Active Learning Strategies for Next Generation Learners
เทคนิคและกลยุทธ์ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning คือ การเรียนที่เน้นให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับการเรียนการสอน กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิดขั้นสูง ด้วยการวิเคราะห์ สังเคราะห์และประเมินค่า ไม่เพียงแต่ผู้เรียนเป็นแค่ผู้ฟังเท่านั้น ผู้เรียนต้องอ่าน เขียน ตั้งคำถาม และสามารถถามคำถามได้ สามารถอภิปรายร่วมกัน ที่สำคัญผู้เรียนต้องลงมือปฏิบัติจริง ดังนั้น คุณครูสามารถนำกิจกรรมการการเรียนรู้แบบ Active Learning ไปใช้เพื่อให้นักเรียนมีส่วนร่วม เพราะการเรียนรู้ในการฟังอย่างเดียวผู้เรียนอาจจะลืม เรียนรู้จากการมองเห็นผู้เรียนจะจำได้มากขึ้น แต่ถ้าเรียนรู้จากการกระทำ หรือปฏิบัติจริง ผู้เรียนจะเข้าใจได้ง่ายนั่นเอง
5 กลยุทธ์สำคัญในการสอน Active Learning Strategies for Next Generation Learners
1. Get yourself ready ครูต้องเตรียมตัวให้พร้อม นั่นคือครูต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการเรียนรู้ทั้ง 2 แบบ คือ
- 1) Active Learning (การเรียนรู้จากการกระทำ)โดยการให้นักเรียนได้คิด ได้ลงมือปฏิบัติ สื่อสารความเข้าใจอย่างถูกต้องโดยการการนำเสนอ
- 2) Passive Learning (การเรียนการสอนที่ผู้สอนแสดงฝ่ายเดียวโดยผู้เรียนนั่งนิ่งเฉย) เป็นความแตกต่างที่คุณครูต้องมีความเข้าใจ และเห็นความแตกต่างของกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งสองแบบ สามารถนำไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อนักเรียนได้มากที่สุด นั่นคือ ครูต้องมีบทบาทและทักษะ ดังนี้
บทบาทของครุยุคศตวรรษที่ 21
- เป็นผู้ฝึกสอน และผู้นำทาง
- ผู้กำหนดเป้าหมาย และนักตั้งคำถาม
- นักออกแบบการเรียนรู้
- ผู้จัดสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้
- ผู้กวดขัน หรือผู้ประกันคุณภาพ
ทักษะของครูในยุคศตวรรษที่ 21
- สร้าง และบูรณาการความรู้ได้
- มีความคิดวิเคราะห์ และสร้างสรรค์
- มีวิสัยทัศน์ และตกผลึกทางความคิด
- รู้ และเข้าเทคโนโลยีใหม่ๆ
- มีทักษะ และเทคนิคการสอนให้ผู้เรียนเติบโตเต็มตามศักยภาพ และสร้างผลงานใหม่ๆได้
- เข้มแข็งในจรรยาบรรณ คุณธรรม จริยธรรม
- มีภาวะผู้นำในด้านการสอนและในวิชาชีพ
2. Understand Your student ต้องเข้าใจนักเรียน เปิดใจ ยอมรับความแตกต่างของผู้เรียน และคุณครูจะต้องรู้จักนักเรียนเป็นอย่างดี สนับสนุนให้นักเรียนช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีกิจกรรมการทำงานร่วมกัน เช่นงานกลุ่ม งานจับคู่ เป็นต้น ที่สำคัญจะต้องเข้าใจถึงทักษะผู้เรียนแห่งอนาคต คือ ทักษะที่จำเป็นในยุคศตวรรษที่ 21 (4C)
- 1) Creativity & Innovation ความคิดสร้างสรรค์
- 2) Critical Thinking & Problem Solving ความคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหา
- 3) Communication การสื่อสาร
