สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ปลุกพลังนวัตกรรุ่นใหม่ สร้างสังคมเมืองปลอดภัยและมีสุข สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้

Prince
Prince

1 เดือนที่แล้ว

วิธีการใดที่น้องๆ สามารถนำมาออกแบบเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในชุมชน

7 ชอบ

63 ตอบกลับ

3,175 ดู

เพิ่มความคิดเห็น
ก็อปปี้ลิงก์
นุ่มนวล_UDVC
นุ่มนวล_UDVC

1 เดือนที่แล้ว

ในเมื่อขยะคือปัญหาที่เราทุกคนล้วนมีส่วนเกี่ยวข้อง การแก้ไขปัญหานี้จึงอยู่ในมือพวกเราเช่นเดียวกัน Greenery ขอแชร์แนวคิดดีๆ เกี่ยวกับการจัดการขยะ หรือ 7R ที่จะทำให้ทุกคนลดปริมาณขยะในชีวิตประจำวันได้ง่ายๆ และมีส่วนช่วยทำให้โลกใบนี้ของเราน่าอยู่ขึ้นได้ ด้วยการลงมือทำอย่างจริงจังจนกลายเป็นนิสัยโดยไม่ต้องรีรอ
1. Refuse (ปฏิเสธถุงพลาสติกและโฟม)
จากรายงานขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) ระบุว่า ประเทศไทยมีปริมาณขยะประเภทพลาสติกและโฟมมากถึง 2.7 ล้านตัน หรือเฉลี่ย 7,000 ตันต่อวันเลยทีเดียว ซึ่งในจำนวนนี้ ไม่สามารถกำจัดด้วยวิธีฟังกลบได้ทั้งหมด เพราะพลาสติกจะใช้เวลาย่อยสลายถึง 450 ปี! แต่ขณะเดียวกัน ขยะประเภทนี้ ก็ไม่สามารถนำไปเผาทำลายได้ เพราะถุงพลาสติกมีส่วนประกอบของเม็ดปิโตรเลียม ซึ่งเมื่อระเหยไปในบรรยากาศจะสร้างสารปนเปื้อนในดินและน้ำ ฉะนั้นแล้ว ทางที่ดีคือเลือกปฏิเสธแล้วหันมาใช้ถุงผ้า กล่องข้าวที่ผลิตจากวัสดุธรรมชาติ ไปจนถึงภาชนะใช้ซ้ำต่างๆ อย่างหลอด ขวดน้ำ ช้อนส้อม ตะเกียบ นอกจากลดขยะ ลดพลาสติก ไปจนถึงโฟมได้แล้ว เรายังช่วยลดมลพิษทางอากาศได้ด้วย!
2. Recycle (แยกขยะให้เป็นนิสัย)
ทุกคนคงเคยเห็นถังขยะหลากหลายสีมาตั้งแต่เด็ก แต่รู้หรือไม่ว่า นอกจากการแยกขยะให้เป็นนิสัยจะช่วยให้กำจัดขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นแล้ว มันยังช่วยลดค่าใช้จ่ายที่ใช้ในกระบวนการกำจัดขยะอีกด้วย! เพราะแต่ละวัน เจ้าหน้าที่ต้องเก็บขยะวันละมากกว่า 9,000 ตัน ซึ่งใช้งบประมาณมากกว่า 2,000 ล้านบาทต่อปี หรือคิดเป็นค่าจ้างฝังกลบขยะตันละมากกว่า 100 บาท ซึ่งการแยกขยะ และทิ้งขยะลงถังตามสี คือ ทิ้งเศษอาหาร กากของผัก ผลไม้ ในถังสีเขียว ทิ้งแก้ว อลูมิเนียม หรือวัสดุที่สามารถรีไซเคิลได้ในถังสีเหลือง และทิ้งขยะทั่วไปที่สามารถนำไปเป็นเชื้อเพลิง ตลอดจนใช้เป็นสิ่งประดิษฐ์ เช่น กล่องนม เศษผ้า ยาง ไม้ ในถังสีน้ำเงิน เพียงเท่านี้ ทุกคนก็สามารถช่วยโลกได้ และยังเป็นการช่วยประหยัดงบประมาณของประเทศอีกทางหนึ่งด้วย!
3. Reuse (ใช้อย่างคุ้มค่า)
วิธีที่ช่วยลดขยะอย่างมีประสิทธิภาพที่สุดคือการพยายามใช้สิ่งต่างๆ รอบตัวอย่างคุ้มค่า อาจจะเริ่มจากการใช้ปากกาจนหมดด้าม เขียนดินสอจนหมดแท่ง หรือเริ่มจากการใช้กระดาษให้เต็มทั้งสองหน้าจนเป็นนิสัย แต่หากเท่านั้นยังไม่พอ และอยากก้าวล้ำไปอีกขั้น อยากชวนให้ทุกคนลองเอาของที่ไม่ใช้แล้วมาทำเป็นของใช้ หรือดัดแปลงเป็นของ D.I.Y กันดู อาจเริ่มจากอะไรง่ายๆ เช่นการทำกระถางต้นไม้จากขวดน้ำพลาสติก หรือการนำเสื้อยืดที่ไม่ใด้ใส่แล้วมาตัดเป็นถุงผ้าชอปปิ้งสุดเก๋ ซึ่งนอกจากวิธีนี้จะช่วยลดปริมาณขยะได้แล้ว ยังเป็นการฝึกความคิดสร้างสรรค์ และใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์อีกด้วย มากไปกว่านั้น ลองประดิษฐ์ของชิ้นเล็กๆ น่ารักๆ แล้วนำไปมอบให้คนรู้ใจของคุณดูสิ แล้วจะรู้ว่างาน D.I.Y ให้อะไรมากกว่าที่คิด!
