5 เคล็ดลับสร้าง Classroom ทักษะนอกห้องเรียน
หากกล่าวถึงการสร้างการเรียนรู้นอกห้องเรียน หรือ Outdoor Education แล้ว นอกเหนือจากความตั้งใจ ความพยายาม หรือความปรารถนาของคุณครู อีกหนึ่งสิ่งที่ขาดไม่ได้แน่นนอนก็คือการออกแบบรูปแบบการเรียนรู้ที่ดี การมีทักษะนอกห้องเรียนหรือความรู้ในการออกแบบการเรียนรู้ในรูปแบบดังกล่าว รวมถึงการมีเทคนิคหรือเคล็ดลับดีๆ ที่สามารถช่วยเสริมการเรียนรู้แบบ Outdoor Education ให้ดียิ่งขึ้น
ยิ่งมีทักษะหรือเคล็ดลับดีๆ ในมือแค่ไหน ก็ยิ่งมีโอกาสที่เราจะออกแบบการเรียนรู้ทักษะนอกห้องเรียนของเราได้ดียิ่งขึ้นเท่านั้นและใครที่กำลังรอเคล็ดลับเหล่านี้อยู่ตาม Starfish Labz มาแอบบันทึกเคล็ดลับดีๆ ไว้ใช้งานกันในบทความนี้เลยค่ะ
Starfish Labz Tips: คุณประโยชน์เด่นของ Outdoor Education ที่คุณอาจยังไม่เคยรู้
- การเรียนรู้แบบ Outdoor Classroom ส่วนใหญ่แล้วถือเป็นการเรียนรู้แบบ Unstructured หรือให้ความรู้สึกที่โครงสร้างหรือระเบียบต่างๆ น้อยกว่าในห้องเรียนจึงสามารถช่วยเพิ่มความคิดสร้างสรรค์ ความรู้สึกเป็นอิสระและความสุขในการเรียนรู้ได้อย่างดี
- การเรียนรู้แบบ Outdoor Classroom สามารถช่วยเพิ่มอารมณ์ที่ดีและลดความเครียด ความกังวลต่างๆ ของทั้งคุณครูและเด็กๆ ได้อย่างดี
- การเรียนรู้แบบ Outdoor Classroom สามารถช่วยเสริมสร้างทักษะ Soft Skills หรือเชิงอารมณ์-สังคมของเด็กๆ ได้อย่างดีเยี่ยมและยังเป็นการเสริมสร้างและการเรียนรู้แบบธรรมชาติ ตลอดจนการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเด็กๆ
5 เคล็ดลับสร้าง Classroom ทักษะนอกห้องเรียน
1. ไถ่ถามนักเรียนสักนิดก่อนจัด อยากได้แบบไหน ตกลงกันได้ไหมหรือร่วมด้วยช่วยกัน
ในการจัดการเรียนรู้ โดยเฉพาะในลักษณะที่เป็นกิจกรรม ผู้สอนหลายๆ ท่านอาจคิดว่ามีเพียงแค่เราเท่านั้นที่ควรวางแผนหรือออกแบบกิจกรรม แต่รู้ไหมคะนอกเหนือจากตัวเราแล้ว อีกหนึ่งลูกเล่นสำคัญที่สามารถเข้ามาช่วยเติมเต็มและเสริมสร้างความหมาย และความสำเร็จของตัวกิจกรรมได้อย่างเยี่ยมเลยก็คือความเห็นและความต้องการของเด็กๆ นั่นเองค่ะ
การเปิดประตูให้เกิดการร่วมมือ (Collaboration) หรือการระดมสมอง ร่วมด้วยช่วยกันไม่เพียงเสริมสร้างความผูกพันธ์กันระหว่างผู้สอน-เด็กๆ แต่ยังรวมการเสริมให้มองเห็นช่องว่างที่อาจขาดหายไปในกิจกรรม สิ่งที่เด็กๆ ต้องการ แม้กระทั่งรวมถึงตัวเรา ยิ่งเรามีการพูดคุยกับพวกเขาก็ยิ่งช่วยให้เรามองเห็นรูปแบบของกิจกรรมที่เราอยากออกแบบหรือมองว่าดีที่สุด รวมถึงยังเป็นการช่วยให้เด็กๆ บางคนที่ไม่เข้าใจว่าการเรียนรู้นอกห้องเรียน คืออะไร หรือมีประโยชน์อย่างไรได้เข้าใจและมองเห็นถึงความสำคัญยิ่งขึ้นอีกด้วย
2. สำรวจและสังเกตก่อนจัด เด็กๆ แต่ละคนหรือภาพรวมห้องนี้เป็นอย่างไร เพื่อให้ได้คุณลักษณะหรือเป้าหมายที่ชัดเจนในตัวกิจกรรม
หากการพูดคุยหรือการสอบถามความเห็นไม่เกินผล เด็กๆ บางคนอาจขี้อาจหรืออาจจะไม่กล้าแสดงออก อีกหนึ่งเทคนิคที่ใช้ได้ดีเช่นกันก็คือการลองใช้ทักษะการสังเกตและสำรวจโดยรวมของคุณครูเอง ไม่ว่าจะผ่านการดูผลการเรียน ผลการพัฒนาสมรรถนะหรือการมองหาช่องว่างๆ ต่างๆ ที่ขาดหายไปเพื่อนำมาเป็นโจทย์ในการสร้างลักษณะกิจกรรมที่ตอบโจทย์
ในเคล็ดลับนี้ จริงๆ แล้วก็คือการค้นคว้าหาโจทย์ที่ใช่และที่ดีสุดในการนำออกแบบการเรียนรู้ผ่านการสำรวจ มองหาทั้งในรูปแบบการมองสำรวจเด็กๆ โดยรวมภายในห้อง หรือผ่านข้อมูลต่างๆ ที่เรามีเพื่อช่วยให้เกิดการออกแบบกิจกรรมที่ตรงจุดที่สุดและยังเปรียบเสมือนการมอบการเรียนรู้ที่มีความเป็นส่วนตัวหรือเฉพาะเจาะจง (Personalized Learning) ให้กับเด็กๆ อีกด้วย
3. นำการเรียนรู้ในรูปแบบ Self-Directed หรือการเรียนรู้ คิดค้น ค้นหา (Exploring) ด้วยตนเอง
