กพฐ.ปรับลดตัวชี้วัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตามหลักสูตรแกนกลาง พ.ศ.2551
การประชุมคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา ปรับตัวชี้วัดการศึกษาขั้นพื้นฐานหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 จาก 2,056 ตัวชี้วัด ลดเหลือ 771 ตัวชี้วัด และให้ความสำคัญกับกิจกรรมการจัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะ มากกว่าความจำ
โดยคณะอนุกรรมการด้านคุณภาพและเทคโนโลยี เพื่อการเรียนรู้ใน กพฐ. และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา ดำเนินการตามมติ กพฐ. จัดกลุ่มตัวชี้วัด ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 ได้ดังนี้
1) จำนวนตัวชี้วัดทั้งสิ้น 2,056 ตัวชี้วัด สามารถจำแนกเป็นตัวชี้วัดระหว่างทาง 1,285 ตัวชี้วัด และตัวชี้วัดปลายทาง 771 ตัวชี้วัด ทั้งนี้ จำนวนตัวชี้วัดยังคงครบถ้วน และผู้เรียนมีคุณภาพตามที่หลักสูตรแกนกลางฯ กำหนด
2) ตัวชี้วัดปลายทางเป็นตัวชี้วัดผลลัพธ์สุดท้ายที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน ส่วนตัวชี้วัดระหว่างทางเป็นตัวชี้วัดระหว่างการจัดการเรียนรู้
3) จำนวนตัวชี้วัดในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้จะมีมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับธรรมชาติของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้
4) ตัวชี้วัดในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้สามารถอธิบายภาพความสำเร็จของผู้เรียนได้ โดยไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนของตัวชี้วัด
แนวทางในการนำตัวชี้วัดปลายทางไปใช้
1. สพฐ. กำหนดแนวทางในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยใช้ตัวชี้วัดปลายทางในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้และแต่ละระดับชั้น
2. ครูประเมินเพื่อตัดสินผลการเรียนรู้ โดย ใช้ตัวชี้วัดปลายทาง 771 ตัวชี้วัด
3. ตัวชี้วัดที่เหลือซึ่งถือเป็นตัวชี้วัดระหว่างทาง ให้ครูใช้ในการออกแบบการจัดการเรียนการสอน โดยอาจมีการประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียนเป็นหลัก แต่ไม่ต้องนำไปรวมเพื่อตัดสินผลการเรียนรู้
4. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้นั้นจะใช้มโนทัศน์ของการประเมินเพื่อพัฒนา (Assessment for Learning) เป็นหลัก โดยเน้นการให้ผลป้อนกลับที่มีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาผู้เรียนที่มากพอ (Constructive Feedback) โดยใช้วิธีการประเมินที่หลากหลาย ทั้งที่เป็นทางการ และไม่เป็นทางการ
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : www.sobkroo.com/articledetail.asp?id=13546
ข่าวที่เปิดอ่านมากที่สุด
“วัยรุ่นเจนใหม่ คิดเจ๋ง ไอเดียเปลี่ยนโลก!” ส่งนวัตกรรมสู้วิกฤต (SDG) เปลี่ยนอนาคต!
21.01.25
คุณโยโกะ เตรูย่า ร่วมเป็นคณะกรรมการตัดสินการแข่งขัน OEC Hackathon: เรียนดี มีความสุข ชุมชนยั่งยืน - เสริมสร้างทักษะเพื่ออนาคต
10.02.25
“ระเบิดไอเดีย! 30 ทีมเยาวชนไทย ผ่านเข้ารอบ Pitching [Future Youth Thailand] เตรียมโชว์นวัตกรรมการเรียนรู้สุดล้ำ เปลี่ยนอนาคตการศึกษาไทย!”
20.02.25
ศธ. เข้ม! ผิดวินัยร้ายแรง โดนโทษจริงจัง! พอใจ TRS ทะลุ 1.5 หมื่น เดินหน้าพัฒนา PISA พร้อมสั่งโรงเรียนพิจารณาปิด-เปิด ช่วง PM 2.5
27.01.25