4. Refill (เลือกซื้ออะไรที่เติมได้ ลดขยะจากบรรจุภัณฑ์)
งานนี้คงต้องสวมจิตวิญญาณแม่บ้านกันดูหน่อย เพราะเพียงแค่เปลี่ยนพฤติกรรมการซื้อของอุปโภคต่างๆ เช่น น้ำยาซักผ้า ผงซักฟอก น้ำยาปรับผ้านุ่ม ฯลฯ มาเป็นแบบ Refill หรือลดการซื้อของในบรรจุภัณฑ์ใหม่ ก็สามารถลดค่าใช้จ่ายในบ้านลงได้มากกว่า 30 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว นอกจากนี้ การทำแบบนี้ยังช่วยลดมลภาวะที่เกิดจากกระบวนการผลิต Packaging ในโรงงานได้ด้วย เรียกว่าทำแค่อย่างเดียว แต่ช่วยโลกได้ถึงสองต่อเลยนะ!
5. Repair (ใช้อย่างทะนุถนอม ซ่อมแซมเท่าที่ทำได้)
เคยลองสังเกตสิ่งของรอบตัวดูบ้างไหม ว่ากำลังมีอะไรที่เราใช้มันผิดวิธี หรือกำลังทำให้มันพังก่อนถึงเวลารึเปล่า โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ เช่น การเปิดแอร์ร้อนกว่าอุณหภูมิห้อง หรือการใช้ไมโครเวฟกำลังแรงอุ่นอาหารเป็นเวลานานๆ หรือใช้คอมพิวเตอร์มากกว่าวันละแปดชั่วโมง สิ่งเหล่านี้นอกจากจะทำให้เราต้องจ่ายค่าไฟมากขึ้นแล้ว ยังทำให้อุปกรณ์ต่างๆ พังเร็วขึ้นด้วย แต่หากเลี่ยงไม่ได้จริงๆ ก็ลองฝึกซ่อมอุปกรณ์ด้วยตัวเองดูบ้าง อย่างการเปลี่ยนอะไหล่ หรือต่อ เติม ปะ สิ่งต่างๆ แทนการซื้อใหม่ เพียงเท่านี้ ก็ช่วยลดปริมาณขยะได้เยอะแล้วล่ะ!
6. Reduce (ลดการใช้สิ่งต่างๆ)
ข้อนี้ทุกคนคงรู้กันดีอยู่แล้ว เพราะการบริโภค หรือใช้สิ่งต่างๆ เท่าที่จำเป็น ไม่เพียงช่วยลดปัญหาเกี่ยวกับปริมาณขยะเท่านั้น แต่ยังเป็นแนวคิด หรือวิถีการใช้ชีวิตที่นำไปสู่ความสมดุลอีกด้วย ลองเลือกซื้อผลิตภัณฑ์หรือสินค้าขนาดใหญ่ ใช้ได้นาน แทนการซื้อสินค้าที่มีขนาดเล็ก หรือมีปริมาณน้อยหลายๆ ชิ้นดูสิ ส่วนถ้าอะไรที่มีอยู่แล้ว ก็ลองห้ามใจตัวเอง ไม่ซื้อของประเภทเดียวกัน หรือแบบเดียวกันไว้ที่มาไว้ที่บ้าน นอกจากจะลดปริมาณขยะได้มากแล้ว ยังเป็นวิธีตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นที่ดีอีกด้วย!
7. Return (หมุนเวียนมาใช้ใหม่)
หลายคนอาจไม่รู้ว่า การคืนขวดน้ำอัดลม หรือบรรจุภัณฑ์ต่างๆ กลับไปสู่ผู้ผลิตนั้น นอกจากจะผ่านการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อ เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่แล้ว กระบวนการดังกล่าว ยังมีส่วนช่วยลดปัญหาเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทางทะเลด้วย เนื่องจากขวดแก้ว หรือบรรจุภัณฑ์ต่างๆ ที่เป็นแก้ว ต้องใช้ทรายแก้วเป็นวัตถุดิบหลัก โดยทั้งหมดจะถูกขุดขึ้นมาจากบริเวณรอบๆ ชายฝั่งทะเล การใช้ทรายแก้วจำนวนมาก จึงทำให้แนวดินดอนชายฝั่งทะเลถูกทำลาย และสูญเสียรูปทรงดั้งเดิม อีกทั้งถูกกัดเซาะสูงขึ้นจนเกิดเป็นปัญหาภูมิทัศน์ทางทะเลตามมา เราจึงควรแยกขวดแก้วออกจากขยะอื่นๆ และส่งคืน เพื่อกระบวนการนำกลับมาใช้ใหม่ และรักษาชายหาดที่สวยงามไปพร้อมกัน!

