Maker Education การศึกษาที่มากกว่าแค่ห้องเรียน

Starfish Academy
Starfish Academy 2568 views • 2 ปีที่แล้ว
Maker Education การศึกษาที่มากกว่าแค่ห้องเรียน

ในโลกยุคใหม่ที่การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลา และพ่อแม่ผู้ปกครองก็พร้อมทุ่มเทเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้ให้กับลูก การเรียนรู้ของเด็กยุคใหม่จึงไม่จำกัดอยู่แค่ในห้องเรียนอีกต่อไป 

มีทฤษฎี และกระบวนการที่เกี่ยวกับการเรียนรู้นอกห้องเรียนมากมาย ให้แต่ละครอบครัวค้นหาและนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับสไตล์การเรียนรู้ของเด็กแต่ละคน ซึ่ง Maker Education ก็เป็นทฤษฎีการเรียนรู้อีกรูปแบบหนึ่ง ที่เชื่อว่าการเรียนรู้ด้วยการลงมือทำ ในพื้นที่ที่เหมาะสมจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดปัญญาและนำไปสู่การพัฒนาตัวตนได้ไม่รู้จบ

Maker Education คืออะไร?

การศึกษาแบบ Maker Education คือ พื้นฐานปรัชญาการศึกษาแบบ Constructionism หรือการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญา ถูกพัฒนาขึ้นโดย ซีย์มัวร์ พาเพิร์ต (Seymour Papert) ที่เชื่อว่าคนเราเรียนรู้ได้ดีที่สุดเมื่อได้ลงมือทำ (Learining by Doing) 

ซึ่งการเรียนรู้ด้วยการลงมือทำนี้เป็นการสร้างประสบการณ์เหมือนกับที่เราต้องเจอในชีวิตจริง ได้ฝึกการทำงานร่วมกับผู้อื่น แต่กระนั้นก็เป็นกระบวนการเรียนรู้แบบเฉพาะเป็นรายบุคคล เพราะพาเพิร์ตเชื่อว่าผู้เรียนสองคน ไม่มีทางที่จะเข้าใจเรื่องเดียวกันในระยะเวลาที่เท่ากันได้ เพราะแต่ละคนต่างมีความสามารถและขีดจำกัดที่ต่างกัน

ดังนั้น การสร้างพื้นที่แห่งการเรียนรู้ จึงเป็นหัวใจสำคัญของการศึกษาแบบ Maker Education โดยพื้นที่แห่งการเรียนรู้นี้เปรียบเสมือนสวนสนุกที่ให้ผู้เรียนได้ทดลอง ริเริ่มสิ่งใหม่ๆ ด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นเพียงผู้สร้างเงื่อนไขให้เกิดการประดิษฐ์คิดค้น ไม่ใช่มอบความรู้สำเร็จรูปให้กับนักเรียน

Maker Education การเรียนรู้ที่ “ฉัน” เลือกได้เอง

ปัจจุบันการเรียนรู้แบบ Maker Education ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างมาก เนื่องจากรูปแบบการเรียนที่เปลี่ยนมาให้นักเรียนเป็นศูนย์กลาง ครูทำหน้าที่เป็นเพียงผู้ให้โจทย์ แนะนำ และสนับสนุนแนวคิดของเด็กๆ ในสถานที่ที่จัดเตรียมไว้ให้พร้อมสำหรับการเรียนรู้ ซึ่งเรียกว่า Makerspace

ข้อดีของการเรียนรู้แบบ Maker Education คือ การที่ผู้เรียนได้ฝึกคิด วางแผน ลงมือทำ และแก้ปัญหาด้วยตนเอง ถือเป็นการเตรียมความพร้อมผู้เรียนสำหรับการก้าวสู่โลกความเป็นจริง

ที่หากเผชิญความผิดพลาดอาจส่งผล กระทบรุนแรงกว่า แต่เพราะ Makerspace เป็นพื้นที่แห่งการทดลองและเรียนรู้ ความผิดพลาดจึงนำไปสู่บทเรียนมากกว่าจะเป็นปัญหาจริงๆ 

นอกจากนี้ บทบาทของครูที่เป็นเพียงผู้สนับสนุน ทำให้ผู้เรียนแต่ละคนสามารถแบ่งปัน และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน บางครั้งผู้เรียนจึงทำหน้าที่เป็นผู้สอน ที่คอยช่วยเหลือแนะนำซึ่งกันและกันได้ด้วย 

Makerspace พื้นที่การเรียนรู้ที่มาคู่กับ Maker Education

Makerspace คือ พื้นที่แห่งการเรียนรู้ ที่ตอบโจทย์การเรียนรู้แบบ Maker Education โดยพื้นที่แห่งการเรียนรู้นี้อาจเป็นที่ใดก็ได้ ที่มีอุปกรณ์ มีเครื่องมือ แหล่งค้นคว้าข้อมูล ให้สะดวกต่อการใช้งาน  

