Inquiry-based Learning ปลุกความสงสัย จุดไฟการเรียนรู้ตลอดชีวิต
เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2566 ที่ผ่านมา ดร.นรรธพร จันทร์เฉลี่ย เสริบุตร CEO, Starfish Education ได้รับเชิญเป็นวิทยากรในงานสัมมนาวิชาการ Inquiry-based Learning ปลุกความสงสัยจุดไฟการเรียนรู้ตลอดชีวิตในหัวข้อ “สร้างระบบนิเวศการเรียนรู้แบบสืบเสาะบ่มเพาะการคิดเชิงวิพากษ์ในสังคมไทย” เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Learning Festival จัดขึ้นโดย TK Park อุทยานการเรียนรู้
ความสงสัย (Curiosity) จึงเป็นพื้นฐานของความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) แต่การเรียนการสอนในปัจจุบันนี้เปิดโอกาสให้ผู้เรียนตั้งคำถามและค้นหาคำตอบมากน้อยแค่ไหนและเพราะเหตุใดนักการศึกษาจึงมองว่า ‘การคิดเชิงวิพากษ์’ กระบวนการที่เกิดขึ้นเพื่อค้นหาคำตอบกลับเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ความสามารถในการแข่งขันด้านการศึกษาของไทยลดลงอย่างน่าใจหาย
งานสัมมนา ‘Inquiry-based Learning ปลุกความสงสัยจุดไฟการเรียนรู้ตลอดชีวิต’ จึงเกิดขึ้นเพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการเรียนรู้แบบสืบเสาะ (Inquiry-based Learning) รวมถึงกระบวนการที่เกี่ยวข้อง เช่น การสร้างข้อโต้แย้งด้วยเหตุผล (Argumentation) การคิดเชิงวิพากษ์ (Critical Thinking) และรวบรวมข้อเสนอแนะจากองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชนในการผลักดันให้เกิดระบบนิเวศที่เอื้อต่อการสงสัยตั้งคำถามและสืบค้นหาคำตอบรวมถึงส่งเสริมให้เกิดทัศนคติใฝ่รู้อันเป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ตลอดชีวิต
งานสัมมนาเปิดประเด็นด้วยบรรยายพิเศษโดยผู้อำนวยการเครือข่ายการศึกษาแบบสืบเสาะและการศึกษาพื้นถิ่น (NOIIE) ประเทศแคนาดาที่มีหลากหลายวิธีในการส่งเสริม Inquiry-based Learning และเชิญบุคลากรด้านการศึกษาไทยมาร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์รวมถึงข้อเสนอแนะในการส่งเสริมระบบนิเวศการเรียนรู้ที่เกิดจากการตั้งคำถาม (Inquisitive Environment) ที่จะนำไปสู่การจัดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพทั้งในและนอกระบบต่อไป
ในส่วนของงานสัมมนา “สร้างระบบนิเวศการเรียนรู้แบบสืบเสาะบ่มเพาะการคิดเชิงวิพากษ์ในสังคมไทย” ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ จากหลายภาคส่วนพร้อมใจกันเปิดประเด็นคำถามทำอย่างไรให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่กระตุ้นให้คนกล้าสงสัย?ทำอย่างไรให้มีพื้นที่เรียนรู้เพื่อสืบค้นและถกเถียงหาคำตอบ? ทำอย่างไรให้สังคมไทยขยายเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างหลากหลาย?
ดร.นรรธพร จันทร์เฉลี่ย เสริบุตร CEO, Starfish Education ได้ร่วมแบ่งปันถึงวิธีการที่ทำให้เด็กมีความสงสัยตั้งคำถามเป็นและรู้จักที่จะใช้เหตุผลผ่านการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ 5 ขั้นตอน STEAM Design Process เริ่มต้นด้วยการตั้งคำถามเป็นการถามเพื่อให้เด็กๆ ผู้เรียนได้มีความสงสัยว่าทำไมต้องทำเพื่อสร้างความหมายให้กับผู้เรียนและได้แนะนำวิธีการเรียนรู้ใน Makerspace ที่เด็กสามารถเลือกในสิ่งที่อยากจะทำผ่านกระบวนการ STEAM Design Process เป็นกิจกรรมร่วมกับการเรียนรู้แบบ PBL ที่ทาง Starfish Education ใช้ในการจัดการเรียนรู้ร่วมกัน ด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบ Edicra ที่เป็นการเรียนรู้ในระยะยาวโดยให้เด็กเป็นผู้กำกับการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านเครื่องมือวัดและประเมินผลตามสภาพจริงด้วย Starfish Class เพื่อช่วยครู ผู้สอนในการประเมินตามสมรรถนะของผู้เรียนโดยทั้งหมดเป็นตัวอย่าง Framework ที่ทาง Starfish ได้นำมาใช้ในการสร้างให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความหมาย (Meaningful Education) เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกวันนี้และพรุ่งนี้
ข่าวที่เปิดอ่านมากที่สุด
โรงเรียนปลาดาวได้รับการเสนอชื่อเป็นผู้เข้ารอบสุดท้ายรางวัลโรงเรียนยอดเยี่ยมด้านนวัตกรรมระดับโลก World’s Best School Prizes for Innovation โดยเป็นผู้นำในการบุกเบิกการศึกษาเพื่อความเท่าเทียมสำหรับทุกคน
28.10.24
จัดอย่างยิ่งใหญ่! FutureEd Fest 2024 งานเทศกาลการศึกษา มุ่งสร้างอนาคตการเรียนรู้
07.10.24
Starfish Education ร่วมงาน didacta asia 2024 และ didacta asia congress เสนอนวัตกรรมการศึกษาสำหรับอนาคต
21.10.24
CEO Starfish Education ร่วมเวทีการประชุมนานาชาติ didacta asia 2024: Ministerial Panel on "Southeast Asia Education Policies"
17.10.24
Starfish Education เสนอแนวคิดนวัตกรรมการศึกษาต่อกระทรวงศึกษาธิการ
16.10.24
คุรุสภา ไฟเขียว ร่างประกาศยกเว้นใบอนุญาตครูชั่วคราว ขับเคลื่อนมาตรฐานการผลิตครู
02.11.24