โดนเกลียดแล้วไง? สอนลูกถึงวิธีรับมือ กับพวก “Hater”
อย่างที่เรารู้กันดีว่าเมื่อมีคนรักก็ต้องมีคนเกลียด เพราะเราไม่สามารถทำให้ทุกคนรักเราได้ เรื่องนี้อาจจะเข้าใจง่ายสำหรับผู้ใหญ่ค่ะ แต่สำหรับเด็ก ๆ แล้ว ช่วงวัยกำลังเข้าสู่วัยรุ่น เพื่อนเป็นคนที่มีอิธิพลต่อชีวิตเขามากทีเดียว และเมื่อถูกเพื่อน
เกลียดก็ทำให้ลูกเสียใจได้มากเพราะยังไม่รู้วิธีรับมือ วันนี้เรามีข้อคิดง่าย ๆ มาฝากคุณพ่อคุณแม่กันค่ะ ว่าจะสอนลูกอย่างไร เมื่อต้องอยู่กับเหล่า Hater กันค่ะ
1. ตัดความเห็นแย่ ๆ ออกไป เลือกฟังแต่สิ่งที่มีประโยชน์
เพราะเราเลือกได้ค่ะ คำพูดก็เช่นกัน ลองบอกให้ลูกลองคิดว่าตอนไหนที่เค้าพูดจาให้ร้ายเรา หรือชอบแซะเกี่ยวกับตัวเราอยู่บ่อย ๆ ก่อนที่จะโกรธจนตัวสั่นหน้าชา ก็ให้ลองคิดดูซิว่าเราทำตัวแย่ ๆ เหมือนที่เค้าพูดมารึเปล่า? ถ้าเราเผลอทำตัวแบบนั้นไปจริง ๆ ก็ให้คิดว่าดีที่ได้สะท้อนด้านที่เราทำไม่ดี และควรเลิกทำเสีย แต่ถ้าเราไม่ได้เป็นอย่างนั้น ให้เลิกใส่ใจคำพูดร้าย ๆ ไปเลย
2. เปลี่ยนแปลงตัวเองให้เขากลับมารัก เป็นความพยายามที่สูญเปล่า
เมื่อลูกรู้สึกว่าถูกเกลียด เด็ก ๆ จะพยายามสืบหาสาเหตุว่าทำไมเค้าถึงเกลียดเรา? แล้วก็พยายามเปลี่ยนแปลงตัวเองใหม่ เพื่อทำให้คนเหล่านั้นหันกลับมารัก แต่แท้จริงแล้วเมื่อถูกเกลียด ไม่ว่าจะเปลี่ยนแปลงตัวเองแค่ไหน เขาก็ไม่กลับมารักแน่ ๆ ความพยายามจึงไม่มีความหมาย และจะทำให้ลูกรู้สึกแย่แบบคูณสอง ต้องให้สติลูกค่ะ ว่าเมื่อถูกเกลียด (โดยที่เราไม่ได้ทำอะไรผิด) นั่นเป็นปัญหาของคนเหล่านั้น ไม่ใช่ปัญหาของเรา และถ้ามีใครสักคนที่ต้องเปลี่ยนทัศนคติใหม่ ก็ต้องเป็นคนที่คอยคิดร้ายกับFdeคนอื่นไม่ใช่เราค่ะ
4. คนที่เกลียดเราคือไม่เห็นค่าเรา
เมื่อเขาไม่เห็นค่าเราก็อย่าไปให้ราคากับคำพูดแย่ ๆ ค่ะ เพราะถ้าคนนั้นเห็นค่าเราจะไม่พูดจา หรือกระทำการใด ๆ ให้เราเสียใจ ให้คิดในแง่บวกว่าคนเหล่านั้นไม่ได้ผ่านอะไรมาด้วยกันกับเรา ไม่ได้รับรู้ว่าเราต้องเจอกับอะไรบ้างกว่าจะมายืนอยู่ตรงนี้ได้ แบบนี้เค้าเลยชอบพูดถึงเราในเรื่องเสียหายทั้งที่ไม่เป็นความจริง จึงไม่จำเป็นต้องใส่ใจคนพวกนี้
5 นิ่ง สงบ สยบทุกอย่าง
พวก Hater นั้นมีพฤติกรรมที่ร้องความสนใจอยู่ด้วย จึงต้องพยายามสรรหาวิธีสารพัด ไม่ว่าจะเป็นทั้งการกระทำ และคำพูดมายั่วโมโหให้ลูกรู้สึกโกรธ นั่นแปลว่าถ้าโต้ตอบกลับไปแรง ๆ เหมือนกัน เค้าก็จะยิ่งได้ใจ และรู้สึกสะใจในการกระทำเรา แต่ถ้าเราทำตัวให้นิ่งที่สุด สุภาพที่สุด คนพวกนี้ก็จะเหนื่อย และหยุดการกระทำไปเอง ซึ่งก็ไม่รู้หรอกว่าจะต้องใช้เวลานานแค่ไหน แต่การสงบนิ่ง ไม่ตอบโต้นั้น จะไม่ทำให้ลูกกลับมาเสียใจภายหลังแน่นอน
