Starfish Class เครื่องมือเพื่อการประเมินสมรรถนะของผู้เรียน สำหรับห้องเรียนแบบ Active Learning
Starfish Class เป็นเครื่องมือที่ใช้เพื่อบันทึก จัดเก็บหลักฐานการเรียนรู้ของผู้เรียนในการประเมินสมรรถนะของผู้เรียน สำหรับห้องเรียนแบบ Active Learning ที่ถูกออกแบบมาเป็นผู้ช่วยของครู ในการประเมินทักษะ หรือสมรรถนะผู้เรียน และบริหารจัดการห้องเรียนแบบง่ายๆ เพื่อที่ครูจะไม่เสียเวลาในการจัดทำเอกสาร เพราะปัจจุบันคุณครูต้องใช้เวลาไม่น้อยไปกับการทำงานเอกสาร และการเขียนรายงาน ยังไม่นับรวมว่าคุณครูมีภาระงานอื่นที่ไม่ได้เกี่ยวกับการเรียนการสอน เช่น ดูแลงานธุรการและสถานที่ เข้าร่วมกิจกรรมของทางโรงเรียน เป็นต้น ภาระเหล่านี้ทำให้คุณครูจำเป็นต้องแบ่งเวลาในการเตรียมการสอนหรือการดูแลนักเรียนไปทำสิ่งอื่น ๆ ดังนั้นจึงจะเป็นการคืนคุณครูให้อยู่ในชั้นเรียนหรืออยู่กับนักเรียนมากยิ่งขึ้นเพื่อพัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพตามศักยภาพสูงสุดของนักเรียนนั่นเอง
Starfish Class เครื่องมือเพื่อการประเมินสมรรถนะของผู้เรียน สำหรับห้องเรียนแบบ Active Learning นั่นคือ ห้องเรียนในศตวรรษที่ 21 เนื่องจากในโลกปัจจุบันโลกเรามีลัษณะของ VUCA World เป็นลักษณะของความไม่แน่นอน ซับซ้อน และคลุมเครือทั้งสถานการณ์เศรษฐกิจ และการเมือง ซึ่งในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และเป็นความท้าทายของคุณครูที่ต้องทำความเข้าใจและปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของการเมืองเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน โดยต้องมีแนวทางในการจัดการศึกษาที่ต้องได้ผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของการศึกษา นั่นคือ ผู้เรียนต้องเป็นพลเมืองที่เข้มแข็งเพื่อสันติสุข เป็นผู้สามารถสร้างสรรค์นวัตกรรม เป็นผู้เรียนรู้เพื่อสร้างงานและคุณภาพชีวิตที่ดี และผู้เรียนต้องเป็นผู้ที่มีค่านิยมนั่นคือมีความเพียร มีความพอเพียงตามวิถีประชาธิปไตยในความเสมอภาคกัน
ดังนั้นห้องเรียนในศตวรรษที่ 21 ควรมีลักษณะการจัดการเรียนรู้ คือ มีการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยเน้นให้ผู้เรียนมีความสำคัญ ลดบทบาทการสอนของครูลง คือสอนให้น้อยแต่ให้นักเรียนคิดให้มากขึ้น ผู้เรียนต้องได้ลงมือทำ หรือได้ปฏิบัติจริง เพื่อเป็นการพัฒนาองค์ความรู้และสร้างสมรรถนะด้วยตัวของผู้เรียนเอง ซึ่งเราจะสามารถสร้างสมรรถนะให้กับผู้เรียน โดยใช้ความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะ ผ่านกิจกรรม Active Learning กลายเป็นผลลัพธ์หรือผลผลิตเป็น (output) โดยการกำหนดสถานการณ์หรือตัวงานเพื่อให้ผู้เรียนแสดงออกมา (Action) เป็นผลลัพธ์ขั้นสุดท้ายนั่นเอง ดังนั้นการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะจึงเป็นการจัดการเรียนการสอน ที่มีจุดประสงค์การเรียนรู้ฐานสมรรถนะเป็นเป้าหมาย คือ มุ่งเน้นการพัฒนาความสามารถของผู้เรียนในการประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ เจตคติและคุณลักษณะต่าง ๆ อย่างเป็นองค์รวม ในการปฏิบัติงาน การแก้ปัญหาและการใช้ชีวิต เป็นการเรียนการสอนที่เชื่อมโยงกับชีวิตจริง เรียนรู้เพื่อให้สามารถใช้การได้จริงในสถานการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตจริงโดยอาจจะใช้แนวทางการพัฒนาสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ผ่านการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน นั่นคือ แนวทางที่ 1 ใช้งานเดิมเสริมสมรรถนะ แนวทางที่ 2 ใช้งานเดิมต่อเติมสมรรถนะ แนวทางที่ 3 ใช้รูปแบบการเรียนรู้ สู่การพัฒนาสมรรถนะ แนวทางที่ 4 สมรรถนะเป็นฐานผสานตัวชี้วัด แนวทางที่ 5 บูรณาการผสานหลายสมรรถนะ และแนวทางที่ 6 สมรรถนะชีวิตในกิจวัตรประจำวัน
