ลดความเครียดแบบครู (Cool) ทำได้ยังไงบ้าง?
“จัดการความเครียดให้อยู่หมัด.....ด้วยวิธีง่ายๆ ทำได้ด้วยตัวเอง”
ถ้าหากพูดถึงความเครียด ไม่ว่าจะวัยเด็ก วัยเรียน หรือแม้กระทั่งวัยทำงาน ล้วนแล้วต่างก็มีความเครียดด้วยกันทั้งนั้น และเมื่อต้องเผชิญกับความเครียดคุณจะเตรียมรับ และจัดการกับความเครียดอย่างไร
วันนี้เรามาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างครูรุ่นเก๋าที่มีประสบการณ์ในการทำงาน คุณครูอริสา มงคลวามทิน หรือครูริสา ครูชำนาญการพิเศษจากโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงใหม่ สำนักงานบริหารการศึกษาพิเศษ และครูรุ่นใหม่ไฟแรง คุณครูนราธิป อินทรปัญญา หรือครูดั้ม โรงเรียนบ้านมูเซอ ว่าเมื่อต้องทำงานโรงเรียนต่างมีความเครียดที่แตกต่างและเหมือนกันอย่างไร และมีวิธีการจัดการความเครียดอย่างไร
ปรับวิธีการเรียนรู้ ครูทำอย่างไร
ครูดั้ม - ด้วยโรงเรียนบ้านมูเซอ ส่วนใหญ่เป็นนักเรียนชาติพันธ์ทั้งหมด การจัดการเรียนการสอนช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทางโรงเรียนได้มีการปรับการเรียนการสอนที่เน้นให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ โดยการใช้แนวทางแบบผสมผสานในรูปแบบบูรณาการการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ จำนวน 1 ชม.ต่อวัน ผ่านช่องทาง Facebook และ Line เพื่อให้ครูสามารถอธิบายเนื้อหา ใบงาน และติดตามงานนักเรียนได้
ครูริสา – สำหรับการจัดการเรียนการสอนในระดับประถม เนื่องด้วยนร.อยู่หลากหลายพื้นที่ ช่วงแรกจึงจัดการเรียนการสอนแบบ On hand แต่พบปัญหาว่า นักเรียนบางคนไม่ได้อยู่กับพ่อแม่ อยู่กับตายายที่ไม่รู้หนังสือ และไม่มีสัญญาณอินเทอร์เน็ต จึงปรับรูปแบบโดยการทำคลิปวิดีโอสั้นๆ และถามคำถามสั้นๆ เพื่อกระตุ้นความคิด และให้นักเรียนเขียนลงในใบงานหรือสมุด ทำเป็นรูปภาพหรือ Mind map สำหรับนักเรียนที่ไม่สามารถเขียนได้ จะใช้การสื่อสาร พูดคุยกับนักเรียนแทน และในระดับมัธยม ทางโรงเรียนได้ดำเนินการขออนุญาตจากทางจังหวัด ให้นักเรียนเข้ามาอยู่ประจำ โดยปฏิบัติตามข้อกำหนดของ สบค.จังหวัด ดำเนินการจัดการเรียนการสอนรูปแบบออนไลน์ ผ่านช่องทาง MS Team, Class Start, Zoom และ Facebook Live ผสานควบคู่ไปกับการเรียนการสอนแบบ On hand
วางแผนการเรียนรู้ในช่วงโควิด ครูมีความเครียด และส่งผลกับโรงเรียนอย่างไร
ครูดั้ม – สำหรับการวางแผนการเรียนรู้ในช่วงโควิด ถือได้ว่า เป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับทุกคน ไม่ว่าจะเป็น ผู้บริหาร ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง นักเรียน หรือแม้แต่ครูที่ต้องประสบกับความเครียดในการหาแนวทาง หรือวิธีการปรับรูปแบบการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับนโยบายที่ได้รับ สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน สอดคล้องกับผู้เรียน และโรงเรียนเองก็ดำเนินการปรับตามแนวทางของโรงเรียน เพื่อตอบสนองเป้าหมายของผู้เรียนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