6. อยู่กับคนที่มีพลังบวก
แทนที่จะเสียเวลาอยู่กับเพื่อนร้าย ๆ ลองบอกลูกให้เอาเวลาอันมีค่าเหล่านี้ไปทำเรื่องดี ๆ หรือหาเพื่อนกลุ่มใหม่ที่มีพลังบวกเข้ามาดีกว่า ต้องให้สติลูกว่า “เราไม่สามารถทำให้คนทั้งโลกรักเรา หรือคิดเห็นตรงกันกับเราได้หมดทุกคน” “มีคนรักก็ต้องมีคนเกลียดเป็นเรื่องธรรมดา” เราควรจะหันไปให้ความสำคัญกับคนที่เห็นคุณค่าในตัวเรามากกว่า
7. ความโกรธไม่ใช่เรื่องผิด
การรู้สึกโกรธไม่ใช่เรื่องผิด แต่เมื่อโดนยั่วมาก ๆ เข้าจนทนไม่ไหว ให้ลูกลองฝึก
ระงับอารมณ์โดยหายใจเข้าออกลึก ๆ หลายครั้งที่เวลาโกรธ มักหลุดปากสวนคำพูดอะไรบางอย่างออกมาโดยไม่ได้คิด ให้หยุดตัวเองไว้ก่อน อาจจะเป็นเรื่องยากหน่อยสำหรับเด็ก แต่ลองฝึกให้เขาผ่อนคลาย หายใจเข้าออกลึก ๆ นับ 1-10 แล้วหากรู้สึกทนไม่ไหวจริง ๆ ควบคุมตัวเองไม่ได้ ก็ให้ลูกปลีกตัวออกมา
8 ผู้ใหญ่ต้องรับรู้
เรื่องนี้อาจจะไม่ใช่เรื่องเล็ก เพราะจากเรื่องวัยรุ่นทะเลาะกัน อาจจะกลายเป็นการกลั่นแกล้ง และบางครั้งนำมาสู่การใช้ความรุนแรงจนถึงชีวิตได้ จากที่เราเห็นในข่าวหลาย ๆ ครั้ง เพราะฉะนั้น หากเรื่องนี้เกิดขึ้นที่โรงเรียน การแจ้งให้ทางคุณครูทราบไว้ไม่ใช่เรื่องผิดอะไร เพื่อให้คอยสอดส่องพฤติกรรมของทั้งลูก และเหล่าคู่กรณีด้วย เพื่อป้องกันการเกิดเหตุการณ์รุนแรงต่อไปค่ะ
นี่ล่ะค่ะการรับมือกับเหล่า Hater ที่ไม่ใช่จะใช้ได้แต่กับลูกๆ คุณพ่อคุณแม่ก็นำไปปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้เช่นกันค่ะ
Related Courses
How to พูดอังกฤษยังไงให้เป๊ะ แบบไม่เน้นท่องจำ
การสื่อสารภาษาอังกฤษ ใครว่ายาก? หากเราเข้าใจ และสื่อสารมันจากความรู้สึก และไม่ต้องกังวลจนเกินไป ในคอร์สเรียนนี้เราจ ...
How to พูดอังกฤษยังไงให้เป๊ะ แบบไม่เน้นท่องจำ
ต้องใช้ 100 เหรียญ
การซ่อมแซมของใช้ในชีวิตประจำวัน
อุปกรณ์ของใช้ในบ้านเมื่อใช้ไประยะหนึ่งอาจชำรุดเสียหายได้ ถ้าเรารู้จักวิธีซ่อมแซมจะทำให้สามารถนำกลับมาใช้ได้อีกซึ่งเป็นการประหยั ...
Collaborative classroom design
เรียนรู้ทักษะความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ (Collaboration, Teamwork and Leadership) หลักการออกแบบกิ ...
ฝึกกระบวนการคิด ในห้องเรียนยุคใหม่
การสร้างการเรียนรู้สำหรับครูและผู้ปกครองในการพัฒนากระบวนการคิดให้เกิดขึ้นกับตัวเด็กในระหว่างอยู่ที่โรงเรียนและบ้านเพื่อเพิ่มป ...