นอกจากเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ตัวครูแล้ว เพื่อนครูก็เกิดการพัฒนามากขึ้นเช่นกัน เมื่อมีการ PLC เพื่อนครูได้นำไปต่อยอดและปรับใช้ต่อ ส่วนในตัวของนักเรียนนั้นเริ่มรู้ว่าตัวเองกำลังทำอะไร และคิดอะไร จากเมื่อก่อนต้องมีครูคอยบอกกลายเป็นคนที่มีความคิด มีทักษะมากขึ้น เริ่มคิดและวางแผนงาน รวมถึงลงมือทำงานต่าง ๆ ด้วยตัวเอง และเกิดการเรียนรู้ที่แท้จริง

จากบทสัมภาษณ์: นางอรทัย สายสืบ (โค้ชจ๋า) นักพัฒนาการศึกษา

มูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮม


STEAM Design Process ที่ประทับจากโรงเรียนที่ร่วมงานเป็นอย่างไรบ้าง

การที่โค้ชได้มีส่วนในการเข้าไปทำงานร่วมกับโรงเรียนเครือข่ายนั้น ได้เข้าไปช่วยในเรื่องแนะนำเครื่องมือหรือวิธีการ  ที่ช่วยในเรื่องของการจัดกิจกรรมส่งเสริมให้โรงเรียนสามารถทำงานได้ง่ายและเหมาะสมตามบริบทมากขึ้น โดยโค้ชได้แนะนำการจัดกิจกรรม Makerspace ผ่านกระบวนการ STEAM Design Process เข้าในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนร่วมกับนักเรียน

จากกระบวนการ STEAM Design Process ที่ได้มีส่วนในการนำโครงการเข้าไปในเรื่องของการจัดการเรียนการสอนร่วมกับโรงเรียนนั้น สิ่งที่โค้ชยิ้มรู้สึกประทับใจคือ โรงเรียนวัดสันกลางเหนือได้นำกระบวนการ STEAM Design Process ไปใช้ในช่วงกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ โดยแบ่งออกเป็นฐานการเรียนรู้ ให้นักเรียนได้เลือกเรียนรู้ตามความถนัดและสนใจของตนเอง 

ผลตอบรับเป็นไปด้วยดีนักเรียนให้ความสนใจและชอบเข้าร่วมกิจกรรมในการเรียนรู้ เกิดการเรียนรู้ได้ตรงตามความสนใจและมีความสุขในการเป็นผู้จัดการเรียนรู้ด้วยตัวเอง นักเรียนเกิดทักษะในการคิดและแก้ปัญหา มีทักษะในการทำงานร่วมกันกับผู้อื่น และตอนนี้ทางโรงเรียนได้มีการพัฒนาด้านการจัดการเรียนรู้ต่อยอดไปสู่ฐานสมรรถนะทุกรายวิชาทุกหน่วยการเรียนรู้

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการจัด Active Learning ในชั้นเรียนมีอะไรบ้าง 

ปัจจัยสำคัญนั้นคือ การออกแบบกิจกรรมการสอนครูจะต้องเปลี่ยนบทบาทมาเป็นผู้อำนวยความสะดวก คอยกระตุ้นให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ สร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีร่วมกันระหว่างนักเรียนกับครู ครูจะต้องสร้างสภาพแวดล้อมและบรรยากาศในห้องเรียน ให้เกิดความท้าทายหลากหลายวิธีการ เพื่อส่งเสริมในการเรียนรู้ มีความยืดหยุ่น และยอมรับความแตกต่างความสามารถ หรือการแสดงความคิดของผู้เรียน ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามความต้องการโดยครูเป็นผู้จุดประเด็นปัญหา เพื่อให้ผู้เรียนได้ค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมตามความถนัดและสนใจด้วยตนเอง

