มูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮม ลงพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้จังหวัดสมุทรสาคร สนับสนุนโครงการฟื้นฟูความรู้ถดถอย
ภาคีเครือข่ายสนับสนุนโครงการฟื้นฟูความรู้ถดถอย ร่วมลงพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับ 2 โรงเรียนในจังหวัดสมุทรสาคร
วันที่ 2 กันยายน 2565 องค์การยูนิเซฟประเทศไทย โดย Ms. Aarti Saihjee, หัวหน้าฝ่ายการศึกษา องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย, ดร.รังสรรค์ วิบูลย์อุปถัมภ์ เจ้าหน้าที่การศึกษา องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย , นางจารุพรรณ คุณพันธ์ ผู้แทนกรรมการศึกษาธิการจังหวัดสมุทรสาคร, นายชนาภิวัฒน์ วอนวัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผล สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสมุทรสาคร, นางสาวิตรี เหลืองสุรีย์ และ นางวรนุช ตุนทะกิจศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร, นายธนภัทร ศิริกุลวัฒนา หัวหน้าฝ่ายยุทธศาสตร์ การมีส่วนร่วมและการระดมทุนอาวุโส กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) และ ดร.นรรธพร จันทร์เฉลี่ย เสริบุตร ประธานมูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮม ร่วมลงพื้นที่โรงเรียนวัดศรีสําราญราษฎร์บํารุง (แช่มประชาอุทิศ) และ โรงเรียนบ้านแพ้ววิทยา (ตี่ตง) จ.สมุทรสาคร เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการ นวัตกรรม และรูปแบบการจัดการการเรียนการสอนที่โรงเรียนได้ใช้ในการฟื้นฟูความถดถอยจากสถานการณ์โควิด-19
ซึ่งเป็นกิจกรรมภายใต้โครงการการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อลดภาวะการเรียนรู้เพื่อลดภาวะการเรียนรู้ถดถอยและฟื้นฟูการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน ซึ่งมีโรงเรียนในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาครเข้าร่วมทั้งสิ้น 40 โรงเรียน โดยทุกโรงเรียนที่เข้าร่วมได้ใช้แนวทางการฟื้นฟูภาวะถดถอยผ่าน 5 มาตรการประกอบด้วย
1. การประเมินสภาพแวดล้อมทั้งระบบ (Landscape Assessment)
2. การวางแผนของโรงเรียนทั้งระบบ (Whole School Planning)
3. การสนับสนุนการพัฒนาวิชาชีพครู (Professional Development Support for Teachers)
4. การช่วยเหลือนักเรียน (Intervention and Support for Students)
5. การติดตาม ปรับปรุง และผลสะท้อนกลับ (Monitoring and Intervention Redesign)
โดย 5 มาตการนี้เป็นการให้กรอบแนวปฏิบัติแก่โรงเรียนผ่านการทำงานร่วมกับโค้ชมูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮม และมีการใช้เครื่องมือ Learning Box เพื่อช่วยภาวการณ์เรียนรู้ถดถอยภายในโรงเรียน ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้ผ่านบริบทของโรงเรียนได้
ทั้งสองโรงเรียนที่ได้ลงพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นโรงเรียนที่ผู้บริหารสถานศึกษา ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการฟื้นฟูความรู้ถดถอยของเด็กนักเรียน มีการสนับสนุนครูอย่างเต็มที่ ทำหน้าที่ผสานความร่วมมือจากผู้ปกครอง นำไปสู่ความร่วมมือจากทุกๆ ฝ่ายภายใต้กรอบแนวคิด 5 มาตรการในการฟื้นฟูภาวะความรู้ถดถอยของโรงเรียน กรณีโรงเรียนวัดศรีสําราญราษฎร์บํารุง (แช่มประชาอุทิศ) นอกจากจะได้ปฏิบัติตาม 5 ขั้นตอนเป็นหลักแล้ว อาทิเช่น การประเมินความรู้ถดถอยผ่านการทำแบบทำทดสอบเพื่อวิเคราะห์และประเมินความรู้ความสามารถของเด็กก่อนเริ่มภาคเรียน, มีการทำ PLC (Profession Learning Development) เพื่อให้ครูได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมหาแนวทางแก้ปัญหาร่วมกัน รวมถึงการพัฒนาวิชาชีพครู มีระบบติดตามความช่วยเหลือเด็ก พร้อมนำผลสรุปจากการทำ PLC (Profession Learning Development) มาปรับใช้แก้ปัญหาต่อไป โดยมีหัวใจหลักคือ การนำไปบูรณาการในการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ตามนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ส่วนโรงเรียนบ้านแพ้ววิทยา (ตี่ตง) มีความโดดเด่นในเรื่องการบริหารโรงเรียนของผู้อำนวยการโรงเรียน ในการหนุนเสริมครู สร้างความตระหนัก แสวงหาความร่วมมือจากผู้ปกครอง จนนำไปสู่แผนการฟื้นฟูภาวะความรู้ถดถอยอย่างเป็นระบบทั้งโรงเรียน ในทุกระดับชั้น ในวิชาภาษาไทย คณิตศาสตร์ และ สุขภาวะ ผ่านการเรียนการสอนในห้องเรียนและกิจกรรมชุมนุมเป็นฐาน
โดยทีมภาคีเครือข่ายที่เข้าไปเยี่ยมชมสามารถสัมผัสได้ถึงความสุข และ ความกระตือรือร้นของเด็กๆ ในโรงเรียนได้เป็นอย่างดี โดยในอนาคตสามารถนำไปสู่การสร้างโรงเรียนต้นแบบในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร และขยายผลไปยังทั่วประเทศต่อไป
ข่าวที่เปิดอ่านมากที่สุด
โรงเรียนปลาดาวได้รับการเสนอชื่อเป็นผู้เข้ารอบสุดท้ายรางวัลโรงเรียนยอดเยี่ยมด้านนวัตกรรมระดับโลก World’s Best School Prizes for Innovation โดยเป็นผู้นำในการบุกเบิกการศึกษาเพื่อความเท่าเทียมสำหรับทุกคน
28.10.24
จัดอย่างยิ่งใหญ่! FutureEd Fest 2024 งานเทศกาลการศึกษา มุ่งสร้างอนาคตการเรียนรู้
07.10.24
Starfish Education ร่วมงาน didacta asia 2024 และ didacta asia congress เสนอนวัตกรรมการศึกษาสำหรับอนาคต
21.10.24
CEO Starfish Education ร่วมเวทีการประชุมนานาชาติ didacta asia 2024: Ministerial Panel on "Southeast Asia Education Policies"
17.10.24
Starfish Education เสนอแนวคิดนวัตกรรมการศึกษาต่อกระทรวงศึกษาธิการ
16.10.24
คุรุสภา ไฟเขียว ร่างประกาศยกเว้นใบอนุญาตครูชั่วคราว ขับเคลื่อนมาตรฐานการผลิตครู
02.11.24