5 วิธีพักผ่อนแบบคนเก่ง เรียนรู้แม้ในวันหยุด
ในยุคที่ผู้คนใช้ชีวิตด้วยความเร่งรีบ หักโหม พยายามทำทุกอย่างในเวลาเดียวกัน หรือมีความรู้สึกกลัวจะพลาดอะไรไปอยู่ตลอดเวลา ทำให้กายและใจของเราอ่อนล้าได้ง่ายๆ
เว็บไซต์ ‘Scientific American’ กล่าวว่าการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอจะส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน ยิ่งคิดก็ยิ่งตัน และลดความสามารถในการตัดสินใจลง จนอาจทำให้เกิดข้อผิดพลาดขึ้นได้
แต่การพักผ่อนที่ดีสำหรับเราจริงๆ นั้นเป็นอย่างไร วันนี้ Starfish Labz อยากชวนมาเรียนรู้การพักผ่อนของเหล่าคนประสบความสำเร็จ เขาทำกิจกรรมอะไรกันบ้าง ทำไมการพักผ่อนของพวกเขาจึงแตกต่างจากคนธรรมดา ในทุกครั้งที่พวกเขาพัก มักจะได้ความคิดดีๆ กลับมาพัฒนาตัวเองและบริษัทอีกด้วย
1. เล่นเกมเพิ่มไหวพริบและการตัดสินใจ
ไม่ว่าจะเล่นบอร์ดเกมหรือเกมออนไลน์นอกจากให้ความบันเทิงแล้วยังช่วยพัฒนาสมองทั้ง 2 ฝั่ง แถมยังสร้างรายได้ดีอีกด้วย
มีงานวิจัยจากเว็บไซต์ sciencedailyพบว่าเมื่ออายุของเกมเมอร์เพิ่มขึ้น แต่การทำงานของสมองกลับใช้งานได้ดีกว่าคนที่ไม่ได้เล่น
การเล่นเกมช่วยพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ การวางแผน การตัดสินใจ และความคิดสร้างสรรค์ และยังต้องใช้ทักษะการทำงานร่วมกันเป็นทีม เราต้องคำนึงถึงผู้เล่นในทีมคนอื่นๆ ด้วย เพื่อให้ภารกิจนั้นๆ สำเร็จ
และอีกคนที่คร่ำหวอดอยู่ในวงการเกมมาหลายสิบปี ถ่ายทอดเกมที่ตัวเองเล่นผ่านไลฟ์สดจนเป็นที่รู้จักจนถึงทุกวันนี้อย่าง พี่เอก HRK เจ้าของช่องยูทูบ ‘HEARTROCKER’ สายเกม 7.9 ล้านซับ
2. ครีเอตคอนเทนต์ปลุกพลังสมอง
‘คุณรวิศ หาญอุตสาหะ’ CEO ของศรีจันทร์สหโอสถ จำกัด ทายาทรุ่นที่ 3 ที่พลิกโฉมแบรนด์ศรีจันทร์ให้คนรุ่นใหม่เข้าถึงได้ง่ายขึ้น คุณวริศมองว่า การผลิตคอนเทนต์ โดยเฉพาะพอดแคสต์ ช่วยให้เขารู้สึกแฮปปี้ เพราะเป็นคนที่ชอบพูดตั้งแต่เด็กอยู่แล้ว
เป็นตัวอย่างของคน productive การบริหารเวลาเป๊ะ ทำหลายอย่าง เขาส่งต่อความรู้ให้คนอื่นผ่านการทำคอนเทนต์ด้วยความชอบส่วนตัว และยังทำให้คนรู้จักธุรกิจของเขามากขึ้นด้วย
น้อง ๆ ก็เป็นแบบคุณวริศได้ ลองหา topic ที่น้องชื่นชอบ และลองครีเอทวิธีถ่ายทอดออกมาให้คนฟังไม่รู้สึกเบื่อ เริ่มจากเขียนหรือพิมพ์ เมื่อเสร็จแล้วลองอัดเสียงออกมา
หนังสือ the power of output อธิบายถึงถึงระบบของสมอง 2 ส่วน 1. ความทรงจำระยะยาว 2. ความทรงจำระยะสั้น เมื่อเราเรียนรู้อะไรบางอย่าง (input) และนำออกมาใช้ (output) ผ่านการเขียนหรือเล่าให้ผู้อื่นฟัง ถือเป็นการเรียนรู้ที่ครบกระบวนการและจะถูกบันทึกเป็นความทรงจำระยะยาว แต่ถ้าไม่ได้ output ออกมา ข้อมูลจะถูกเก็บไว้เป็นความทรงจำระยะสั้น และจะถูกลบออกจากสมองภายใน 2-4 สัปดาห์
3. อ่านหนังสือตกผลึกไอเดีย
Bill Gates’ ผู้ก่อตั้ง Microsoft มหาเศรษฐีอันดับ 4 ของโลก จัดอันดับโดย Forbes เป็นคนชอบอ่านหนังสือเป็นชีวิตจิตใจ เพราะหนังสือช่วยเปิดโลกใหม่ๆ
‘บิล เกตส์’ ผู้ก่อตั้ง Microsoft มหาเศรษฐีอันดับ 4 ของโลก จัดอันดับโดย Forbes เป็นคนชอบอ่านหนังสือเป็นชีวิตจิตใจ เพราะหนังสือช่วยเปิดโลกใหม่ๆ
และไม่ว่าจะไปไหนต้องมีหนังสือติดตัวไปด้วยเสมอ ถึงแม้จะมีเวลาแค่ 5-10 นาที ระหว่างรออะไรบางอย่าง เขาก็จะหยิบหนังสือขึ้นมาอ่าน บิล เกตส์ ให้ความสำคัญกับเวลาส่วนตัวอย่างมาก โดยทุกปีต้องมี Think Week สัปดาห์ครุ่นคิด ใช้ชีวิตสันโดษในกระท่อมส่วนตัว ช่วงเวลานี้เขาใช้ไปกับการอ่านหนังสือ คิดไอเดียใหม่ ๆ มาช่วยพัฒนาบริษัท
เว็บไซต์ University of Rochester บอกว่า การอ่านหนังสือเปรียบเสมือนการเปิดประตูสู่โลกใบใหม่ เข้าใจถึงสิ่งต่าง ๆ บนโลกใบนี้ และช่วยพัฒนาตรรกะพร้อมทั้งทักษะการแก้ปัญหา
4. ถ่ายทอดความรู้ผ่านการเขียน
Adam Glant นักจิตวิทยาองค์กรจากโรงเรียนธุรกิจ Wharton เจ้าของผลงานหนังสือขายดีติดอันดับหนึ่งของ New York Times มีผลงานตีพิมพ์หลายล้านฉบับ ได้รับการแปลมากถึง 45 ภาษา ได้ให้สัมภาษณ์กับ writingroutines ว่าเขาจะเขียนหนังสือตกวันละไม่น้อยกว่า 1,000 คำ
บทความของ Northern Illinois University กล่าวว่าการเขียนช่วยพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์และช่วยให้เรารู้สึกดีที่คิดได้จบกระบวนการ
เราเองก็สามารถเขียนเพื่อจดบันทึกถึงเหตุการณ์สำคัญที่ได้ตกผลึกในแต่ละวัน เขียนเพื่อชวนคนอื่นฉุกคิดและช่วยเติมความรู้เสริมความเข้าใจในกันและกัน เขียนสร้างสรรค์สะท้อนประเด็นสังคม หรือเขียนเพื่อสร้างแรงบันดาลส่งต่อพลังบวกให้คนอื่นๆ ได้ด้วยพลังแห่งการเขียน
5. ออกกำลังและได้อยู่กับตัวเอง
ช่วงนี้ที่ผ่านมานี้ พวกเรามักจะได้เห็นผู้ว่า กทม. คนที่ 17 ‘อาจารย์ชัชชาติ สิทธิพันธ์’ เจ้าของวลีเด็ด “ทำงาน ทำงาน ทำงาน” ฟิตร่างกายทุกเช้า ตื่นแต่ตีสี่ตีห้ามาวิ่งทุกวัน ตั้งแต่ซิตีรัน (City Run) ในย่านเมืองเก่า รอบๆ ที่ทำการ กทม สลับกับวิ่งในย่านธุรกิจจากทองหล่อเลียบคลองแสนแสบไปจนถึง มศว ประสานมิตร หรือไปรับอากาศบริสุทธิ์จากสวนสาธารณะกับเพื่อนนักวิ่งที่สวนลุมพินี ผ่านสะพานเขียว จนถึงสวนเบญจกิตติ
