5 เคล็ดลับสร้าง Classroom ทักษะนอกห้องเรียน

Starfish Labz
Starfish Labz 491 views • 2 เดือนที่แล้ว
5 เคล็ดลับสร้าง Classroom ทักษะนอกห้องเรียน

หากกล่าวถึงการสร้างการเรียนรู้นอกห้องเรียน หรือ Outdoor Education แล้ว นอกเหนือจากความตั้งใจ ความพยายาม หรือความปรารถนาของคุณครู อีกหนึ่งสิ่งที่ขาดไม่ได้แน่นนอนก็คือการออกแบบรูปแบบการเรียนรู้ที่ดี การมีทักษะนอกห้องเรียนหรือความรู้ในการออกแบบการเรียนรู้ในรูปแบบดังกล่าว รวมถึงการมีเทคนิคหรือเคล็ดลับดีๆ ที่สามารถช่วยเสริมการเรียนรู้แบบ Outdoor Education ให้ดียิ่งขึ้น

ยิ่งมีทักษะหรือเคล็ดลับดีๆ ในมือแค่ไหน ก็ยิ่งมีโอกาสที่เราจะออกแบบการเรียนรู้ทักษะนอกห้องเรียนของเราได้ดียิ่งขึ้นเท่านั้นและใครที่กำลังรอเคล็ดลับเหล่านี้อยู่ตาม Starfish Labz มาแอบบันทึกเคล็ดลับดีๆ ไว้ใช้งานกันในบทความนี้เลยค่ะ

Starfish Labz Tips: คุณประโยชน์เด่นของ Outdoor Education ที่คุณอาจยังไม่เคยรู้

  • การเรียนรู้แบบ Outdoor Classroom ส่วนใหญ่แล้วถือเป็นการเรียนรู้แบบ Unstructured หรือให้ความรู้สึกที่โครงสร้างหรือระเบียบต่างๆ น้อยกว่าในห้องเรียนจึงสามารถช่วยเพิ่มความคิดสร้างสรรค์ ความรู้สึกเป็นอิสระและความสุขในการเรียนรู้ได้อย่างดี
  • การเรียนรู้แบบ Outdoor Classroom สามารถช่วยเพิ่มอารมณ์ที่ดีและลดความเครียด ความกังวลต่างๆ ของทั้งคุณครูและเด็กๆ ได้อย่างดี
  • การเรียนรู้แบบ Outdoor Classroom สามารถช่วยเสริมสร้างทักษะ Soft Skills หรือเชิงอารมณ์-สังคมของเด็กๆ ได้อย่างดีเยี่ยมและยังเป็นการเสริมสร้างและการเรียนรู้แบบธรรมชาติ ตลอดจนการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเด็กๆ

5 เคล็ดลับสร้าง Classroom ทักษะนอกห้องเรียน

1. ไถ่ถามนักเรียนสักนิดก่อนจัด อยากได้แบบไหน ตกลงกันได้ไหมหรือร่วมด้วยช่วยกัน

ในการจัดการเรียนรู้ โดยเฉพาะในลักษณะที่เป็นกิจกรรม ผู้สอนหลายๆ ท่านอาจคิดว่ามีเพียงแค่เราเท่านั้นที่ควรวางแผนหรือออกแบบกิจกรรม แต่รู้ไหมคะนอกเหนือจากตัวเราแล้ว อีกหนึ่งลูกเล่นสำคัญที่สามารถเข้ามาช่วยเติมเต็มและเสริมสร้างความหมาย และความสำเร็จของตัวกิจกรรมได้อย่างเยี่ยมเลยก็คือความเห็นและความต้องการของเด็กๆ นั่นเองค่ะ

การเปิดประตูให้เกิดการร่วมมือ (Collaboration) หรือการระดมสมอง ร่วมด้วยช่วยกันไม่เพียงเสริมสร้างความผูกพันธ์กันระหว่างผู้สอน-เด็กๆ แต่ยังรวมการเสริมให้มองเห็นช่องว่างที่อาจขาดหายไปในกิจกรรม สิ่งที่เด็กๆ ต้องการ แม้กระทั่งรวมถึงตัวเรา ยิ่งเรามีการพูดคุยกับพวกเขาก็ยิ่งช่วยให้เรามองเห็นรูปแบบของกิจกรรมที่เราอยากออกแบบหรือมองว่าดีที่สุด รวมถึงยังเป็นการช่วยให้เด็กๆ บางคนที่ไม่เข้าใจว่าการเรียนรู้นอกห้องเรียน คืออะไร หรือมีประโยชน์อย่างไรได้เข้าใจและมองเห็นถึงความสำคัญยิ่งขึ้นอีกด้วย

