รศ.ดร.ธันยวิช วิเชียรพันธ์
ชื่อ “แจ๊ค” รศ.ดร. ธันยวิช วิเชียรพันธ์ ปัจจุบัน ทำงานอยู่ สำนักวิจัยและพัฒนานวัตกรรม ตำแหน่ง ผู้อำนวยการ และเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรสาขาวิชาออกแบบสื่อสาร คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี ควบคู่กับการเป็นนักวิจัย สร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณค่าหลากหลายผลงาน อาทิโครงการพัฒนาเครื่องมือเพื่อเสริมสร้างทักษะแห่งศตวรรษที่21 โครงการวิจัยพัฒนาเครื่องมือส่งเสริมและประเมินทักษะความคิดสร้างสรรค์และการคิดวิเคราะห์ในชั้นเรียน และคู่มือพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ประวัติการศึกษา จบปริญญาตรี ระดับปริญญาตรีการศึกษาศาสตร์บัณฑิตสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ระดับปริญญาโท ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาครุศาสตร์เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ระดับปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้รับทุนเพชรพระจอมเกล้า ประเภทวิชาการดีเด่น เคยทำงาน ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ โรงเรียนดรุณสิกขาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นนักออกแบบสร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรม ผู้ให้คำปรึกษา บรรยายและฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางห้องเรียนในศตวรรษที่ 21 ทั้งสถานศึกษาภาครัฐและเอกชน ทั่วประเทศ และมีความเชื่อว่าการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มุ่งเป้าส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความคิดว่าโรงเรียนเปรียบเสมือนบ้านของพวกเขาครูส่งเสริมให้ห้องเรียนเป็นพื้นที่เรียนรู้ของเด็กๆทุกคน ครูร่วมกันส่งเสริมและพัฒนาให้มีพื้นที่ซึ่งเป็นห้องเรียนเสมอภาค พื้นที่การเรียนรู้สำหรับเด็กในศตวรรษที่ 21 เน้นกิจกรรมที่สร้างทัศนคติเชิงบวก มองเห็นคุณค่าในตัวเอง กล้าฝัน กล้าเรียนรู้ กล้าลงมือทำเพื่อความเสมอภาคและเท่าเทียมกัน และมีความพร้อมในการดำรงชีวิตที่สอดคล้องกับความจริง ซึ่งวิสัยทัศน์และกรอบความคิดที่นำมาใช้ในการจัดห้องเรียนในศตวรรษที่ 21 แก่นักเรียนเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ และนวัตกรรม ได้แก่ 3R และ 4C โดย 3 R ได้แก่ Reading (การอ่าน), การเขียน(Writing) และ คณิตศาสตร์ (Arithmetic)และ4 C (Critical Thinking - การคิดวิเคราะห์, Communication- การสื่อสาร Collaboration-การร่วมมือ และ Creativityความคิดสร้างสรรค์รวมถึงทักษะชีวิตและอาชีพ และทักษะด้านสารสนเทศสื่อและเทคโนโลยีและการบริหารจัดการด้านการศึกษาแบบใหม่ และมีความเชื่อว่าผู้เรียนทุกระดับซึ่งมีความคิดสร้างสรรค์ในรูปแบบของตัวเองอยู่แล้วได้เติบโตอย่างที่ควรเป็น แต่ทำอย่างไรที่ครูผู้สอนจะรักษาจิตวิญญาณและหัวใจการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ของผู้เรียนทุกคนไว้ได้ และสิ่งเสริมสนับสนุนความคิดให้ผู้เรียนทุกคนมีความเชื่อว่าตนเองสามารถได้เรียนรู้ตลอดชีวิต