ปลุกพลังนวัตกรรุ่นใหม่ สร้างสังคมเมืองปลอดภัยและมีสุข สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้
Prince
1 เดือนที่แล้ว
น้องๆ เรียงลำดับการวางแผนการแก้ไขปัญหาในชุมชนอย่างไรให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
7 ชอบ
58 ตอบกลับ
3,170 ดู
นุ่มนวล_UDVC
1 เดือนที่แล้ว
การลดการสร้างขยะ โดยเริ่มต้นลดขยะที่เกิดจากการใช้ชีวิตประจำวันลง และหนึ่งในแนวคิด ในการลดปริมาณขยะ ที่ทุกคนสามารทำได้ง่ายๆ คือ ลดขยะตามแนวคิด 3R (Reduce Reuse and Recycle: 3Rs)
การลดขยะ ด้วยแนวคิด 3R
3R เป็นแนวคิดและแนวทางในการปฏิบัติเพื่อการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า สามารถช่วยลดปริมาณขยะให้น้อยลง ด้วยการลดการใช้ การนำกลับมาใช้ซ้ำ และการนำขยะกลับมาใช้ใหม่ (Reduce Reuse and Recycle: 3Rs) โดยเริ่มต้นที่การใช้ให้น้อยลง ลดการใช้วัสดุ ผลิตภัณฑ์ ที่ก่อให้เกิดขยะเพื่อลดปริมาณขยะที่เกิดขึ้น (Reduce) การนำวัสดุ ผลิตภัณฑ์ที่ยังสามารถใช้งานได้ กลับมาใช้ซ้ำ (Reuse) และการนำวัสดุ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานแล้วมาแปรรูป เพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ หรือ รีไซเคิล (Recycle)
1. Reduce – ลดการใช้ (คิดก่อนใช้)
ลดระดับการใช้ปัจจุบัน ควบคุมปริมาณการใช้ให้อยู่ในสัดส่วนที่พอเหมาะ โดยลดการใช้ การบริโภคทรัพยากรที่ไม่จำเป็นลง เพราะการลดการบริโภคของเรา จะช่วยให้เราลดปริมาณขยะที่สร้างขึ้นได้ ในขั้นตอนนี้เริ่มต้นโดยการสำรวจว่าเราจะลดการบริโภคที่ไม่จำเป็นตรงไหนได้บ้าง ตัวอย่าง เช่น
ลดการสร้างขยะในที่ทำงาน
แก้ไขบนหน้าจอไม่ใช่บนกระดาษ เพื่อลดการใช้กระดาษ
ใช้อีเมลเพื่อลดการใช้กระดาษ
คิดก่อนพิมพ์หรือถ่ายสำเนา พิมพ์และทำสำเนาให้น้อยที่สุด
ส่งและจัดเก็บเอกสาร เช่น เอกสารที่จำเป็นและข้อเสนอทางธุรกิจทางอิเล็กทรอนิกส์แทนที่จะเป็นกระดาษ
เมื่อต้องพิมพ์หรือทำสำเนาให้ทำสองด้าน
หมุนเวียนเอกสารแทนการทำสำเนาเฉพาะสำหรับทุกคน
เปลี่ยนระยะขอบบนเอกสาร Word ระยะขอบเริ่มต้นของเอกสารที่พิมพ์คือ 1.25 นิ้วทุกด้าน เพียงเปลี่ยนระยะขอบเป็น 0.75 นิ้วจะช่วยลดปริมาณกระดาษที่ใช้ลงเกือบ 5 เปอร์เซ็นต์
ลดการสร้างขยะในชีวิตประจำวัน
ใช้ถุงผ้า ตระกร้า เพื่อลดการใช้ถุงพลาสติก
ใช้ผ้าเช็ดหน้าแทนการใช้กระดาษทิชชู่
ใช้ปิ่นโต หรือกล่องข้าวใส่อาหาร แทนการใส่กล่องโฟม
ใช้กระติกน้ำ หรือขวดน้ำแบบพกพา ที่สามารถ Refill ได้ แทนการซื้อน้ำดื่มที่บรรจุในขวดพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง
ปฏิเสธการรับถุงพลาสติก เมื่อซื้อของชิ้นเล็กหรือน้อยชิ้น
เลือกซื้อบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เลือกทานอาหารที่ร้านแทนการใส่กล่องกลับ
หลีกเลี่ยงใช้วัสดุสิ้นเปลืองแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง
2. Reuse – นำกลับมาใช้ซ้ำ (ใช้แล้วใช้อีก)
การใช้ซ้ำ เป็นการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุด โดยการนำสิ่งของเครื่องใช้มาใช้ซ้ำ ซึ่งบางอย่างอาจใช้ซ้ำได้หลาย ๆ ครั้ง เช่น ใช้บรรจุภัณฑ์ซ้ำหลายครั้งก่อนทิ้ง ใช้ภาชนะที่สามารถใช้ซ้ำได้ เลือกซื้อสินค้าที่สามารถใช้ซ้ำได้ ซึ่งนอกจากช่วยลดการเกิดขยะแล้ว ยังช่วยลดปริมาณการตัดต้นไม้ได้เป็นจำนวนมาก
