1 ตุลาคมนี้ต้องทำอย่างไร? ถึงเวลาขับเคลื่อนการศึกษาไทยด้วย PA
จากการที่ได้มีการนำระบบการประเมินวิทยฐานะ วPA มาใช้กับโรงเรียนต่างๆ เพื่อนำมาซึ่งเกณฑ์ประเมินที่มีมาตรฐาน และตรงตามเป้าหมายในการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งโรงเรียนต่างๆกำลังเริ่มต้นในการดำเนินการปรากฏว่ายังอยู่ในเกณฑ์ที่ยังไม่ค่อยน่าพอใจ กำลังอยู่ในขั้นตอนของการตรวจสอบประเด็นท้าทาย โดยให้บุคลากรภายนอกเข้าร่วมในการประเมิน เพื่อการประเมินวิทยฐานะครั้งนี้ ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันมากที่สุด
ในการประเมินข้อตกลงรายปีเป็นการมอบอำนาจให้กับผู้บริหาร ครู และบุคลากร ในการที่จะพัฒนาโรงเรียนไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ ถือเป็นข้อตกลงในการพัฒนางาน หรือเป็นประเด็นท้าทายของผู้อำนวยการ ส่วนคุณครูก็จะเป็นข้อตกลงหรือข้อสัญญาว่าในปีการศึกษาต่อไปจะได้ทำอะไรบ้างในการพัฒนางานของตนเองและของโรงเรียน การพัฒนาไม่ได้เน้นเฉพาะผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนเท่านั้นแต่เป็นอะไรก็ได้ที่เป็นผลลัพธ์ของการเรียนรู้ ซึ่งผลลัพธ์การเรียนรู้จะต้องดูในเรื่องของ อารมณ์ สังคม จิตใจของผู้เรียนควบคู่ไปด้วย อาจจะต้องมีการวิเคราะห์ปัญหาหรือบริบทของโรงเรียนว่ามีปัญหาในเรื่องอะไรบ้าง จะต้องหาทางแก้ไขปัญหานั้นๆได้อย่างมีผลสำเร็จ อาจจะใช้รูปแบบดิจิทัลเข้ามาช่วยลดความซับซ้อน และความยุ่งยากในการประเมินที่ดูจากแฟ้มเอกสาร แต่ให้เน้นที่การพัฒนาศักยภาพการจัดการเรียนการสอนจริงในห้องเรียน และดูผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ
โดยให้ผู้บริหารสถานศึกษา และคุณครูทุกท่านให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ การตั้งเป้าหมายในการพัฒนาตนเอง และพัฒนาคุณภาพการสอน ซึ่งทั้งหมดนั้นจะส่งผลดีไปถึงเด็กๆ ที่จะได้เรียนรู้อย่างมีความสุขในห้องเรียนที่มีคุณภาพ ส่วนวิทยฐานะนั้นให้ถือเป็นผลพลอยได้ของการพัฒนาตนเอง
การประเมินรูปแบบนี้ ถือเป็นกระบวนการในการประเมินเพื่อพัฒนาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในห้องเรียนหรือในโรงเรียนได้เป็นอย่างดี ดังนั้นการประเมินจึงมีรูปแบบเหมือนกับการไปเยี่ยมเยือน การไปให้ข้อคิด ให้ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา ไม่ได้ไปดูในตัววัตถุ เอกสารแต่จะเน้นไปดูที่ตัวเด็ก
วิธีการทำงานของเด็ก วิถีชีวิต การเรียนรู้ของเด็กในห้องเรียน เป็นการเปลี่ยนความคิดจากรูปแบบเดิมที่ไปดูผลสัมฤทธิ์หรือดูเอกสาร แต่ปัจจุบันจะเน้นไปดูสิ่งมีชีวิตนั่นคือตัวนักเรียน เน้นผลสัมฤทธิ์หรือความสามารถและศักยภาพของตัวเด็กเป็นสำคัญ ดังนั้นอาจจะมีการประกาศยกเลิกการใช้แฟ้มหรือเอกสารที่ไม่จำเป็นต้องใช้ออกไป เพื่อเน้นในการประเมินในตัวเด็กเป็นสำคัญ
ดังนั้นการประเมินผลการปฏิบัติงาน PA คือระบบการประเมินเพื่อพัฒนา เป็นการประเมินผลการปฏิบัติงานตามวิสัยทัศน์ วัตถุประสงค์และเป้าหมาย เพื่อให้เกิดความสำเร็จของโรงเรียน โดยมีการกำหนดหลักเกณฑ์การประเมินและกิจกรรมตัวชี้วัดต่าง ๆ ไว้ล่วงหน้า สอดคล้องกับตำแหน่งและภาระงาน รวมถึงจุดมุ่งหมายของโรงเรียนนั้นๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากคุณครูในโรงเรียนมีจุดที่เป็นข้อบกพร่องที่ยังทำได้ไม่ได้ หรือทำไม่สำเร็จก็จะมีการ Feedback หรือผลสะท้อนในเชิงบวกในการพัฒนาคุณภาพ และศักยภาพของคุณครูต่อไปในอนาคต
แนวทางการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อเข้ามาประเมินในตัว PAได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้บริหารโรงเรียนจะต้องหาคนที่มีคุณภาพที่จะคอยมาชี้แนะแนวทาง มาเป็นคนช่วยสังเกตการณ์สอน ต้องเป็นคนที่ไม่ใช่คอยจับผิดเพราะการประเมินนี้เป็นการประเมินเพื่อพัฒนา อาจจะเป็นคนที่มีความรู้ทางการศึกษา หรือคนที่อยู่ในวงนอก เช่น ผู้นำชุมชน คุณครูที่เกษียณอายุหรือเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ที่มีความสนใจในการจัดการศึกษา เพราะตามหลักเกณฑ์ได้เปิดกว้าง ไม่ได้มีข้อกำหนดตายตัวนั่นเอง
เจตนารมณ์ของการประเมินในการทำข้อตกลงในแต่ละปี เพื่อให้ผู้บริหารวางแผนไปข้างหน้า ให้คุณครูคิดไปข้างหน้าว่าจะทำเรื่องต่างๆให้ดีขึ้นได้อย่างไร ซึ่งในแต่ละปี จึงต้องไปดูผลที่เกิดขึ้นกับนักเรียนจริงๆในห้องเรียน ไม่ต้องไปดูแฟ้มหรือเอกสารต่างๆที่สร้างขึ้นมา ดังนั้นให้งดการจัดนิทรรศการหรือการจัดบอร์ดต่างๆ เพราะถือว่าไม่เกิดประโยชน์ในการพัฒนา ถือเป็นการสิ้นเปลืองและเสียเวลาโดยใช่เหตุ อาจจะมีการเปิดชั้นเรียนตลอดเวลาเพื่อให้คนเข้ามาเยี่ยมชมในห้องเรียนจริงๆ เพื่อเป็นกระจกสะท้อนของการพัฒนาการสอนของครูได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง
เห็นได้ว่าการประเมินผลการปฏิบัติงาน (PA) นับได้ว่าเป็นอีกหนึ่งการเปลี่ยนผ่านทางการศึกษา ที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของครูผู้สอนเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่มีประโยชน์ต่อครูผู้สอนเป็นอย่างมากจะต้องทำความเข้าใจกับหลักเกณฑ์เหล่านี้เพื่อให้ปฏิบัติตามได้ถูกต้องและส่งผลดีต่อการปฏิบัติงานและส่งผลโดยตรงไปถึงตัวนักเรียน ทั้งนี้ สามารถรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ www.StarfishLabz.com
รศ.ดร.ประวิต เอราวรรณ์ เลขาธิการ ก.ค.ศ.
คุณครูจักรกฤช เลื่อนกฐิน โรงเรียนบางละมุง จังหวัดชลบุรี
คุณครูชนาธิป โหตรภวานนท์ โรงเรียนบ้านแซววิทยาคม จังหวัดเชียงราย
Related Courses
การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”
เรียนรู้ ทำความเข้าใจภาพรวมของการประเมินเพื่อขอมี / เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู” (วPA)
การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”
การสอนคณิตศาสตร์แบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA)
การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อพัฒนาเทคนิคการสอนคณิตศาสตร์ และเพื่อเป็นแนวทางในการประเมินวิทยฐานะ (PA)
การสอนคณิตศาสตร์แบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA)
เตรียมพร้อมก่อนทำคลิปประเมินวิทยฐานะ EP.1 วิธีการสอน
หลักสำคัญ ในการสอนที่มีประสิทธิภาพ 8 ข้อ ซึ่งจะใช้ในการประเมินคลิปการสอนของครู เป็นแนวทางใหม่ของการประเมินวิทยฐานะของครู
เตรียมพร้อมก่อนทำคลิปประเมินวิทยฐานะ EP.1 วิธีการสอน
เตรียมพร้อมกับวิทยฐานะใหม่
หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งวิทยฐานะครู (วPA) เพื่อการพัฒนาการศึกษาและความก้าวหน้าในวิชาชีพครู