โดยอาจจะใช้การเรียนรู้เป็นกระบวนการคิดที่ใช้การทำความเข้าใจในปัญหาต่าง ๆ โดยยึดเอาผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง นำเอาความคิดสร้างสรรค์และมุมมองต่าง ๆ มาสร้างไอเดีย หรือแนวทางในการแก้ไขปัญหา นำมาทดสอบและพัฒนา เพื่อให้ได้แนวทางหรือนวัตกรรมที่ตอบโจทย์กับสถานการณ์นั้น ๆ โดยกระบวนการที่จะให้ผู้เรียนได้นำไปใช้ในการเรียนรู้ แก้ไขปัญหาต่าง ๆ นั่นคือ กระบวนการ STEAM Design Process ของมูลนิธิ Starfish ใน 5 ขั้นตอน คือ
1. Ask การตั้งคำถาม
2. Imagine จินตนาการ
3. Plan การวางแผน
4. Create ลงมือปฏิบัติ
5. Reflect & Redesign การสะท้อนความคิด
เมื่อนักเรียนสร้างองค์ความรู้ได้แล้ว จะต้องมีการประเมินผลตามสภาพจริง โดยจะต้องรู้ว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และสมรรถนะตามที่ต้องการนั่นคือ การประเมินผลจาก
1. กระบวนการต่างในการเรียนรู้
2. การปฏิบัติจริงหรือการแสดง
3. ประเมินจากความรู้
4. ประเมินจากชิ้นงาน
จึงเป็นกระบวนการค้นหาศักยภาพ หรือคุณลักษณะที่แท้จริงของผู้เรียนด้วยเครื่องมือและวิธีการวัดและประเมินที่หลากหลาย รอบด้าน ให้เกิดความคลาดเคลื่อนน้อยที่สุดนั่นเอง เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะที่กำหนดให้เป็นพื้นฐานที่นักเรียนทุกคนต้องได้รับการพัฒนาให้เป็นความสามารถติดตัวเมื่อจบการศึกษา สามารถพัฒนาให้เกิดขึ้นแก่ผู้เรียนได้ในสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ ที่หลากหลาย หรือสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาผู้เรียนให้เรียนรู้สาระต่าง ๆ ได้ดีขึ้น ตามที่ได้กําหนดสมรรถนะหลัก 6 ด้าน เพื่อเป็นเป้าหมายการพัฒนาผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ
1. การจัดการตนเอง
2. การคิดขั้นสูง
3. การสื่อสาร
4. การรวมพลังทํางานเป็นทีม
5. การเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง
6. การอยู่ร่วมกับธรรมชาติ และวิทยาการอย่างยั่งยืน
เห็นได้ว่าการเรียนรู้ เกี่ยวกับการเรียนรู้เชิงรุกในห้องเรียนและการสังเกตพฤติกรรมบ่งชี้ ซึ่งแสดงถึงสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน และแนวทางการใช้ Starfish Class เพื่อการประเมินสมรรถนะของผู้เรียนในศตวรรษที่ สอดคล้องกับผู้เรียนเพื่อนำไปสู่เป้าหมายสูงสุดคือให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสทธิภาพตามศักยภาพของตัวผู้เรียนเอง ทั้งนี้ สามารถรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ www.StarfishLabz.com
อาจารย์ธิติ ธีระเธียร
ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาครู จาก Starfish Academy
Related Courses
Micro Learning - เครื่องมือประเมินผู้เรียน
เครื่องมือครูในการประเมินผู้เรียนประกอบไปด้วย แอปพลิเคชัน 4 แอปพลิเคชัน คือ Kahoot Plicker , Quizzes , และ Cla ...
Micro Learning เครื่องมือช่วยสอนการเรียนออนไลน์
เครื่องมือช่วยครูในการเรียนออนไลน์ในคอร์สนี้ แนะนำเครื่องมือที่น่าสนใจ 3 ตัวช่วย คือ Google Earth, Line Open Chat แ ...
Micro Learning - แหล่งเครื่องมือช่วยครูจัดการชั้นเรียน
Starfish แหล่งเครื่องมือช่วยครูในจัดการชั้นเรียนที่หลากหลาย เช่น Starfish Labz, Starfish Class แบบเว็บไซต์ และแ ...
นวัตกรรม Booklet ทำอย่างไรให้ ว้าว!
วันนี้ Starfish Labz มีเคล็ดลับดีๆ ที่จะช่วยให้ครูผู้สอนได้เทคนิคการออกแบบกิจกรรมใน Booklet ให้มีความน่าสนใจ สร้างสรร ...
นวัตกรรม Booklet ทำอย่างไรให้ ว้าว!
ต้องใช้ 100 เหรียญ