การวิ่งของอาจารย์ไม่ใช่แค่การออกกำลังแต่ยังได้แลกเปลี่ยนความเห็น กับผู้คน อาจารย์บอกผ่าน LIVE ชัชชาติ สิทธิพันธ์ ว่าการออกกำลังกายนับเป็นการพักผ่อนสำหรับท่าน
การออกกำลังกายนอกจากเพิ่มความอึดให้ร่างกายเราแล้ว ยังเป็นโอกาสที่เราจะได้ให้เวลาคุณภาพกับตัวเองจริงๆ ได้โฟกัสอยู่กับปัจจุบันขณะ ได้หัดสังเกตเห็นสิ่งรอบตัว หัดมองให้เห็นความสุขจากเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ระหว่างทาง
Starfish Labz หวังว่าทุกคนจะได้แรงบันดาลใจจากคนเก่งๆ แล้วลองหากิจกรรมที่เหมาะสำหรับตัวเองและเพิ่มความหมายให้วันว่าง เพราะเวลานั้นเป็นสิ่งมีค่าที่สุด อย่าปล่อยให้ตัวเองกลายเป็นคนไม่ค่อยมีเวลาให้ตัวเอง
ส่วนใครยังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะทำอะไรดีในช่วงหยุดยาว Starfish Labz มีคอร์สและบทความเพื่อพัฒนาตนเองมากมาย ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย แถมได้รับเกียรติบัตรทันทีหลังเรียนจบ ใช้เวลาเพิ่มพูนความรู้ในวันหยุดเอาไว้เตรียมพร้อมรับอนาคตในทุกสถานการณ์!
แหล่งอ้างอิง (Sources):
Why your brain needs more downtime | Scientificamerican
ย้อนฟังฝึกนิสัยคิดแบบ #ชัชชาติ จากหนังสือที่อ่านและประสบการณ์ชีวิต | WorkpointTODAY
ตารางเวลาของ ดร. ชัชชาติ | เกลา
ทำไมใคร ๆ ก็หลงรักพี่เอก HRK (HEARTROCKER) สตรีมเมอร์มือทองของไทย | thomasthailand
‘One day with rawit’ ตามติดชีวิต รวิศ หาญอุตสาหะ | Mission to the moon
บทความใกล้เคียง
Starfish Teachers Hero Season 2 แท็กทีมครูมีไฟ หัวใจฮีโร่ ในยุค New Normal
5 ทักษะจำเป็น ฝึกลูกให้เก่งตั้งแต่วันนี้ อยู่ที่ไหนก็ก้าวหน้าแน่ ใช้ได้ทุกสายอาชีพในอนาคต
Peer Learning ชวนเปียร์แชร์ความรู้ ผลัดกันเรียน ผนึกกำลังสู้ ความรู้ถดถอย
Related Courses
เริ่มต้นทำ Visual Note อย่างง่ายใครๆ ก็ทำได้
หากคุณเป็นคนชอบวาดรูป ชอบการขีดเขียน หรือการจดบันทึก อยากลองทำ Visual Note แต่ไม่รู้จะสื่อสารออกมาอย่างไรดี คอร์สเ ...
เริ่มต้นทำ Visual Note อย่างง่ายใครๆ ก็ทำได้
ต้องใช้ 50 เหรียญ
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...
การพัฒนาทักษะการเขียน
ในคอร์สนี้จะเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการสอนเขียนสำหรับผู้เรียนประถมศึกษา ระดับชั้น ป.1- ป.6 โดยได้ยกตัวอย่างปัญหาการเขียนข ...
การทำงานแบบทีม ทักษะจำเป็นยุคดิจิทัล (Collaboration skill)
ในคอร์สนี้จะเป็นการเรียนรู้ว่า การทำงานร่วมกันเป็นอย่างไร ทำไมเราต้องทำงานกับผู้อื่น แล้วเมื่อต้องทำงานร่วมกันแล้วจะส่งเสริมใ ...