STEAM Design Process กับ Active Learning เกี่ยวข้องกันอย่างไร

จากการที่โค้ชยิ้มได้เห็นและได้สัมผัสมาถือว่า ทั้งสองอย่างนี้เป็นกระบวนการที่ช่วยในเรื่องของการส่งเสริมการเรียนรู้ ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ผ่านกระบวนการต่าง ๆ ได้ลงมือปฏิบัติครบทั้ง 5 ขั้นตอนของ STEAM Design Process ซึ่งผู้เรียนก็จะเกิดการเรียนรู้แบบ Active Learning ไปในตัวด้วย เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ผู้เรียนส่วนใหญ่มีความชื่นชอบในการทำกิจกรรมที่ได้ลงมือปฏิบัติจริงตามความสนใจและความถนัด มีพื้นที่สร้างสรรค์ผลงานร่วมกัน


จากบทสัมภาษณ์: นางสาวเสาวลักษณ์ ปิงชัยวงษ์ (โค้ชยิ้ม) นักพัฒนาการศึกษา

มูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮม


มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

การเรียนแบบบูรณาการ
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

การสอนคณิตศาสตร์ (3R)

คณิตศาสตร์จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แค่เรามีเทคนิคดีๆ มาเป็นตัวช่วยในการสอน คณิตศาสตร์ของเราก็จะเป็นเรื่องง่าย ไม่น่าเบื่ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
การสอนคณิตศาสตร์ (3R)
Starfish Academy

การสอนคณิตศาสตร์ (3R)

Starfish Academy
2716 ผู้เรียน
การเรียนแบบบูรณาการ
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
2:00 ชั่วโมง

การสอนภาษาไทย (3R)

การสอนภาษาไทยของมูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮมได้ออกแบบมาเพื่อพัฒนาทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน อย่างเป็นระบบเข้าใจง่ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
การสอนภาษาไทย (3R)
Starfish Academy

การสอนภาษาไทย (3R)

Starfish Academy
2738 ผู้เรียน
การเรียนแบบบูรณาการ
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
1:30 ชั่วโมง

คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว

คงจะดีถ้าการอ่านออกเขียนได้ ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป นวัตกรรม3R โรงเรียนบ้านปลาดาว ได้ออกแบบชุดการสอนที่ง่ายและเกิดผล ...

Starfish Academy
Starfish Academy
คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว
Starfish Academy

คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว

Starfish Academy
6950 ผู้เรียน
การเรียนแบบบูรณาการ
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
2:00 ชั่วโมง

บูรณาการ : การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เน้นให้ผู้เรียนเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน มาใช้ในการสร้างสรรค์ผลงาน แก้ปัญห ...

Starfish Academy
Starfish Academy
บูรณาการ : การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
Starfish Academy

บูรณาการ : การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

Starfish Academy
1453 ผู้เรียน

Related Videos

เสียงสะท้อนเมื่อ “ครู เปลี่ยนเป็น โค้ช” จากงาน Makerpace Day
06:05
Starfish Academy

เสียงสะท้อนเมื่อ “ครู เปลี่ยนเป็น โค้ช” จากงาน Makerpace Day

Starfish Academy
240 views • 2 ปีที่แล้ว
เสียงสะท้อนเมื่อ “ครู เปลี่ยนเป็น โค้ช” จากงาน Makerpace Day
วิจัยและนวัตกรรมด้านการจัดการเรียนรู้ สู่ครูเชี่ยวชาญตามเกณฑ์ วPA
01:17:25
Starfish Academy

วิจัยและนวัตกรรมด้านการจัดการเรียนรู้ สู่ครูเชี่ยวชาญตามเกณฑ์ วPA

Starfish Academy
2131 views • 1 ปีที่แล้ว
วิจัยและนวัตกรรมด้านการจัดการเรียนรู้ สู่ครูเชี่ยวชาญตามเกณฑ์ วPA
Success Story โครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP)
05:05
Starfish Academy

Success Story โครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP)

Starfish Academy
598 views • 2 ปีที่แล้ว
Success Story โครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP)
Makerspace Day #1
07:41
Starfish Academy

Makerspace Day #1

Starfish Academy
571 views • 2 ปีที่แล้ว
Makerspace Day #1