เลือกใช้ถ่านไฟฉายแบบชาร์ตได้
ดัดแปลงของเหลือใช้เพื่อใช้ประโยชน์
เสื้อผ้าเก่านำไปบริจาค หรือถูพื้น
ซ่อมแซมอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ทิ้งเป็นขยะ
การใช้กระดาษ 2 หน้า
การนำกระดาษรายงานที่เขียนแล้ว 1 หน้า มาใช้ในหน้าที่เหลือหรืออาจนำมาทำเป็นกระดาษโน๊ต
3. Recycle – นำกลับมาใช้ใหม่
คัดแยกขยะมูลฝอยแต่ละประเภท ที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่หมุนเวียนกลับเข้าสู่กระบวนการผลิตของแต่ละประเภทได้
ขวดแก้ว กระดาษ พลาสติก โลหะ
เลือกซื้อสินค้าที่นำกลับมารีไซเคิลได้หรือที่ผลิตจากวัสดุรีไซเคิล
นำขยะอินทรีย์กลับมาใช้ประโยชน์ เช่น ทำปุ๋ยหมัก
6 ชอบ
ณัฐดนย์
17 ชั่วโมงที่แล้ว
น้องๆ เรียงลำดับการวางแผนการแก้ไขปัญหาในชุมชนอย่างไรให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
วางแผนอย่างเป็นระบบทั้ง ขั้นตอนการดำเนินงาน, วัสดุอุปกรณ์, ระยะเวลา, ความรู้ทักษะประสบการณ์, การเลือกแนวทางการแก้ปัญหา, การแบ่งบทบาทหน้าที่ และการสนับสนุนที่ต้องการเพิ่มเติม
0 ชอบ
Aomitrap
1 เดือนที่แล้ว
เรียงลำดับการวางแผนแก้ไขปัญหาในชุมชนเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
การวางแผนแก้ไขปัญหาในชุมชนเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีนั้น จำเป็นต้องมีขั้นตอนที่เป็นระบบและชัดเจน ดังนี้ครับ
1. ระบุและวิเคราะห์ปัญหา:
* สำรวจความคิดเห็น: รวบรวมข้อมูลจากสมาชิกในชุมชนทุกกลุ่ม เพื่อให้ทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจริงและความสำคัญของปัญหาแต่ละข้อ
* จัดกลุ่มปัญหา: แบ่งปัญหาออกเป็นกลุ่มตามลักษณะ เช่น ปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาสังคม ปัญหาเศรษฐกิจ
* วิเคราะห์สาเหตุ: หาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาแต่ละข้อ เพื่อหาแนวทางแก้ไขที่ตรงจุด
2. ตั้งเป้าหมาย:
* กำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน: กำหนดเป้าหมายที่วัดผลได้ เช่น ลดปริมาณขยะลง 50% ภายใน 1 ปี
* เป้าหมายต้องสอดคล้องกับความต้องการของชุมชน: เป้าหมายที่ตั้งขึ้นต้องสอดคล้องกับความต้องการและความสามารถของชุมชน
3. วางแผนดำเนินการ:
* กำหนดกิจกรรม: กำหนดกิจกรรมที่จะดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาแต่ละข้อ
* จัดสรรทรัพยากร: จัดสรรบุคลากร งบประมาณ และเวลา สำหรับแต่ละกิจกรรม
* กำหนดผู้รับผิดชอบ: กำหนดผู้รับผิดชอบแต่ละกิจกรรมให้ชัดเจน
4. ดำเนินการ:
* ปฏิบัติตามแผน: ดำเนินการตามแผนที่วางไว้
* ติดตามและประเมินผล: ติดตามความคืบหน้าของการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ และประเมินผลการดำเนินงานเป็นระยะ
5. ปรับปรุงแก้ไข:
* ปรับปรุงแผน: หากพบปัญหาหรืออุปสรรค ให้ปรับปรุงแผนดำเนินการ
* เรียนรู้จากข้อผิดพลาด: นำบทเรียนจากความผิดพลาดมาปรับปรุงการทำงานในครั้งต่อไป
ตัวอย่างกิจกรรมที่สามารถนำไปปรับใช้ได้:
* จัดกิจกรรมทำความสะอาดชุมชน: เพื่อแก้ปัญหาขยะและสิ่งสกปรก