โดยทั่วไปเรามักพบการใช้ Makerspace กับการเรียนการสอนแบบ S.T.E.A.M แต่หลายครั้งก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับกิจกรรมการเรียนรู้อื่นๆ ได้ เช่น การเรียนศิลปะ อาจจัดพื้นที่ให้ผู้เรียนได้ทดลองทำงานศิลปะหลากหลายรูปแบบ ทั้งงานปั้น วาดภาพ ระบายสี มีสีหลากหลายชนิดให้ลองใช้ เป็นต้น

ตัวอย่าง Makerspace ในโรงเรียน เช่น ในห้องสมุดเพราะเป็นแหล่งค้นคว้าข้อมูล อาจจัดมุมทำงานที่มีคอมพิวเตอร์พร้อมใช้ มีอุปกรณ์เครื่องเขียนต่างๆ จัดสรรให้หยิบใช้ได้สะดวก หรือ นอกอาคารเรียน จัดทำ Makerspace เกี่ยวกับการเรียนรู้เรื่องการเกษตร มีเครื่องมือเพาะปลูก มีแปลงผัก หรือการเรียนรู้สำรวจธรรมชาติ มีกล้องส่องทางไกล แผนที่ เข็มทิศ ฯลฯ อุปกรณ์ต่างๆ ให้ผู้เรียนได้เลือกใช้ได้เหมาะกับความต้องการ

Makerspace ที่บ้าน พ่อแม่สร้างได้

เมื่ออ่านมาถึงบรรทัดนี้ บ้านไหนสนใจการศึกษาแบบ Maker Education และอยากจัดพื้นที่การเรียนรู้ในบ้านก็ย่อมทำได้ 

ทั้งนี้ อาจจัดพื้นที่การเรียนรู้เฉพาะเจาะจงในเรื่องที่ลูกสนใจ เช่น มุมศิลปะ สำหรับเด็กๆ ที่ชื่นชอบการวาดภาพระบายสี โดยจัดให้มีอุปกรณ์สร้างสรรค์งานศิลป์ที่หลากหลาย ให้ลูกได้ลองใช้ หรืออาจเป็นพื้นที่สำหรับการเย็บปักถักร้อย มีจักรเย็บผ้าเล็กๆ อุปกรณ์การเย็บผ้าต่างๆ จัดไว้อย่างเหมาะสม สะดวกต่อการหยิบใช้ 

สำหรับบ้านไหนที่มีพื้นที่มากๆ มีห้องว่าง ก็อาจใช้ทั้งห้องนั้นจัดเป็น Makerspace โดยมีมุมสำหรับการเรียนรู้ต่างๆ เช่น มุมวิทยาศาสตร์ มุมศิลปะ มุมภาษา ฯ ซึ่งต่อไปนี้เป็นไอเดียง่ายๆ ที่นำไปประยุกต์จัดบ้านให้เป็น Makerspace สำหรับเด็กๆ ได้

  • Makerspace แบบเคลื่อนที่ : เหมาะสำหรับบ้านที่มีเนื้อที่จำกัด อาจเลือกซื้อชั้นวางของที่มีล้อเลื่อน แล้วจัดเป็นรถเข็นเคลื่อนที่สำหรับการเรียนรู้ของลูก เคลื่อนย้ายไปทำกิจกรรมต่างๆ ได้หลายพื้นที่ทั้งในบ้าน นอกบ้าน โดยอุปกรณ์ที่ควรมี เช่น อุปกรณ์พื้นฐานสำหรับงานประดิษฐ์ต่างๆ เช่น กระดาษสี ไม้ไอติม ริบบิ้น แกนกระดาษทิชชู เชือก กาว กรรไกร ดินสอ ปากกา ไม้บรรทัด สีไม้ สีเทียน อุปกรณ์สำหรับงาน D.I.Y ต่างๆ 
  • Makerspace แบบพกพา : เหมาะสำหรับการเรียนรู้นอกห้องเรียน หรือระหว่างการเดินทาง เป็นการเตรียมอุปกรณ์ไว้ในกล่องที่พกพาได้ โดยอาจเป็นอุปกรณ์ที่จัดใส่กล่องเป็นรายครั้งตามธีมการเรียนรู้ เช่น หากพาลูกไปเที่ยวทะเลและต้องการสอนเรื่องศิลปะจากทะเล อาจเตรียมกาว ปืนกาว อุปกรณ์ตักทราย ภาชนะต่างๆ สำหรับใส่ทราย บรรจุน้ำทะเล หรือเก็บเปลือกหอย เป็นต้น
  • Makerspace Room : ห้องแห่งการเรียนรู้อย่างสนุกสนาน เน้นสร้างพื้นที่กระตุ้นความอยากรู้อยากเห็น อยากลงมือทำ มีเครื่องมือ สื่อการเรียน อุปกรณ์ต่างๆ ที่เข้าถึงหยิบใช้งานได้ง่าย จัดเรียงอย่างเป็นระเบียบ อาจจัดพื้นที่แต่ละมุมในห้อง เพื่อตอบโจทย์การเรียนรู้ที่ต่างกัน เช่น มุมคณิตศาสตร์ ก็มีบล๊อคตัวเลข ลูกคิด เครื่องคิดเลข เกมเสริมทักษะด้านคณิตศาสตร์ ส่วนมุมจินตนาการ ก็อาจมีกระดานวาดภาพ หนังสือภาพ หนังสือศิลปะ ของเล่นที่เสริมจินตนาการ เป็นต้น 