2 ชอบ

อัยรินทร์
อัยรินทร์

3 วันที่แล้ว

มีความรู้สุดสุดเลยค่ะ

0 ชอบ

Uyrzz
Uyrzz

3 วันที่แล้ว

ดีมากครับ

0 ชอบ

ด.ญ.ปวรรัตน์
ด.ญ.ปวรรัตน์

20 ชั่วโมงที่แล้ว

ขยะเป็นปัญหาที่ยาวนานมากทุกคนควรใช้กันคนละไม้คนละมือ

0 ชอบ

ด.ญ.ปวรรัตน์
ด.ญ.ปวรรัตน์

20 ชั่วโมงที่แล้ว

เป็นข้อความที่สะท้อนถึงปัญหาจริงๆๆ

0 ชอบ

Aomitrap
Aomitrap

1 เดือนที่แล้ว

1. การมีส่วนร่วม:
* เข้าร่วมกิจกรรมของชุมชน: เช่น การประชุมชาวบ้าน, การทำกิจกรรมอาสาสมัคร เพื่อรับรู้ข้อมูลข่าวสารและความคิดเห็นของคนในชุมชน
* เสนอความคิดเห็น: กล้าที่จะแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาของชุมชน
* ร่วมกันวางแผน: ร่วมกับคนในชุมชนวางแผนและดำเนินโครงการเพื่อพัฒนาชุมชน
2. การเรียนรู้:
* ศึกษาข้อมูล: ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในชุมชน สาเหตุ และผลกระทบ
* เรียนรู้ทักษะใหม่ๆ: เรียนรู้ทักษะที่จำเป็นในการแก้ไขปัญหา เช่น การสื่อสาร, การทำงานเป็นทีม, การคิดวิเคราะห์
* ติดตามข่าวสาร: ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับนโยบายและโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับชุมชน
3. การสร้างเครือข่าย:
* สร้างความสัมพันธ์: สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคนในชุมชนทุกกลุ่ม ทุกวัย
* ร่วมมือกับองค์กรต่างๆ: ร่วมมือกับองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรชุมชน เพื่อขอความช่วยเหลือและสนับสนุน
4. การคิดสร้างสรรค์:
* คิดนอกกรอบ: คิดหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่แตกต่างและสร้างสรรค์
* นำเทคโนโลยีมาใช้: นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชน
ตัวอย่างกิจกรรมที่น้องๆ สามารถทำได้:
* จัดกิจกรรมรณรงค์: เช่น การรณรงค์ให้คนในชุมชนช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อม, การรณรงค์ให้คนในชุมชนอ่านหนังสือ
* จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์: เช่น การทำป้ายประกาศ, การทำวิดีโอ, การเขียนบทความ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร
* จัดตั้งกลุ่มเยาวชน: จัดตั้งกลุ่มเยาวชนเพื่อทำกิจกรรมร่วมกันและพัฒนาชุมชน
สิ่งสำคัญที่น้องๆ ควรจำไว้คือ:
* การเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องปกติ: การเปลี่ยนแปลงเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต เราไม่สามารถหยุดยั้งการเปลี่ยนแปลงได้ แต่เราสามารถเรียนรู้ที่จะปรับตัวและอยู่ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงได้
* ความร่วมมือเป็นสิ่งสำคัญ: การแก้ไขปัญหาของชุมชนต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน
* ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์: การคิดริเริ่มสร้างสรรค์จะช่วยให้เราสามารถหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่แตกต่างและมีประสิทธิภาพ
คำแนะนำเพิ่มเติม:
* ปรึกษาผู้ใหญ่: ปรึกษาผู้ใหญ่ที่น่าเชื่อถือ เช่น ครู อาจารย์ ผู้ปกครอง หรือผู้นำชุมชน เพื่อขอคำแนะนำและความช่วยเหลือ
* แสวงหาความรู้เพิ่มเติม: สืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนและวิธีการแก้ไข
* อย่าท้อแท้: การเปลี่ยนแปลงอาจใช้เวลานาน แต่ถ้าเราไม่ย่อท้อและพยายามอย่างต่อเนื่อง สุดท้ายแล้วเราจะสามารถสร้างสรรค์ชุมชนที่ดีขึ้นได้

2 ชอบ

Oum
Oum

1 เดือนที่แล้ว

.