2. สำรวจและสังเกตก่อนจัด เด็กๆ แต่ละคนหรือภาพรวมห้องนี้เป็นอย่างไร เพื่อให้ได้คุณลักษณะหรือเป้าหมายที่ชัดเจนในตัวกิจกรรม

หากการพูดคุยหรือการสอบถามความเห็นไม่เกินผล เด็กๆ บางคนอาจขี้อาจหรืออาจจะไม่กล้าแสดงออก อีกหนึ่งเทคนิคที่ใช้ได้ดีเช่นกันก็คือการลองใช้ทักษะการสังเกตและสำรวจโดยรวมของคุณครูเอง ไม่ว่าจะผ่านการดูผลการเรียน ผลการพัฒนาสมรรถนะหรือการมองหาช่องว่างๆ ต่างๆ ที่ขาดหายไปเพื่อนำมาเป็นโจทย์ในการสร้างลักษณะกิจกรรมที่ตอบโจทย์

ในเคล็ดลับนี้ จริงๆ แล้วก็คือการค้นคว้าหาโจทย์ที่ใช่และที่ดีสุดในการนำออกแบบการเรียนรู้ผ่านการสำรวจ มองหาทั้งในรูปแบบการมองสำรวจเด็กๆ โดยรวมภายในห้อง หรือผ่านข้อมูลต่างๆ ที่เรามีเพื่อช่วยให้เกิดการออกแบบกิจกรรมที่ตรงจุดที่สุดและยังเปรียบเสมือนการมอบการเรียนรู้ที่มีความเป็นส่วนตัวหรือเฉพาะเจาะจง (Personalized Learning) ให้กับเด็กๆ อีกด้วย 

3. นำการเรียนรู้ในรูปแบบ Self-Directed หรือการเรียนรู้ คิดค้น ค้นหา (Exploring) ด้วยตนเอง

การเรียนรู้แบบ Outdoor Education คงจะขาดองค์ประกอบของการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองไปไม่ได้เลย (Self-Directed Learning) และอีกหนึ่งสิ่งที่คุณครูสามารถทำได้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของกิจกรรมก็คือการส่งเสริมในจุดนี้ซึ่งสามารถช่วยทั้งเรื่องของประสิทธิภาพในการเรียนรู้ และยังเพิ่มในด้านความสนุกสนาน การเปิดโอกาสให้เด็กๆ ได้ค้นพบและค้นหาคำตอบ รวมถึงความหมายในมุมหรือด้านต่างๆของกิจกรรมด้วยตัวของเขาเอง กระตุ้นความรู้สึกอยากเรียนรู้ ความสนใจในการเข้าร่วมกิจกรรมและความรู้สึกเป็นอิสระในการค้นหา ค้นพบสิ่งต่างๆ ซึ่งถือเป็นองค์ประกอบ เป็นปัจจัยและบรรยากาศสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างห้องเรียนแบบ Outdoor Education ให้เกิดความประทับใจต่อผู้เรียนที่สุด

4. ใส่ใจกับสิ่งแวดล้อม บรรยากาศ และการเลือกหรือออกแบบสภาพแวดล้อมโดยรวม

สถานที่ (Location) ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญอย่างแน่นอนในการออกแบบการเรียนรู้นอกห้องเรียน และอีกหนึ่งเคล็ดลับที่ช่วยได้ก็คือการใส่ใจกับสิ่งแวดล้อมหรือสถานที่ต่างๆ เหล่านี้ บรรยากาศ ความสะอาด รวมถึงความสะดวกโดยรวม ในบทความ 6 องค์ประกอบที่สำคัญในการสร้างห้องเรียน Outdoor ที่ดีโดย District Administration ผู้เขียนอย่าง Jeanne MacCarty ยังจัดอันดับให้ Location เป็นองค์ประกอบลำดับแรกที่มีความสำคัญอย่างยิ่งและหากผู้สอนมีแพลนกิจกรรมที่ใหญ่ เธอยังแนะนำให้ลองสร้างถามหาอาสาสมัครและไม่กลัวที่จะออกแบบกิจกรรมอย่างที่ใจต้องการ แต่ที่สำคัญที่สุดการคำนึงถึงความปลอดภัยและควรเตรียมพร้อมเผื่อเกิดกรณีฉุกเฉินใดๆ หากจัดในพื้นที่ห่างไกลโรงเรียนนั่งเอง

