สร้างผู้เรียนอย่างไรให้เกิด 3 สนุก ได้แก่สนุกเรียน สนุกคิด และสนุกเมื่อได้ออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน
แนวทางในการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนให้ สนุกเรียน สนุกคิด และสนุกกับการนำเสนอ คุณครูคงเคยสังเกตพฤติกรรมของเด็กนักเรียนในห้องเรียน บางคนขยัน บางคนขี้เกียจ บางคนยิ้ม บางคนเศร้า บางคนกระฉับกระเฉง บางคนเชื่องช้า บางคนไม่ใส่ใจในการเรียน บางคนสนใจในการเรียน บางคนเงียบ บางคน พูดมาก บางคนอยากแสดงออก บางคนชอบเก็บตัว บางคนชอบก้มหน้า ไม่กล้าสบตา และไม่กล้าแม้แต่จะสงสัย เพื่อหาแนวทางสร้าง “ระบบนิเวศการเรียนรู้ในห้องเรียน” มาลองฟังเสียงของผู้เรียนให้ มากขึ้น และมาฟังเสียงที่ไม่มีเสียง มาร่วมกันสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างครูกับนักเรียน ระหว่างนักเรียนกับนักเรียน สร้างการเรียนรู้แบบกลุ่ม (เพื่อนช่วยเพื่อน) ใช้แนวคิดจากกลุ่มเป็นปัจจัยในการผลักดัน ผ่านการคิดวิเคราะห์ การพูดคุยและการนำเสนอคำตอบที่หลากหลาย เป็นคำตอบที่ไม่เน้นถูกผิดแต่เพียงอย่างเดียว แต่เน้นการคิดที่หลากหลายโดยมีการใช้เหตุและผล ปรับมุมมองใหม่ คำตอบไม่ใช่ของนักเรียนคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นมติของกลุ่มที่ได้ผ่านการอภิปรายถกเถียง จากความคิดเห็นของสมาชิกทุกคน ถูกหรือผิดจึงเป็นความรับผิดชอบของกลุ่ม ไม่ใช่ของคนที่มานำเสนอคำตอบ (ภายในกลุ่มจะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันมานำเสนอโดยผ่านการตั้งคำถามของครูทีละคำถาม) จึงเป็นห้องเรียน ที่ไม่ทิ้งนักเรียนคนใดไว้ข้างหลัง และเป็นปัจจัยที่นำไปสู่ “การสร้างผู้เรียนให้เกิด 3 สนุก ได้แก่สนุกเรียน สนุกคิด และสนุกเมื่อได้ออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน”
Starfish Academy
ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ Workshop
นำไปปรับใช้ในการจัดการเรียนการสอน
คนที่เก่ง ไม่ใช่คนที่เรียนได้เกรดสูง
ได้รับเทคนิคการสอนบางอย่างที่ไม่เคยได้ใช้ในห้องเรียน อย่างเช่น การให้การบ้านนักเรียน
นำไปใช้และปรับปรุงการเรียยการสอน