ศิลปะ ธรรมะ และเด็กดื้อ
“โอต้องบอกเลยว่าโอเป็นเด็กดื้อ”
ลีโอ-ศุภวุฒิ ธีระวัฒนชัย พูดถึงตัวเองสมัยเป็นนักเรียนอยู่ที่โรงเรียนรุ่งอรุณ
“จะมาบอกโอว่าปั้นแก้วพันใบ ทำก็ได้ แต่ก็จะไม่ทำ ต้องบอกว่าปั้นแก้วพันใบเพราะอะไร”
“ครูทุกคนจะรู้กันว่า มีปฏิบัติธรรม ลีโอหนีไปอีกแล้ว”
เขาเล่าถึงวีรกรรมของตัวเองอย่างอารมณ์ดี ลีโอเป็นศิษย์เก่ารุ่งอรุณรุ่นที่ ๑๕ (RA15) ปัจจุบันกำลังศึกษาด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์ ที่ University College London ประเทศอังกฤษ ในช่วงปิดเทอมที่ผ่านมา ลีโอกลับมาเยี่ยมเยียนโรงเรียน พูดคุยบอกเล่าถึงการเรียนรู้ในต่างแดน พร้อมทั้งย้อนทบทวนชีวิตวัยเรียนที่รุ่งอรุณที่เรียกได้ว่าเป็นบ้านหลังที่สองของเขาก็ว่าได้ เพราะเรียนที่นี่ตั้งแต่อนุบาลจนจบมัธยมปลาย เป็นบ้านที่เขาบอกว่าเหมาะกับ “เด็กดื้อ” แบบเขา เพราะที่นี่เขาได้เรียนรู้ด้วยตัวเอง ได้ลงมือทำจนเกิดเป็นความรู้และความเข้าใจของเขาเอง และที่สำคัญคือครูรุ่งอรุณที่เข้าใจธรรมชาติของเด็กแต่ละคน “สอนแบบไม่สอน” จนทำให้เด็กดื้ออย่างเขาค้นพบศักยภาพในตัวเอง เข้าใจและอยู่กับตัวเองเป็น จากเด็กที่ปฏิเสธการปฏิบัติธรรม แต่เมื่อต้องใช้ชีวิตเพียงลำพังในต่างประเทศ เขาค้นพบว่าธรรมะที่ค่อยๆ งอกงามหยั่งรากอย่างเป็นธรรมชาติจากการเรียนศิลปะที่รุ่งอรุณ คือสิ่งสำคัญที่ทำให้เขาผ่านช่วงเวลาเหล่านั้นมาได้อย่างเป็นปกติ
เรียนจากความธรรมดาของความจริง
“โรงเรียนไม่สอนนักเรียนว่าคุณจะต้องกินข้าวให้หมดทุกเม็ด ถ้าคุณกินข้าวหมดทุกเม็ดแล้วคุณจะเป็นคนดี หรือว่าคุณกินข้าวเหลือ คุณคือคนเลว โรงเรียนสอนด้วยการให้เราปลูกข้าว ให้รู้ว่ามันเหนื่อยนะ กินไม่หมด ก็ได้นะ แต่ว่ามันคือการทำให้ของที่เราตั้งใจทำมามันเหลือ เราเป็นคนปลูกเองเรายังรู้สึกเสียดาย ถ้าคนอื่นเป็นคนปลูก เขาจะรู้สึกเสียดายหรือเปล่า มันคือการใช้ความจริง ใช้ความธรรมดาของความจริงเป็นสื่อหลักในการสอน”
“เราเรียนเรื่องข้าวไม่ใช่เพื่อที่จะปลูกข้าวเป็น เราเรียนเพราะต้องการตระหนักถึงปัญหาอะไรบางอย่าง เราพิสูจน์ด้วยตัวเองว่าใช้สารเคมีมันง่ายกว่า แต่ว่าถ้าทำแบบอินทรีย์ล่ะ ทำแบบไม่มีสารเคมีล่ะ เราได้ผลประโยชน์ทางไหน เราได้ผลประโยชน์ด้านสุขภาพ เราได้ผลประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อมที่มันดีกว่า ครูไม่ได้บอกเราว่าคุณห้ามใช้สารเคมี ไม่ได้บอกว่าทุกอย่างต้องออร์แกนิก ๑๐๐% แต่มีภาพแห่งความจริงให้เราเห็น แล้วเราเป็นคนเลือกเอง แล้วสุดท้ายเราก็เลือกในทางที่มีคุณธรรม เราเลือกในทางที่จริงใจกับสังคม จริงใจกับสิ่งแวดล้อม”
ทักษะของการโตไปเป็นมนุษย์ที่มีคุณภาพ
“จุดเด่นของชีวิตมัธยมโอสมัยรุ่งอรุณคือความไม่เพอร์เฟกต์ ความไม่สมบูรณ์ ตัวอย่างเช่นในสมัย ม.๒ เป็นโปรเจกต์ที่โอชอบมาก ตอนนั้นโจทย์คือทำละครโดยไม่ใช้เงิน ทำละครโดยไม่มีไมค์ให้เราใช้ เราก็มองว่า โรงเรียนไม่พร้อมเลย ทำไมโรงเรียนไม่มีงบให้ ทำไมโรงเรียนไม่มีเวทีคอนเสิร์ตให้ ทำไมโรงเรียนไม่มีไฟสปอตไลท์ให้เรา ทำไมเราไม่มีเครื่องเสียงดีๆ ที่ทำให้โปรดักชั่นมันออกมามีคุณภาพ แต่ถ้าเรามองลึกลงไปอีก โอมองว่าทุกอย่างมันคือความไม่สมบูรณ์ ความไม่สมบูรณ์ที่มันจริงมากๆ โตขึ้นมามันก็ไม่มีอะไรพร้อมตลอดเวลา”
“ถ้าเราไม่มีไมค์ ก็พูดให้มันเสียงดังเลย แค่นั้นเอง ไม่มีไมค์ แปลว่าเสียงที่เราพูดกับคนดูจะต้องชัดมากๆ ทุกคำพูดที่เราสื่อกับคนดู ตาของเรา หรือแม้แต่ท่าทางที่เราใช้ประกอบ มันต้องถึงคนดู โอมองว่าถ้าวันนั้นเรามีไมค์ เราก็จะมองข้ามคุณภาพของการสื่อสารตรงนี้ไป”
Related Courses
DIY หน้ากากอนามัยใช้เองกันเถอะ
การเรียนรู้เรื่องการทำหน้ากากผ้าจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับหน้ากากผ้าเหมาะกับใครและผ้าสำหรับทำหน้ากากอนามัยควรใช้ผ้าแบบไหนดี ห ...
สอนศิลปะให้กับเด็กปฐมวัยอย่างไรดี
ศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย จะได้เรียนรู้ความสำคัญ พัฒนาการทางศิลปะ กิจกรรมศิลปะและหลักการจัดประสบการณ์ศิลปะให้แก่เด็กปฐมวัย
วิทยาการคำนวณและโค้ดดิ้ง
ทักษะซึ่งช่วยให้ผู้เรียนสามารถคิดวิเคราะห์แก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยี ...
คุณสมบัติของครูในศตวรรษที่ 21
หลักสูตรสำหรับครูในศตวรรษที่ 21 เพื่อการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ส่งเสริมให้เกิดการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง และจั ...