อย่างไรก็ตาม การสร้าง Makerspace ในบ้าน พ่อแม่ผู้ปกครองควรระบุกฎระเบียบการใช้พื้นที่และอุปกรณ์การเรียนรู้อย่างชัดเจน เพื่อฝึกระเบียบวินัยให้กับลูกไปพร้อมๆ กัน กำหนดพื้นที่และวิธีการใช้อุปกรณ์อันตรายให้ชัดเจน เช่น ของมีคมต่างๆ ของที่มีความร้อน เช่น การใช้เตาทำอาหาร หรือปืนกาว อุปกรณ์ใดควรมีผู้ปกครองดูแล อุปกรณ์ใดต้องขออนุญาตพ่อแม่ก่อน หรืออุปกรณ์ใด สามารถใช้เองได้ด้วยความระมัดระวัง ควรระบุให้ชัดก่อนเริ่มใช้พื้นที่จริง 

สำหรับผู้ที่สนใจเรื่องการสร้างพื้นที่การเรียนรู้ Makerspace ภายในบ้าน สามารถอ่านเพิ่มเติมได้จาก สร้างทักษะแห่งอนาคตด้วย Makerspace และ STEAM DESIGN PROCESS เขียนโดย ดร.แพร CEO Starfish Education ที่รวบรวมไอเดียจัด Makerspace ที่บ้าน พร้อมตัวอย่างกิจกรรมพัฒนาสมองตั้งแต่เด็กเล็ก ถึงเด็กโตเลยทีเดียว

แหล่งอ้างอิง (Sources):

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

การเรียนแบบบูรณาการ
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
1:30 ชั่วโมง

คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว

คงจะดีถ้าการอ่านออกเขียนได้ ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป นวัตกรรม3R โรงเรียนบ้านปลาดาว ได้ออกแบบชุดการสอนที่ง่ายและเกิดผล ...

Starfish Academy
Starfish Academy
คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว
Starfish Academy

คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว

Starfish Academy
6805 ผู้เรียน
การเรียนแบบบูรณาการ
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

การสอนคณิตศาสตร์ (3R)

คณิตศาสตร์จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แค่เรามีเทคนิคดีๆ มาเป็นตัวช่วยในการสอน คณิตศาสตร์ของเราก็จะเป็นเรื่องง่าย ไม่น่าเบื่ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
การสอนคณิตศาสตร์ (3R)
Starfish Academy

การสอนคณิตศาสตร์ (3R)

Starfish Academy
2663 ผู้เรียน
การเรียนแบบบูรณาการ
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
2:00 ชั่วโมง

การสอนภาษาไทย (3R)

การสอนภาษาไทยของมูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮมได้ออกแบบมาเพื่อพัฒนาทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน อย่างเป็นระบบเข้าใจง่ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
การสอนภาษาไทย (3R)
Starfish Academy

การสอนภาษาไทย (3R)

Starfish Academy
2710 ผู้เรียน
การเรียนแบบบูรณาการ
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
2:00 ชั่วโมง

พื้นที่แบบไหนก็จัด Makerspace ได้

พื้นที่นักสร้างสรรค์ Makerspace เป็นการจัดเตรียมพื้นที่สำหรับนักสร้างสรรค์ สามารถจัดได้หลายรูปแบบตามบริบทของพื้นที่นั้นๆ เพื่อใ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
พื้นที่แบบไหนก็จัด Makerspace ได้
Starfish Academy

พื้นที่แบบไหนก็จัด Makerspace ได้

Starfish Academy

Related Videos

CBE - การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ
10:22
Starfish Academy

CBE - การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ

Starfish Academy
1419 views • 2 ปีที่แล้ว
CBE - การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ
Makerspace Day #2
04:27
Starfish Academy

Makerspace Day #2

Starfish Academy
278 views • 1 ปีที่แล้ว
Makerspace Day #2
Success Story โครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP)
05:05
Starfish Academy

Success Story โครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP)

Starfish Academy
575 views • 2 ปีที่แล้ว
Success Story โครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP)
Learning Loss - การภาวะความถดถอยในการเรียนรู้
10:11
Starfish Academy

Learning Loss - การภาวะความถดถอยในการเรียนรู้

Starfish Academy
1389 views • 2 ปีที่แล้ว
Learning Loss - การภาวะความถดถอยในการเรียนรู้