กพฐ.เผยแห่สมัครสอบครูผู้ช่วย ทะลุหลักแสน ตำแหน่งว่าง 7,814 อัตรา
นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ประจำปี 2566 ข้อมูลเบื้องต้น มีผู้สมัครอยู่ที่ 171,954 คน ใน 205 เขตพื้นที่ฯ อัตราว่างที่สามารถบรรจุแต่งตั้งได้จำนวน 7,813 อัตรา
กลุ่มวิชา หรือทาง หรือสาขาวิชาเอก ที่มีผู้สมัครมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ ปฐมวัย/การศึกษาปฐมวัย/อนุบาลศึกษา 21,530 คน สังคมศึกษา 19,771 คน ภาษาอังกฤษ 16,698 คน คณิตศาสตร์ 16,108 คน และพลศึกษา 15,741 คน ส่วนกลุ่มสาขา หรือทาง หรือสาขาวิชาเอก ที่ไม่มีผู้สมัคร คือ อรรถบำบัด และภาษาอังกฤษธุรกิจ
เลขาธิการ กพฐ. กล่าวต่อไปว่า ส่วนประเด็นการออกข้อสอบที่อยากให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้นนั้น โดยเรื่องการออกข้อสอบ สพฐ. ได้มอบหมายให้ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ร่วมกับมหาวิทยาลัยในท้องถิ่น ไปกำหนดว่าจะออกข้อสอบอย่างไร ซึ่งในที่สุดเนื้อหาข้อสอบจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เป็นผู้กำหนด ส่วนความยากง่ายก็เชื่อว่าจะมีความยืดหยุ่นให้แน่นอน เนื่องจาก สพฐ. มีความคาดหวังว่าวันนี้นักศึกษาครูที่จบการศึกษาทุกคนพร้อมจะเป็นครู แต่ใครจะได้เป็นก่อนหรือเป็นหลัง ก็ถือว่ามีบททดสอบจากสนามสอบครูผู้ช่วยในครั้งนี้เป็นตัวกำหนด ซึ่งเราก็อยากให้ครูผู้สมัครสอบทุกคนสอบได้ทั้งหมด
ภาพรวมการรับสมัครเป็นไปด้วยความเรียบร้อย แต่พบปัญหาในประเด็นต่างๆ เช่น
1. ตัวผู้สมัครไม่มีความพร้อมเรื่องเอกสาร เช่น มหาวิทยาลัยออกใบรับรองการจบการศึกษาล่าช้า ทำให้ไม่สามารถไปขอหลักฐานที่คุรุสภาออกให้สำหรับปฏิบัติหน้าที่สอน เพื่อใช้สมัครสอบได้ทัน ใบรับรองแพทย์มีปัญหา บางคนไม่ยอมให้ตรวจปัสสาวะซึ่งเมื่อมาถึงเขตฯ ก็ต้องให้ไปตรวจเพื่อขอรับใบรับรองแพทย์ใหม่ ทำให้การสมัครเกิดความล่าช้า หรือบางรายก็ไม่ยอมตรวจเลย
2. ปัญหาจากระบบการรับสมัคร ซึ่งกำหนด คำว่ากลุ่มวิชาเอก หรือทาง หรือสาขาวิชาเอก ไว้ ทำให้บางเขตพื้นที่ฯ ที่เปิดรับสมัครมีการตีความที่แตกต่างกัน เช่น กลุ่มวิชาคอมพิวเตอร์ บางเขตพื้นที่ฯ ตีความว่า ต้องจบสาขาวิชาเอกคอมพิวเตอร์โดยตรง ขณะที่บางมหาวิทยาลัยสอนคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ทำให้ขาดคุณสมบัติในการสมัคร เป็นต้น ขณะที่บางสาขาวิชาเอก ได้รับการรับรองจาก สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ล่าช้า ทำให้สมัครเกือบไม่ทันวันสุดท้าย
ที่สำคัญ สพฐ.ได้วางมาตรการป้องกันการทุจริตอย่างเข้มข้น โดยห้ามมิให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) รองผู้อำนวยการสพท. ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ในสังกัด เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องหรือกระทำการใดๆ ที่มีเจตนาเป็นการกวดวิชา จัดทำเอกสาร จำหน่าย แจก หรือกระบวนการอื่นใดที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้เข้าสอบโดยเด็ดขาด สอดส่อง กำกับดูแล ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ในสังกัด และเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ เกี่ยวกับการป้องกันการทุจริต รวมทั้งป้องกันมิให้มีการแสวงหาประโยชน์จากการสอบ ขณะเดียวกัน ยังมีการกำหนดบุคคลในทางลับ เพื่อตรวจสอบติดตาม บุคคลที่มีพฤติกรรมส่อไปในทางทุจริต และมิให้แต่งตั้งเป็นกรรมการที่เกี่ยวกับการสอบครั้งนี้ด้วย"
ทั้งนี้ สพฐ. จะประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบภาค ก ความรู้ความสามารถทั่วไป และ ภาค ข มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ ภายในวันที่ 13 มิถุนายน สอบข้อเขียน ภาค ก วันที่ 24 มิถุนายน ภาค ข วันที่ 25 มิถุนายน ประกาศรายชื่อผู้สอบผ่านภาค ก และ ข ภายในวันที่ 3 กรกฎาคม 2566 ส่วนการ สอบภาค ค จะประเมินจากการสัมภาษณ์ แฟ้มสะสมงาน และการนำเสนอที่แสดงถึงทักษะและศักยภาพด้านการเรียนการสอน ตามวันและเวลาที่ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ หรือ อ.ก.ค.ศ.สศศ.กำหนด ทั้งนี้จะกำหนดให้แล้วเสร็จภายในเดือนกรกฎาคม 2566
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : www.focusnews.in.th/21613
ข่าวที่เปิดอ่านมากที่สุด
สพฐ. ร่วมกับ Starfish Education เปิดตัว การเรียนรู้แห่งอนาคต สร้างทักษะอนาคตเยาวชน Future Youth Thailand Building future skills Anywhere, Anytime
12.12.24
โรงเรียนปลาดาวต้อนรับคณะสำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เยี่ยมชมและแลกเปลี่ยนแนวทางการพัฒนาการศึกษา
20.12.24
มูลนิธิสตาร์ฟิชเอ็ดดูเคชั่น เข้าพบท่านองคมนตรี รายงานผลการดำเนินงานของมูลนิธิฯ และรางวัล World best school ของโรงเรียนปลาดาว
07.12.24
Starfish Education เข้าร่วมแลกเปลี่ยนการประชุมเพื่อเก็บข้อมูลตามมิติพลังอำนาจของชาติ ด้านสังคมจิตวิทยา การขับเคลื่อนนโยบายด้านการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา
16.12.24