สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ปลุกพลังนวัตกรรุ่นใหม่ สร้างสังคมเมืองปลอดภัยและมีสุข สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้

Prince
Prince

15 วันที่แล้ว

น้องๆ เรียงลำดับการวางแผนการแก้ไขปัญหาในชุมชนอย่างไรให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

0 ชอบ

12 ตอบกลับ

868 ดู

เพิ่มความคิดเห็น
ก็อปปี้ลิงก์
นุ่มนวล_UDVC
นุ่มนวล_UDVC

9 วันที่แล้ว

การลดการสร้างขยะ โดยเริ่มต้นลดขยะที่เกิดจากการใช้ชีวิตประจำวันลง และหนึ่งในแนวคิด ในการลดปริมาณขยะ ที่ทุกคนสามารทำได้ง่ายๆ คือ ลดขยะตามแนวคิด 3R (Reduce Reuse and Recycle: 3Rs)
การลดขยะ ด้วยแนวคิด 3R
3R เป็นแนวคิดและแนวทางในการปฏิบัติเพื่อการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า สามารถช่วยลดปริมาณขยะให้น้อยลง ด้วยการลดการใช้ การนำกลับมาใช้ซ้ำ และการนำขยะกลับมาใช้ใหม่ (Reduce Reuse and Recycle: 3Rs) โดยเริ่มต้นที่การใช้ให้น้อยลง ลดการใช้วัสดุ ผลิตภัณฑ์ ที่ก่อให้เกิดขยะเพื่อลดปริมาณขยะที่เกิดขึ้น (Reduce) การนำวัสดุ ผลิตภัณฑ์ที่ยังสามารถใช้งานได้ กลับมาใช้ซ้ำ (Reuse) และการนำวัสดุ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานแล้วมาแปรรูป เพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ หรือ รีไซเคิล (Recycle)
1. Reduce – ลดการใช้ (คิดก่อนใช้)
ลดระดับการใช้ปัจจุบัน ควบคุมปริมาณการใช้ให้อยู่ในสัดส่วนที่พอเหมาะ โดยลดการใช้ การบริโภคทรัพยากรที่ไม่จำเป็นลง เพราะการลดการบริโภคของเรา จะช่วยให้เราลดปริมาณขยะที่สร้างขึ้นได้ ในขั้นตอนนี้เริ่มต้นโดยการสำรวจว่าเราจะลดการบริโภคที่ไม่จำเป็นตรงไหนได้บ้าง ตัวอย่าง เช่น
ลดการสร้างขยะในที่ทำงาน
แก้ไขบนหน้าจอไม่ใช่บนกระดาษ เพื่อลดการใช้กระดาษ
ใช้อีเมลเพื่อลดการใช้กระดาษ
คิดก่อนพิมพ์หรือถ่ายสำเนา พิมพ์และทำสำเนาให้น้อยที่สุด
ส่งและจัดเก็บเอกสาร เช่น เอกสารที่จำเป็นและข้อเสนอทางธุรกิจทางอิเล็กทรอนิกส์แทนที่จะเป็นกระดาษ