0 ชอบ

Panya
Panya

1 เดือนที่แล้ว

ในการรัลมือกับปัญหาในชุมชน
โดยเริ่มจากตัวเรา เราควรศึกษาหาความรู้ และสำรวจข้อมูล มาเป็นพื้นฐานของตนเองก่อน เมื่อตัวเราพร้อมเราก็ลงพื้นที่ไปในส่วนของการเข้าไปมีส่วนร่วมการรับมือในชุมชน อาจจะนำโดยตัวเรา หรือผู้นำชุมชนก็ได้ และสุดท้ายแน่นอนว่าชุมชม เราไม่สามารถทำคนเดียวได้ ดังนั้นเราจึงต้องเชิญชวนคนอื่นๆ เข้ามามีส่วนร่วม ช่วยกันรับมือ.

1 ชอบ

นางมนฑา
นางมนฑา

1 เดือนที่แล้ว

วิธีการใดที่น้องๆ สามารถนำมาออกแบบเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในชุมชน

0 ชอบ

ยัสนีย์
ยัสนีย์

1 เดือนที่แล้ว

.

0 ชอบ

ยัสนีย์
ยัสนีย์

1 เดือนที่แล้ว

.

0 ชอบ

ยัสนีย์
ยัสนีย์

1 เดือนที่แล้ว

..

0 ชอบ

พิทักษ์ไทย
พิทักษ์ไทย

1 เดือนที่แล้ว

การประชุมร่วมกับคนในชุมชน

0 ชอบ

ณัฏฐ์
ณัฏฐ์

1 เดือนที่แล้ว

ในการรัลมือกับปัญหาในชุมชน
โดยเริ่มจากตัวเรา เราควรศึกษาหาความรู้ และสำรวจข้อมูล มาเป็นพื้นฐานของตนเองก่อน เมื่อตัวเราพร้อมเราก็ลงพื้นที่ไปในส่วนของการเข้าไปมีส่วนร่วมการรับมือในชุมชน อาจจะนำโดยตัวเรา หรือผู้นำชุมชนก็ได้ และสุดท้ายแน่นอนว่าชุมชม เราไม่สามารถทำคนเดียวได้ ดังนั้นเราจึงต้องเชิญชวนคนอื่นๆ เข้ามามีส่วนร่วม ช่วยกันรับมือ.

0 ชอบ

วิชาธร
วิชาธร

1 เดือนที่แล้ว

รับมือการเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งสำคัญ

0 ชอบ

นายณัฐวัฒน์
นายณัฐวัฒน์

1 เดือนที่แล้ว

ระดมความคิดเห็นกับคนในชุมชน หาแทนทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน ดำเนินการแก้ไขปัญหาตามกรอบที่ได้วางแผนไว้ สรุปผบการดำเนินงาน หาส่วนที่ต้องแก้ไขปรับปรุง

0 ชอบ

สุวรินทร์
สุวรินทร์

1 เดือนที่แล้ว

การสำรวจเกี่ยวบุคคลนั้นและต้งมีการพูดคุย

0 ชอบ

นวนิตย์
นวนิตย์

1 เดือนที่แล้ว

ในการรัลมือกับปัญหาในชุมชน
โดยเริ่มจากตัวเรา เราควรศึกษาหาความรู้ และสำรวจข้อมูล มาเป็นพื้นฐานของตนเองก่อน เมื่อตัวเราพร้อมเราก็ลงพื้นที่ไปในส่วนของการเข้าไปมีส่วนร่วมการรับมือในชุมชน อาจจะนำโดยตัวเรา หรือผู้นำชุมชนก็ได้ และสุดท้ายแน่นอนว่าชุมชม เราไม่สามารถทำคนเดียวได้ ดังนั้นเราจึงต้องเชิญชวนคนอื่นๆ เข้ามามีส่วนร่วม ช่วยกันรับมือ.

1 ชอบ

ภิญญดา
ภิญญดา

30 วันที่แล้ว

ระดมความคิด

0 ชอบ

ดลวัฒน์
ดลวัฒน์

25 วันที่แล้ว

สำรวจปัญหาในชุมชน จัดลำดับความเร่งด่วนของปัญหา ระดมความคิดและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชุมชน เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ลงมือทำตามที่ออกแบบไว้ ตรวจสอบผลจากการทดลองและสะท้อนปัญหาและจุดที่ต้องการแก้ไขพัฒนาให้ดีขึ้น

0 ชอบ

เข้าร่วมชุมชนออนไลน์

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์ เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

หมวด