การเรียนรู้แบบ Outdoor Education คงจะขาดองค์ประกอบของการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองไปไม่ได้เลย (Self-Directed Learning) และอีกหนึ่งสิ่งที่คุณครูสามารถทำได้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของกิจกรรมก็คือการส่งเสริมในจุดนี้ซึ่งสามารถช่วยทั้งเรื่องของประสิทธิภาพในการเรียนรู้ และยังเพิ่มในด้านความสนุกสนาน การเปิดโอกาสให้เด็กๆ ได้ค้นพบและค้นหาคำตอบ รวมถึงความหมายในมุมหรือด้านต่างๆของกิจกรรมด้วยตัวของเขาเอง กระตุ้นความรู้สึกอยากเรียนรู้ ความสนใจในการเข้าร่วมกิจกรรมและความรู้สึกเป็นอิสระในการค้นหา ค้นพบสิ่งต่างๆ ซึ่งถือเป็นองค์ประกอบ เป็นปัจจัยและบรรยากาศสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างห้องเรียนแบบ Outdoor Education ให้เกิดความประทับใจต่อผู้เรียนที่สุด
4. ใส่ใจกับสิ่งแวดล้อม บรรยากาศ และการเลือกหรือออกแบบสภาพแวดล้อมโดยรวม
สถานที่ (Location) ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญอย่างแน่นอนในการออกแบบการเรียนรู้นอกห้องเรียน และอีกหนึ่งเคล็ดลับที่ช่วยได้ก็คือการใส่ใจกับสิ่งแวดล้อมหรือสถานที่ต่างๆ เหล่านี้ บรรยากาศ ความสะอาด รวมถึงความสะดวกโดยรวม ในบทความ 6 องค์ประกอบที่สำคัญในการสร้างห้องเรียน Outdoor ที่ดีโดย District Administration ผู้เขียนอย่าง Jeanne MacCarty ยังจัดอันดับให้ Location เป็นองค์ประกอบลำดับแรกที่มีความสำคัญอย่างยิ่งและหากผู้สอนมีแพลนกิจกรรมที่ใหญ่ เธอยังแนะนำให้ลองสร้างถามหาอาสาสมัครและไม่กลัวที่จะออกแบบกิจกรรมอย่างที่ใจต้องการ แต่ที่สำคัญที่สุดการคำนึงถึงความปลอดภัยและควรเตรียมพร้อมเผื่อเกิดกรณีฉุกเฉินใดๆ หากจัดในพื้นที่ห่างไกลโรงเรียนนั่งเอง
5. ใช้เครื่องมือเข้ามาช่วยเพื่อให้เกิดความหลากหลายและสนุกในการเรียน
เราใช้งาน EdTech กันเป็นประจำอยู่แล้วในห้องเรียน คราวนี้ก็ถึงเวลาหยิบมาลองใช้กับการเรียนรู้ภายนอกกันบ้าง ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือช่วยจำ ช่วยจด ช่วยอธิบาย หรือไปจนถึงการเล่นเกมอย่างสนุกสนาน การมีเครื่องมือที่ใช่ดังกล่าวก็สามารถช่วยเสริมสร้างสีสันให้กับห้องเรียน Outdoor ของเราได้อย่างไม่ยาก แถมยังช่วยลดงบประมาณกระดาษ รวมถึงอำนวยความสะดวกในการบันทึกผลต่างๆ โดยเฉพาะการบันทึกผลในรูปแบบดิจิทัล ซึ่งสามารถมีประโยชน์อย่างยิ่งในการเรียนรู้ท่ามกลางพื้นที่ Outdoor ที่การตระเตรียมกระดาษต่างๆ อาจเป็นเรื่องยาก ยิ่งหากคุณครูวางแผนการประเมินแบบ Real-Time ระหว่างกิจกรรม การมี EdTech ช่วยประเมินดีๆ จึงถือเป็นอีกหนึ่งเคล็ดลับที่ไม่ควรพลาดเลยค่ะ
อ้างอิง:
บทความใกล้เคียง
แชร์ไอเดียการสอนภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ ง่ายๆ สไตล์โรงเรียนบ้านปลาดาว
ห้องเรียน Online Onsite ด้วย ClassPoint
ยกระดับการเรียนรู้โรงเรียนทองผาภูมิวิทยา ด้วย 3 นวัตกรรมเทคโนโลยีด้านการศึกษา จาก Starfish Education
Related Courses
คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว
คงจะดีถ้าการอ่านออกเขียนได้ ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป นวัตกรรม3R โรงเรียนบ้านปลาดาว ได้ออกแบบชุดการสอนที่ง่ายและเกิดผล ...
การสอนคณิตศาสตร์ (3R)
คณิตศาสตร์จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แค่เรามีเทคนิคดีๆ มาเป็นตัวช่วยในการสอน คณิตศาสตร์ของเราก็จะเป็นเรื่องง่าย ไม่น่าเบื่ ...
การสอนภาษาไทย (3R)
การสอนภาษาไทยของมูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮมได้ออกแบบมาเพื่อพัฒนาทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน อย่างเป็นระบบเข้าใจง่ ...
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...