เมื่อต้องพิมพ์หรือทำสำเนาให้ทำสองด้าน
หมุนเวียนเอกสารแทนการทำสำเนาเฉพาะสำหรับทุกคน
เปลี่ยนระยะขอบบนเอกสาร Word ระยะขอบเริ่มต้นของเอกสารที่พิมพ์คือ 1.25 นิ้วทุกด้าน เพียงเปลี่ยนระยะขอบเป็น 0.75 นิ้วจะช่วยลดปริมาณกระดาษที่ใช้ลงเกือบ 5 เปอร์เซ็นต์
ลดการสร้างขยะในชีวิตประจำวัน
ใช้ถุงผ้า ตระกร้า เพื่อลดการใช้ถุงพลาสติก
ใช้ผ้าเช็ดหน้าแทนการใช้กระดาษทิชชู่
ใช้ปิ่นโต หรือกล่องข้าวใส่อาหาร แทนการใส่กล่องโฟม
ใช้กระติกน้ำ หรือขวดน้ำแบบพกพา ที่สามารถ Refill ได้ แทนการซื้อน้ำดื่มที่บรรจุในขวดพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง
ปฏิเสธการรับถุงพลาสติก เมื่อซื้อของชิ้นเล็กหรือน้อยชิ้น
เลือกซื้อบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เลือกทานอาหารที่ร้านแทนการใส่กล่องกลับ
หลีกเลี่ยงใช้วัสดุสิ้นเปลืองแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง
2. Reuse – นำกลับมาใช้ซ้ำ (ใช้แล้วใช้อีก)
การใช้ซ้ำ เป็นการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุด โดยการนำสิ่งของเครื่องใช้มาใช้ซ้ำ ซึ่งบางอย่างอาจใช้ซ้ำได้หลาย ๆ ครั้ง เช่น ใช้บรรจุภัณฑ์ซ้ำหลายครั้งก่อนทิ้ง ใช้ภาชนะที่สามารถใช้ซ้ำได้ เลือกซื้อสินค้าที่สามารถใช้ซ้ำได้ ซึ่งนอกจากช่วยลดการเกิดขยะแล้ว ยังช่วยลดปริมาณการตัดต้นไม้ได้เป็นจำนวนมาก
เลือกใช้ถ่านไฟฉายแบบชาร์ตได้
ดัดแปลงของเหลือใช้เพื่อใช้ประโยชน์
เสื้อผ้าเก่านำไปบริจาค หรือถูพื้น
ซ่อมแซมอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ทิ้งเป็นขยะ
การใช้กระดาษ 2 หน้า
การนำกระดาษรายงานที่เขียนแล้ว 1 หน้า มาใช้ในหน้าที่เหลือหรืออาจนำมาทำเป็นกระดาษโน๊ต
3. Recycle – นำกลับมาใช้ใหม่
คัดแยกขยะมูลฝอยแต่ละประเภท ที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่หมุนเวียนกลับเข้าสู่กระบวนการผลิตของแต่ละประเภทได้
ขวดแก้ว กระดาษ พลาสติก โลหะ
เลือกซื้อสินค้าที่นำกลับมารีไซเคิลได้หรือที่ผลิตจากวัสดุรีไซเคิล
นำขยะอินทรีย์กลับมาใช้ประโยชน์ เช่น ทำปุ๋ยหมัก

1 ชอบ

วิชาธร
วิชาธร

6 วันที่แล้ว

ขยะเป็นจุดสำคัญเลยที่สร้งมีภาวะ

1 ชอบ

พิมพ์พร
พิมพ์พร

9 วันที่แล้ว

อยากรู้เรื่องการสร้างสังคม

0 ชอบ

Aomitrap
Aomitrap

9 วันที่แล้ว

เรียงลำดับการวางแผนแก้ไขปัญหาในชุมชนเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
การวางแผนแก้ไขปัญหาในชุมชนเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีนั้น จำเป็นต้องมีขั้นตอนที่เป็นระบบและชัดเจน ดังนี้ครับ
1. ระบุและวิเคราะห์ปัญหา:
* สำรวจความคิดเห็น: รวบรวมข้อมูลจากสมาชิกในชุมชนทุกกลุ่ม เพื่อให้ทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจริงและความสำคัญของปัญหาแต่ละข้อ
* จัดกลุ่มปัญหา: แบ่งปัญหาออกเป็นกลุ่มตามลักษณะ เช่น ปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาสังคม ปัญหาเศรษฐกิจ
* วิเคราะห์สาเหตุ: หาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาแต่ละข้อ เพื่อหาแนวทางแก้ไขที่ตรงจุด
2. ตั้งเป้าหมาย:
* กำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน: กำหนดเป้าหมายที่วัดผลได้ เช่น ลดปริมาณขยะลง 50% ภายใน 1 ปี
* เป้าหมายต้องสอดคล้องกับความต้องการของชุมชน: เป้าหมายที่ตั้งขึ้นต้องสอดคล้องกับความต้องการและความสามารถของชุมชน
3. วางแผนดำเนินการ:
* กำหนดกิจกรรม: กำหนดกิจกรรมที่จะดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาแต่ละข้อ
* จัดสรรทรัพยากร: จัดสรรบุคลากร งบประมาณ และเวลา สำหรับแต่ละกิจกรรม
* กำหนดผู้รับผิดชอบ: กำหนดผู้รับผิดชอบแต่ละกิจกรรมให้ชัดเจน
4. ดำเนินการ:
* ปฏิบัติตามแผน: ดำเนินการตามแผนที่วางไว้
* ติดตามและประเมินผล: ติดตามความคืบหน้าของการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ และประเมินผลการดำเนินงานเป็นระยะ
5. ปรับปรุงแก้ไข:
* ปรับปรุงแผน: หากพบปัญหาหรืออุปสรรค ให้ปรับปรุงแผนดำเนินการ
* เรียนรู้จากข้อผิดพลาด: นำบทเรียนจากความผิดพลาดมาปรับปรุงการทำงานในครั้งต่อไป
ตัวอย่างกิจกรรมที่สามารถนำไปปรับใช้ได้:
* จัดกิจกรรมทำความสะอาดชุมชน: เพื่อแก้ปัญหาขยะและสิ่งสกปรก
* จัดตั้งกลุ่มอาสาสมัคร: เพื่อช่วยเหลือผู้ยากไร้และผู้สูงอายุ
* จัดอบรมให้ความรู้: เพื่อพัฒนาศักยภาพของคนในชุมชน
* ประชาสัมพันธ์: เพื่อสร้างความเข้าใจและให้ข้อมูลข่าวสารแก่คนในชุมชน

0 ชอบ

Panya
Panya

8 วันที่แล้ว

ลำดับการวางแผนแก้ไขปัญหาในชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ก็คือ
1.การหาสาเหตุต้นตอของปัญหานั้น
2.การกำหนดเป้าหมายที่ต้องการให้บรรลุ
3.คิดวิธีการแก้ปัญหาทั้งหมด อาจจะรมดมความคิด
4.เลือกวิธีที่ดีที่สุด
5.ปฏิบัติตามวิธีที่เลือกไว้
หากมีอะไรผิดพลาด ก็แก้ไขให้ดีขึ้นกว่าเดิม

0 ชอบ

ชนานันท์
ชนานันท์

8 วันที่แล้ว

น้องๆ เรียงลำดับการวางแผนการแก้ไขปัญหาในชุมชนอย่างไรให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

0 ชอบ

น.ส. ซูฟีน่า
น.ส. ซูฟีน่า

8 วันที่แล้ว

.

0 ชอบ

นางมนฑา
นางมนฑา

8 วันที่แล้ว

น้องๆ เรียงลำดับการวางแผนการแก้ไขปัญหาในชุมชนอย่างไรให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

0 ชอบ

พิทักษ์ไทย
พิทักษ์ไทย

8 วันที่แล้ว

วางแผนแก้ไขปัญหาร่วมกัน ดำเนินการตามแผนที่วางไว้ หากมีขั้นตอนใดที่ไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ก็ประชุมปรึกษาหารือเพื่อปรับเปลี่ยนวิธีการในการดำเนินงาน ร่วมกันสรุปผลที่ได้ดำเนินการ

0 ชอบ

ณัฏฐ์
ณัฏฐ์

7 วันที่แล้ว

อยากรู้เรื่องการสร้างสังคม

0 ชอบ

สุวรินทร์
สุวรินทร์

4 วันที่แล้ว

1.กำหนดปัญหา 2.รวบรวมข้อมูล 3.แก้ปัญหา

0 ชอบ

นวนิตย์
นวนิตย์

3 วันที่แล้ว

1.กำหนดปัญหา 2.รวบรวมข้อมูล 3.แก้ปัญหา

0 ชอบ

เข้าร่วมชุมชนออนไลน์

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์ เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

หมวด