- 4) Collaboration การทำงานร่วมกับผู้อื่น
3. Create safe spaces in your classrooms สร้างพื้นที่ปลอดภัยภายในห้องเรียน เป็นโซนหรือสภาวะที่คุณคุ้นเคย รู้สึกสบาย และรู้สึกปลอดภัย เป็นโซนที่ผู้เรียนคุ้นเคยและรู้ดีว่าทำอะไรแล้วจะได้อะไร นักเรียนจึงไม่จำเป็นต้องปรับตัวอะไรในโซนสบายนี้ และเรียนรู้อย่างสบายใจและมีความสุข การจัดการเรียนการสอนที่หลากหลายเหมาะสมกับความรู้พื้นฐานของนักเรียน โดยครูทำหน้าที่เป็นผู้สนับสนุนอุปกรณ์ และจัดประสบการณ์ให้แก่นักเรียน สนับสนุนการแก้ไขปัญหา และสร้างแรงจูงใจให้แก่นักเรียน
4. Facilitate active Learning for your student ครูต้องเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้นักเรียนได้ฝึกทักษะต่างๆที่จำเป็นเพื่อให้เชื่อมโยงกับทักษะในศตวรรษที่ 21 คือ
- 1) การฝึกตั้งคำถาม การพูดแสดงความคิดเห็น การนำเสนองาน หรือการทำคลิปวิดิโอ
- 2) การทำงานเป็นคู่ หรืองานกลุ่ม การทำโครงงาน และการนำเสนอผลงาน
- 3) STEM การฝึกแก้ปัญหา หารคิดคำนวณ และห้องเรียนแบบย้อนกลับ (Flipped classroom)
- 4) การสร้างสรรค์ชิ้นงานใหม่ๆ หรือการสร้างสรรค์ชิ้นงานที่มีอยู่แล้วให้เกิดเป็นสิ่งใหม่
- 5) การพานักเรียนไปทัศนศึกษา การโต้วาที หรือการอภิปราย
5. Provide your students effective feedback and listen to feedback from them ให้ข้อเสนอแนะที่มีประสิทธิภาพแก่นักเรียน ครูต้องยอมรับและรับฟังความคิดเห็นจากพวกเขา หลังจาก Feedback มีการติดตามผล และหากมีการพัฒนาในทางที่ดีขึ้น ควรชื่นชมและให้คุณค่ากับการเสนอความคิดเห็นของนักเรียน
เห็นได้ว่า สิ่งสำคัญที่ทำให้การช่วยเหลือนักเรียนประสบความสำเร็จ นอกจากความร่วมมือของทุกฝ่ายที่สนับสนุน ส่งเสริมให้ความสำคัญ และตระหนักในเรื่องของการใช้เทคนิค และกลยุทธ์ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อกระตุ้นส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิดขั้นสูงได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง ทั้งนี้ สามารถรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ www.StarfishLabz.com
Related Courses
Social and cultural awareness classroom
ห้องเรียนความตระหนักรู้ทางสังคมและวัฒนธรรม เป็นการออกแบบการเรียนรู้เพื่อสร้างความตระหนักรู้ทางสังคมและวัฒนธรรม ให้ผู้เ ...
บูรณาการ : การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เน้นให้ผู้เรียนเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน มาใช้ในการสร้างสรรค์ผลงาน แก้ปัญห ...
การประเมินภาวะการเรียนรู้ถดถอย
การประเมินภาวะการเรียนรู้ถดถอยในวันที่โรงเรียนกลับมาเปิดเทอมใหม่อีกครั้ง หลังจากที่เด็กๆ เรียนออนไลน์มาเป็นเวลานาน ส่ง ...
พื้นที่แบบไหนก็จัด Makerspace ได้
พื้นที่นักสร้างสรรค์ Makerspace เป็นการจัดเตรียมพื้นที่สำหรับนักสร้างสรรค์ สามารถจัดได้หลายรูปแบบตามบริบทของพื้นที่นั้นๆ เพื่อใ ...