* จัดตั้งกลุ่มอาสาสมัคร: เพื่อช่วยเหลือผู้ยากไร้และผู้สูงอายุ
* จัดอบรมให้ความรู้: เพื่อพัฒนาศักยภาพของคนในชุมชน
* ประชาสัมพันธ์: เพื่อสร้างความเข้าใจและให้ข้อมูลข่าวสารแก่คนในชุมชน
1 ชอบ
Panya
1 เดือนที่แล้ว
ลำดับการวางแผนแก้ไขปัญหาในชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ก็คือ
1.การหาสาเหตุต้นตอของปัญหานั้น
2.การกำหนดเป้าหมายที่ต้องการให้บรรลุ
3.คิดวิธีการแก้ปัญหาทั้งหมด อาจจะรมดมความคิด
4.เลือกวิธีที่ดีที่สุด
5.ปฏิบัติตามวิธีที่เลือกไว้
หากมีอะไรผิดพลาด ก็แก้ไขให้ดีขึ้นกว่าเดิม
1 ชอบ
ชนานันท์
1 เดือนที่แล้ว
น้องๆ เรียงลำดับการวางแผนการแก้ไขปัญหาในชุมชนอย่างไรให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
1 ชอบ
นางมนฑา
1 เดือนที่แล้ว
น้องๆ เรียงลำดับการวางแผนการแก้ไขปัญหาในชุมชนอย่างไรให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
1 ชอบ
พิทักษ์ไทย
1 เดือนที่แล้ว
วางแผนแก้ไขปัญหาร่วมกัน ดำเนินการตามแผนที่วางไว้ หากมีขั้นตอนใดที่ไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ก็ประชุมปรึกษาหารือเพื่อปรับเปลี่ยนวิธีการในการดำเนินงาน ร่วมกันสรุปผลที่ได้ดำเนินการ
1 ชอบ
ดลวัฒน์
25 วันที่แล้ว
1. การวิเคราะห์สถานการณ์และการเก็บข้อมูล
สำรวจแหล่งที่มาของขยะในชุมชน เช่น บ้านเรือน ร้านค้า โรงเรียน ตลาด เป็นต้น
เก็บข้อมูลปริมาณและประเภทของขยะ (ขยะอินทรีย์ ขยะรีไซเคิล ขยะอันตราย)
สำรวจปัญหาที่เกิดขึ้น เช่น การจัดเก็บขยะไม่เพียงพอ การเผาขยะ หรือการทิ้งขยะลงพื้นที่สาธารณะ
2. การสร้างความตระหนักรู้
จัดกิจกรรมหรืออบรมให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
เผยแพร่ข้อมูลผ่านสื่อชุมชน เช่น ป้ายประกาศ โซเชียลมีเดีย หรือเวทีประชาคม
ส่งเสริมความสำคัญของการมีส่วนร่วมในชุมชน เช่น การลด ละ เลิกใช้พลาสติก
3. การจัดระบบการจัดการขยะ
จัดตั้งจุดแยกขยะในพื้นที่ที่เข้าถึงง่าย และกำหนดสีหรือสัญลักษณ์สำหรับแต่ละประเภทขยะ
พัฒนาระบบการจัดเก็บขยะ เช่น กำหนดวันที่เก็บขยะแต่ละประเภท
ร่วมมือกับองค์กรภายนอก เช่น บริษัทรีไซเคิล หรือหน่วยงานท้องถิ่น
4. การส่งเสริมการลดขยะและการรีไซเคิล
สนับสนุนให้มีการใช้ถุงผ้า แก้วน้ำส่วนตัว หรือวัสดุที่ใช้ซ้ำได้
ตั้งโครงการนำขยะรีไซเคิลมาแลกสิ่งของ เช่น แต้มสะสมแลกของรางวัล
สนับสนุนการทำปุ๋ยหมักจากขยะอินทรีย์ในครัวเรือน
5. การสร้างระบบติดตามและประเมินผล
ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการจัดการขยะในชุมชน
ประเมินผลความสำเร็จ เช่น ลดปริมาณขยะในพื้นที่สาธารณะได้กี่เปอร์เซ็นต์
นำผลการประเมินมาปรับปรุงระบบและกระตุ้นการมีส่วนร่วมต่อเนื่อง
6. การสร้างความยั่งยืน
ส่งเสริมกฎหมายชุมชนหรือข้อบังคับเรื่องการจัดการขยะ
ตั้งกลุ่มผู้นำชุมชนที่ดูแลการจัดการขยะอย่างต่อเนื่อง
จัดทำโครงการระยะยาว เช่น ชุมชนปลอดขยะ (Zero Waste Community)
0 ชอบ
นพรุจ
19 วันที่แล้ว
1.ระบุปัญหา
2.วิเคราะห์ปัญหา
3.วางแผนแก้ไขปัญหา
4.ดำเนินการ
5.ปรับปรุง
0 ชอบ
เข้าร่วมชุมชนออนไลน์
แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์ เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง