การพัฒนานวัตกรรม ลดความถดถอยในการเรียนรู้ของผู้เรียน
กิจกรรม Innovation Coaching โครงการสนับสนุนโรงเรียนพัฒนาตนเอง
รุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2 ต่อเนื่องในปี 2564
ภายใต้กิจกรรมการพัฒนานวัตกรรม การลดความถดถอยในการเรียนรู้ของผู้เรียน (Learning Loss)
กิจกรรมการพัฒนานวัตกรรม การลดความถดถอยในการเรียนรู้ของผู้เรียน (Learning Loss) ครั้งนี้ เป็นการทำ workshop ความเข้าใจเกี่ยวกับการคิดเชิงออกแบบ และนวัตกรรมการศึกษา ในหัวข้อนวัตกรรมของฉันคืออะไร นวัตกรรมของฉันกับการจัดการเรียนรู้ในอนาคต และการวางแผนในการพัฒนาต้นแบบของนวัตกรรม นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ต่างกันอย่างไร ทั้งนี้ นวัตกรรมคือการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยี การใช้งานที่เป็นประโยชน์ มีคุณค่าและเป็นที่ต้องการของสังคม ส่วนสิ่งประดิษฐ์เป็นการสร้างขึ้นใหม่โดยไม่คำนึงถึงการใช้งานที่เป็นประโยชน์ และไม่สามารถใช้งานได้จริงในการแก้ปัญหาต่าง และไม่เป็นที่ต้องการในการใช้
การคิดเชิงออกแบบและนวัตกรรมการศึกษา เป็นกระบวนการคิดในการแก้ปัญหา การพัฒนาสิ่งใหม่ๆ ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่ใช้งานได้ (Viable) ทำได้จริง (Feasible) และเป็นที่ต้องการ (Desirable) โดยมีวงจรที่เกิดขึ้น ประกอบด้วย นวัตกรรมจะต้องแก้ปัญหาได้ (Proof of Value) สามารถใช้งานได้ (Proof of Concept) มีการเผยแพร่ เป็นที่ต้องการ (Proof of Market) และมีการเติบโต สามารถนำไปใช้ได้จริง (Proof of Impact) ทั้งนี้ นวัตกรรมที่ให้โรงเรียนทำมุ่งหวังที่ 2 วงแรก สำหรับนวัตกรรมการศึกษา แบ่งออกได้ 5 รูปแบบ คือ หลักสูตร การเรียนการสอน สื่อการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล และการบริหารจัดการ ดังนั้น การคิดเชิงออกแบบ และนวัตกรรมการศึกษา เป็นสิ่งที่สอดคล้องกันสามารถใช้กระบวนการ STEAM Design Process ในการพัฒนานวัตกรรมได้
การพัฒนานวัตกรรมการศึกษาของโรงเรียน อยากให้โรงเรียน ช่วยกันระดมความคิดว่า นวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นนั้นคืออะไร เป็นรูปแบบไหน สามารถแก้ปัญหาได้อย่างไร เกี่ยวข้องกับใคร/หน่วยงานใด ใครได้รับผลกระทบจากปัญหาที่เกิดขึ้นในเรื่องความถดถอยการเรียนรู้ของผู้เรียน ปัญหานี้เกิดขึ้นเพราะอะไร และผลลัพธ์ในการแก้ปัญหาเป็นอย่างไร สำหรับกรอบแนวคิดในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อลดความถดถอยในการเรียนรู้ของผู้เรียน นวัตกรรมจะอยู่ในรูปแบบของการสอนเสริม การสอนทางไกล ชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนการสอนรายบุคคล โดยการใช้กระบวนการ STEAM Design Process ผ่านการ PLC ร่วมกันของฝ่ายวิชาการ กลุ่มสาระวิชา ชุมชน/เครือข่าย และผู้เชี่ยวชาญ/พี่เลี้ยง ทั้งนี้ ต้องคำนึงถึงภูมิหลังของผู้เรียน ไม่ว่าจะเป็นทุนสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และหน่วยงานต่างๆ ในชุมชน และทำการสร้างเครื่องมือวิเคราะห์ในรูปแบบนวัตกรรม เช่น การจัดกิจกรรมตามกลุ่มสาระ หน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โครงการพิเศษ และการช่วยเหลือผู้เรียนรายบุคคล เป็นต้น ทั้งนี้ ผลลัพธ์ เป็นไปตามที่โรงเรียนและหน่วยงานต้นสังกัดกำหนดไว้หรือไม่ อย่างไร
โดยกรอบแนวคิดมุ่งหวังให้โรงเรียนทำถึงในระดับ L2 คือ การวิเคราะห์ความถดถอยในการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์และภาษาไทยของนักเรียนในทุกช่วงชั้น ฝ่ายวิชาจะต้องมีการกำหนดนโยบาย ครูทุกคนจะต้องมีส่วนร่วมในกิจกรรม PLC และครูร้อยละ 70 มีการออกแบบและพัฒนานวัตกรรมอย่างน้อย 1 บทเรียน/ภาคเรียน และนวัตกรรมที่พัฒนาเกี่ยวข้องกับประเด็นต่างๆ เช่น การจัดการเรียนการสอนทางไกล การพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียนเป็นรายบุคคล ความถดถอยในการเรียนรู้ของผู้เรียน ความเหลื่อมล้ำในการเรียนรู้ สุขภาวะพื้นฐานของผู้เรียน ประสิทธิภาพและผลสัมฤทธิ์ในการจัดการเรียนรู้ เป็นต้น โดยการให้แต่ละโรงเรียนทำการกรอกข้อมูลชื่อนวัตกรรม รายละเอียดของนวัตกรรม การให้คะแนนนวัตกรรมที่เกี่ยวข้อง ลักษณะของการนำไปใช้ และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการใช้นวัตกรรม อ้างอิงหลักการและทฤษฎีการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรม และภาพร่างต้นแบบนวัตกรรม หลังจากทำการกรอกข้อมูลเรียบร้อยแล้ว จะทำการพิจารณาถึงความมีคุณค่าของนวัตกรรมในกิจกรรมที่สอง โดยการพิจารณาถึงนวัตกรรมมีคุณค่าต่อใคร ซึ่งส่วนใหญ่จะมีคุณค่าต่อกลุ่มครูและนักเรียน นวัตกรรมสามารถแก้ปัญหาความยากลำบากในการจัดการเรียนรู้หรือไม่ นวัตกรรมเป็นสิ่งที่ต้องการหรือสนับสนุนสิ่งที่ต้องการหรือไม่ และเป็นไปตามที่คาดหวังหรือไม่ ทั้งนี้ บางนวัตกรรมอาจส่งผลต่อผู้ปกครอง/ชุมชน (ถ้ามี) อีกด้วย ซึ่งในกิจกรรมที่สองนี้ โรงเรียนจะต้องกรอกข้อมูลรายละเอียดประสบการณ์และรูปแบบในการใช้งานเป็นอย่างไร มีการผ่อนคลายความอยากลำบากหรือไม่ และสร้างประโยชน์ใหม่หรือไม่
นวัตกรรมกับการจัดการเรียนรู้ในอนาคตเป็นอย่างไร ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ 2 ของกระบวนการ STEAM Design Process เป็นการจินตนาการว่า นวัตกรรมของเราสามารถนำไปใช้สอดคล้องกับบริบทหรือสถานการณ์ของโรงเรียนอย่างไร นวัตกรรมกับการจัดการเรียนรู้ในอนาคต โรงเรียน ครู และผู้เรียนจะมีลักษณะเป็นอย่างไร และจะเกิดอะไรถ้านวัตกรรมอยู่ในฉากทัศน์ (Scenario) ต่างๆ ยกตัวอย่าง 3 ฉากทัศน์ ดังนี้
1) โควิดหมดไป เด็กกลับมาเรียนในโรงเรียนเช่นเดิม
2) ยังคงมีโควิดระบาดอยู่ โรงเรียนเปิดได้บ้าง ไม่ได้บ้าง หรือเปิดได้เป็นบางส่วน
3) โควิดระบาดมาในพื้นที่ ไม่มีเด็กคนไหนได้ไปโรงเรียนเลย โดยให้โรงเรียนเลือก 2 ฉากทัศน์ เขียนอธิบายลักษณะของการใช้นวัตกรรมเป็นอย่างไร มีจุดเด่นและข้อจำกัดอย่างไร
การวางแผนเพื่อพัฒนาต้นแบบและการนำไปทดสอบ เมื่อมีการวางแผน การสร้าง การนำไปใช้ การประเมินและทดสอบว่านวัตกรรมเป็นอย่างไร โรงเรียนต้องมีการดำเนินการกำหนดช่วงเวลา เมื่อมีการพัฒนาต้นแบบนวัตกรรมต้องนำไปทดสอบกับช่วงชั้นไหน เวลาใด และทำการวิเคราะห์สรุปผลเป็นอย่างไร เพื่อให้รู้ว่านวัตกรรมดีหรือไม่ และส่งผลอย่างไร โดยการทำเป็นรูปแบบ Gantt Chart
จากการดำเนินกิจกรรม workshop โดยภาพรวมในครั้งนี้ โรงเรียนได้นวัตกรรมการศึกษา มีการกำหนดรูปแบบการนำไปใช้ การสร้างต้นแบบ การนำไปใช้ และการประเมิน เพื่อให้เห็นว่าหากมีการทดสอบก่อน-หลังเรียนผลเป็นอย่างไร รูปแบบการวัดประเมินผลเป็นเช่นไร และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับนักเรียนเป็นอย่างไร นักเรียนมีการเรียนรู้ที่เพิ่มขึ้นหรือไม่ มีทักษะและทัศนคติอย่างไร สำหรับการวางแผนเพื่อพัฒนาต้นแบบและการนำไปทดสอบ จะมีการประเมินความก้าวหน้าและประเมินเพื่อสรุปผล ทั้งนี้ การประเมินการเรียนรู้ของนักเรียน แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ คือ การประเมินผลการเรียนรู้ (AoL) เป็นการประเมินที่รวบรวมหลักฐานเชิงประจักษ์ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ของนักเรียน การประเมินเพื่อการเรียนรู้ (AfL) เป็นการประเมินระหว่างการจัดการเรียนรู้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้โดยอาศัยสารสนเทศที่ครูได้จากนักเรียนขณะที่มีการจัดการเรียนการสอน และการประเมินเป็นการเรียนรู้ (AaL) เป็นการเปลี่ยนบทบาทของนักเรียน โดยให้นักเรียนเป็นผู้เชื่อมโยงการประเมินกับการเรียนรู้เข้าด้วยกัน ซึ่งเป็นการประเมินที่เชื่อมโยงความรู้ขั้นต้นกับความรู้ใหม่ ทั้งนี้ จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยการติดตามการเรียนรู้ของนักเรียน ยกตัวอย่างเช่น การประเมินก่อน-หลังเรียน โดยการหาวิเคราะห์หาค่าขนาดอิทธิพล (Effect Size) อย่างไรก็ตาม นวัตกรรมอาจไม่ได้อยู่ในลักษณะของการประเมินความรู้เพียงอย่างเดียว อาจอยู่ในลักษณะอื่นๆ เช่น การประเมินทักษะ หรือบางครั้งนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับครู อาจจะอยู่ในรูปแบบของการประเมินด้านพฤติกรรมต่างๆ ทั้งนี้ ต้องทำการวิเคราะห์ให้มีความเหมาะสม และสอดคล้องกับนวัตกรรมของตนเอง หรือของโรงเรียนด้วย
Related Courses
การออกแบบกล่องเพื่อการเรียนรู้ (Learning Box)
เนื่องจากสถานการณ์โควิดทำให้โรงเรียนไม่สามารถจัดการเรียนการสอนได้ตามปกติ และเด็กจำเป็นต้องเรียนที่บ้าน Learning box ...
การวัดความรู้ถดถอยของนักเรียน
การวัดความรู้ถดถอยของนักเรียน เมื่อต้องปรับตัวมาเรียนออนไลน์ ครูเป็นอีกหนึ่งที่ต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอน เพื่อเตรี ...
การฟื้นฟูภาวะความรู้ถดถอย (Learning loss)
เรียนรู้ผลกระทบของ Learning Loss ที่ส่งกระทบถึงผู้เรียน ในภาพรวมของประเทศเพื่อฟื้นฟูการเรียนรู้ของนักเรียน โดยใช้ 5ม ...
การพัฒนาทักษะการอ่าน
หนังสือเปรียบเสมือนคลัง ที่รวบรวมเรื่องราวความรู้ต่างๆ มากมาย การพัฒนาทักษะและส่งเสริมให้เด็กรักการอ่านจึงมีความสำคัญเป็น ...