ครูริสา – จากการพบปะ และสอบถามผู้ปกครอง ตัวครูเองเกิดความวิตกกังวล เรื่อง ความไม่เข้าใจ การจัดการบริหารเวลา การอยู่ร่วมกันของนักเรียนและผู้ปกครอง ผู้ปกครองเกิดความรู้สึกเป็นภาระที่ไม่สามารถสอนหนังสือได้ ซึ่งโรงเรียนได้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับบริบท เน้นการพูดคุยกับนักเรียนและผู้ปกครองให้เข้าใจในสถานการณ์มากขึ้น
วิธีลดความเครียดแบบครู (Cool) ทำอย่างไร
ครูดั้ม – อย่างแรก คือ การยอมรับความเครียดของตัวเอง 2) มองและเข้าใจ ว่าปัญหาส่วนใหญ่เกิดจาก 2 ส่วน คือ อะไรที่อยากได้แล้วไม่ได้ตามที่ต้องการ และอะไรที่ไม่อยากได้แล้วได้ 3) การแก้ปัญหา ซึ่งอาจจะแก้ปัญหาโดยการหาสาเหตุของปัญหา การเปลี่ยนแนวคิด มองในด้านบวก หรือการแก้ปัญหาทีละส่วน ทีละจุด ถ้าหากแก้ปัญหาไม่ได้ ให้ทำการปล่อยวางแล้วค่อยหาวิธีอีกครั้ง และครูยังมีแนวคิดที่ว่า คนเรามักจะมี 2 บุคลิก คือ บุคลิกทางวิชาชีพ ก็ดำเนินไปตามหน้าที่ และบุคลิกส่วนตัว คือการใช้ชีวิตส่วนตัวให้มีความสุข เมื่อชีวิตมีความสุขย่อมส่งผลต่อหน้าที่การงาน และทำให้ชีวิตสมดุล
ครูริสา – การแบ่งความเครียดเป็นส่วนๆ หากปัญหาเกิดจากตัวเรา ทำการแก้ไขโดยหาสาเหตุ หาวิธีคิด ยอมรับ เข้าใจ เข้าถึงสาเหตุของปัญหา และแก้ไขปัญหา โดยการใช้ปัญญาที่ลึกซึ้ง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาใหม่ตามมา และปัญหาอื่นๆรอบตัว อาจช่วยได้ด้วยการรับฟัง และแนะนำแนวทางในการแก้ไขปัญหา
จะเห็นได้ว่า ความเครียดมีโอกาสเกิดขึ้นได้ทุกเวลา อย่าปล่อยให้ความเครียดอยู่กับเรานานเกินไป เมื่อเราเกิดความเครียดขึ้นมา ให้ลองพยายามนึกถึงสาเหตุ แก้ไข ยอมรับ ปล่อยวางและพาตัวเองออกจากภาวะนั้น ด้วยวิธีต่างๆ ที่เราทำได้ ถึงแม้ต้องเผชิญกับหลายสิ่งหลายอย่าง เชื่อเถอะว่า อย่างน้อยมันจะทำให้คุณรู้สึกมีความสุขและรับมือได้อย่างง่ายดาย
Related Courses
Micro Learning - แหล่งเครื่องมือช่วยครูจัดการชั้นเรียน
Starfish แหล่งเครื่องมือช่วยครูในจัดการชั้นเรียนที่หลากหลาย เช่น Starfish Labz, Starfish Class แบบเว็บไซต์ และแ ...
การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”
เรียนรู้ ทำความเข้าใจภาพรวมของการประเมินเพื่อขอมี / เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู” (วPA)
การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”
การพัฒนาทักษะการเขียน
ในคอร์สนี้จะเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการสอนเขียนสำหรับผู้เรียนประถมศึกษา ระดับชั้น ป.1- ป.6 โดยได้ยกตัวอย่างปัญหาการเขียนข ...
Micro Learning เครื่องมือช่วยสอนการเรียนออนไลน์
เครื่องมือช่วยครูในการเรียนออนไลน์ในคอร์สนี้ แนะนำเครื่องมือที่น่าสนใจ 3 ตัวช่วย คือ Google Earth, Line Open Chat แ ...