เทคนิคการสร้างสื่อนวัตกรรม “นิทาน” เพื่อใช้ในการจัดการเรียนรู้ (นิทานสร้างได้)
หนังสือนิทาน ถือเป็นวรรณกรรมสำหรับเด็กที่ได้รับความนิยมมากที่สุด จัดเป็นหนังสือเสริมประสบการณ์ ประเภทหนังสืออ่านเพิ่มเติม (Supplementary Reader) คือ หนังสือที่มีสาระอิงหลักสูตร สำหรับให้นักเรียนอ่านเพื่อศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมด้วยตนเอง ตามความเหมาะสมของวัย และความสามารถในการอ่านของแต่ละบุคคล (ระพีพรรณ พัฒนาเวช, 2553) กล่าวว่า หนังสือนิทานสำหรับเด็ก เป็นสื่อหรือนวัตกรรมที่มีความสำคัญที่จะช่วยพัฒนาการด้านการอ่านสำหรับเด็ก ส่งผลให้เด็กเกิดการเรียนรู้คำ และความหมายใหม่ ๆ สำหรับผู้ที่จะทำหนังสือนิทานเพื่อเป็นสื่อในการจัดการเรียนการสอนนั้น ต้องคำนึงถึงระดับการศึกษา เนื้อหา เนื้อเรื่อง เพื่อนำมาบูรณาการใหม่ให้เหมาะสมกับพัฒนาการ ดังนั้นการสร้างหนังสือนิทานสำหรับเด็ก เพื่อใช้อ่านเพิ่มเติม เสริมความรู้ จะต้องใช้เทคนิคที่สามารถดึงดูดความสนใจให้ผู้เรียนอยากดู อยากอ่าน หรืออยากศึกษาค้นคว้า ได้แก่
1) การคำนึงถึงหลักจิตวิทยาหรือความสนใจของเด็กแต่ละช่วงวัย เช่น เด็กวัย 6 - 8 ขวบ ชอบนิทาน นิยาย หรือเรื่องราวในชีวิตประจำวัน ชอบหนังสือที่มีภาพประกอบเนื้อเรื่องไม่ยาวเกินไป หรือเด็กวัย 8 - 10 ขวบ ชอบนิทานสัตว์ ชอบผจญภัย ชอบเรื่องภายในบ้าน ในโรงเรียน หนังสื่อมีเรื่องราวได้มากขึ้นลดปริมาณภาพและความฉูดฉาดของสีลงได้ ฯลฯ
2) จุดมุ่งหมายในการสร้างหนังสือนิทานสำหรับเด็ก
3) ลักษณะของหนังสือนิทานสำหรับเด็กในด้านเนื้อหา ควรเหมาะสมกับวัยและความสนใจของเด็ก สนุกสนานไม่เน้นบรรยายมากเกินไป มีแก่นเรื่องชัดเจน เนื้อหาเข้าใจง่ายไม่วกวน รูปแบบการนำเสนอชัดเจน ด้านสำนวนภาษา ใช้ภาษาง่าย ๆ ประโยคครบถ้วน สื่อความโดยตรงไม่ต้องผ่านการตีความ ควรเขียนคำ หรือประโยคให้ถูกต้องตามหลักภาษา ด้านภาพประกอบ สามารถเลือกใช้ได้หลากหลายตามความชำนาญของผู้จัดทำ เช่น ภาพวาด ภาพถ่าย ฯ การใช้ภาพประกอบ จะต้องคำนึงถึงพัฒนาการของเด็ก เช่น เด็กวัยก่อนเรียน (2 – 6 ขวบ) ควรใช้ภาพประกอบมาก ตัวหนังสือน้อย ด้านขนาดตัวอักษร ควรใช้ให้เหมาะสมกับวัยและด้านขนาดของรูปเล่ม ควรมีขนาดและจำนวนหน้าที่เหมาะสม เป็นต้น
Starfish Academy
ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ Workshop
การทำนิทาน
ได้รู้เกี่ยวหนังสือที่เหมาะสมแต่ละวัย