5. ใช้เครื่องมือเข้ามาช่วยเพื่อให้เกิดความหลากหลายและสนุกในการเรียน

เราใช้งาน EdTech กันเป็นประจำอยู่แล้วในห้องเรียน คราวนี้ก็ถึงเวลาหยิบมาลองใช้กับการเรียนรู้ภายนอกกันบ้าง ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือช่วยจำ ช่วยจด ช่วยอธิบาย หรือไปจนถึงการเล่นเกมอย่างสนุกสนาน การมีเครื่องมือที่ใช่ดังกล่าวก็สามารถช่วยเสริมสร้างสีสันให้กับห้องเรียน Outdoor ของเราได้อย่างไม่ยาก แถมยังช่วยลดงบประมาณกระดาษ รวมถึงอำนวยความสะดวกในการบันทึกผลต่างๆ โดยเฉพาะการบันทึกผลในรูปแบบดิจิทัล ซึ่งสามารถมีประโยชน์อย่างยิ่งในการเรียนรู้ท่ามกลางพื้นที่ Outdoor ที่การตระเตรียมกระดาษต่างๆ อาจเป็นเรื่องยาก ยิ่งหากคุณครูวางแผนการประเมินแบบ Real-Time ระหว่างกิจกรรม การมี EdTech ช่วยประเมินดีๆ จึงถือเป็นอีกหนึ่งเคล็ดลับที่ไม่ควรพลาดเลยค่ะ

อ้างอิง:

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

การเรียนแบบบูรณาการ
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
1:30 ชั่วโมง

คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว

คงจะดีถ้าการอ่านออกเขียนได้ ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป นวัตกรรม3R โรงเรียนบ้านปลาดาว ได้ออกแบบชุดการสอนที่ง่ายและเกิดผล ...

Starfish Academy
Starfish Academy
คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว
Starfish Academy

คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว

Starfish Academy
6714 ผู้เรียน
การเรียนแบบบูรณาการ
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

การสอนคณิตศาสตร์ (3R)

คณิตศาสตร์จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แค่เรามีเทคนิคดีๆ มาเป็นตัวช่วยในการสอน คณิตศาสตร์ของเราก็จะเป็นเรื่องง่าย ไม่น่าเบื่ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
การสอนคณิตศาสตร์ (3R)
Starfish Academy

การสอนคณิตศาสตร์ (3R)

Starfish Academy
2625 ผู้เรียน
การเรียนแบบบูรณาการ
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
2:00 ชั่วโมง

การสอนภาษาไทย (3R)

การสอนภาษาไทยของมูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮมได้ออกแบบมาเพื่อพัฒนาทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน อย่างเป็นระบบเข้าใจง่ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
การสอนภาษาไทย (3R)
Starfish Academy

การสอนภาษาไทย (3R)

Starfish Academy
2691 ผู้เรียน
เครืองมือครู
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
1:30 ชั่วโมง

Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1

คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...

Starfish Academy
Starfish Academy
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
Starfish Academy

Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1

Starfish Academy

Related Videos

โรงเรียนพัฒนาตนเอง : โรงเรียนวัดสันป่าสัก | โรงเรียนบ้านหนองเงือก
15:04
Starfish Academy

โรงเรียนพัฒนาตนเอง : โรงเรียนวัดสันป่าสัก | โรงเรียนบ้านหนองเงือก

Starfish Academy
608 views • 1 ปีที่แล้ว
โรงเรียนพัฒนาตนเอง : โรงเรียนวัดสันป่าสัก | โรงเรียนบ้านหนองเงือก
Starfish Country Home School Foundation [ENG]
03:43
Starfish Academy

Starfish Country Home School Foundation [ENG]

Starfish Academy
71 views • 3 ปีที่แล้ว
Starfish Country Home School Foundation [ENG]
วิจัยและนวัตกรรมด้านการจัดการเรียนรู้ สู่ครูเชี่ยวชาญตามเกณฑ์ วPA
01:17:25
Starfish Academy

วิจัยและนวัตกรรมด้านการจัดการเรียนรู้ สู่ครูเชี่ยวชาญตามเกณฑ์ วPA

Starfish Academy
1621 views • 10 เดือนที่แล้ว
วิจัยและนวัตกรรมด้านการจัดการเรียนรู้ สู่ครูเชี่ยวชาญตามเกณฑ์ วPA
TQSP Kicf Off แนวทางการพัฒนานวัตกรรม
05:59
Starfish Academy

TQSP Kicf Off แนวทางการพัฒนานวัตกรรม

Starfish Academy
315 views • 2 ปีที่แล้ว
TQSP Kicf Off แนวทางการพัฒนานวัตกรรม