5 Ideas ใช้ประโยชน์จากชุมชนออนไลน์ในการสอน
นอกเหนือจากเป็นพื้นที่ในการเชื่อมต่อระหว่างเพื่อนหรือคนรู้จักแล้วเหล่า Social Media หรือชุมชนออนไลน์ต่างๆ ยังถือเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ดีเลยทีเดียวที่เราสามารถนำมาใช้ในการเรียนการสอน ไม่ว่าจะในวิชาอะไร รูปแบบไหน Social Media ก็สามารถเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่เราสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างมากมาย แถมยังเป็นเครื่องมือที่สามารถเชื่อมต่อกับเด็กๆ โดยเฉพาะ แต่เอ้ . . . จะใช้อย่างไรหรือมีรูปแบบไหนกันบ้างนะที่เราสามารถนำ Social Media มาใช้ในห้องเรียนของเรากันได้บ้าง ตาม Starfish Labz มาดูกันในบทความนี้เลยค่ะ
5 Ideas ใช้ประโยชน์จากชุมชนออนไลน์ในการสอน
1.ใช้ Social Media รุ่นใหม่เพื่อเพิ่มความน่าสนใจและการมีส่วนร่วมจากเด็กๆ
โดยปกติเมื่อเราพูดถึง ‘การมีส่วนร่วม’ บน Social Media เราอาจหมายถึงการถูกใจ ความคิดเห็น และการแชร์ในโพสต์บน Social Media แต่ในกรณีของการใช้ Social Media เพื่อการศึกษา ‘การมีส่วนร่วม’ ที่ว่าแน่นอนว่าแตกต่างออกไปสักหน่อยและหมายถึงการที่เด็กๆ รู้สึกชอบ สนใจและอยากเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรม หรือในที่นี้ เราอาจจะใช้คำว่าเราสามารถใช้พื้นที่บน Social Media ในการโปรโมทวิชาของเราให้น่าสนใจ ไม่เพียงแค่ตอนช่วงต้นของการเรียนรู้ แต่ยังสามารถเป็นตลอดการเรียนโดยเฉพาะการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการเข้าถึงเด็กๆ ผ่าน Social Media ใหม่ ๆ เช่น YouTube หรือ TikTok ยิ่งแหวกแนวเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีโอกาสเข้าถึงพวกเขาได้มากเท่านั้น
2.ใช้ Social Media ใหญ่ๆ เพื่อเป็นพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนและทำงานร่วมกัน
นักเรียนส่วนใหญ่รู้สึกสบายใจและมักใช้ Social Media ในการสื่อสารการนำวิธีการสื่อสารในรูปแบบดังกล่าวมาใช้จึงถือเป็นอีกหนึ่งเคล็ดลับที่เราสามารถใช้เพื่อเชื่อมต่อและสร้างพื้นที่ในการแลกเปลี่ยน รวมถึงทำงานร่วมกับพวกเขาได้อย่างดี Social Media ในหลากหลายแพลตฟอร์มยังประกอบด้วยฟีเจอร์มากมายที่เราสามารถใช้เพื่อกระตุ้นการมีส่วนร่วม เพิ่มความน่าสนใจและการแลกเปลี่ยนร่วมกันในการเรียน เรียกว่าเป็นหนึ่งในข้อดีของชุมชนออนไลน์ที่ผู้ใช้งานเพื่อการสอนอย่างเราไม่ควรพลาด
3.ใช้ Social Media หลักๆ ในการเป็นพื้นที่แจ้งข้อมูล ข่าวสาร และเอกสารการเรียนรู้ต่างๆ
Social Media อาจเป็นเครื่องมือสำหรับการสื่อสารแบบ Two-Way Communication หรือการสื่อสารแบบสองทางสำหรับใครหลายๆ คน แต่นอกเหนือจากในรูปแบบ Two-Way แล้วอีกหนึ่งรูปแบบที่มีคุณประโยชน์ไม่แพ้กันก็คือในรูปของ One-Way หรือการสื่อสารแบบทางเดียว เช่น การแจ้งข้อมูล ข่าวสาร รวมถึงการโพสต์เอกสารการเรียนรู้ต่างๆ ที่จำเป็นก่อนการมาเรียนหรือในการเตรียมสอบ ด้วยการใช้ Social Media แทนที่จะเป็น Email นอกเหนือจากการเข้าถึงเด็กๆ ได้อย่างง่าย รวดเร็วกว่า และเป็นวงกว้าง คุณครูยังอาจพบด้วยว่าง่ายและสะดวกต่อตนเองกว่าในรูปแบบอื่นๆ แถมยังมีฟีเจอร์หลากหลายมากมายทั้งในรูปแบบการโพสต์แบบวิดีโอ หรือหากอยากจะลองทำแบบคอนเทนต์กราฟิกสวยๆ เพื่อให้การประกาศน่าสนใจก็สามารถทำได้เช่นกัน ช่วยเพิ่มทั้งความน่าสนใจและความรู้สึกดึงดูดใจในการเรียนรู้ด้วยนะคะ
4.ใช้ Social Media แบบใหม่ ๆ ในการจัดการสนทนา พูดคุย หรือส่งการบ้าน
นอกเหนือจาก Social Media ที่เราคุ้นเคยกันในการสอนวิชาหนึ่งๆ คุณครูสมัยใหม่อย่างเรายังสามารถขยายขอบเขตของคำว่าชุมชนออนไลน์ออกไปอย่างชุมชนออนไลน์คืออะไรในแบบเดิมๆ ให้รวมถึงเหล่าเครื่องมือการเชื่อมต่อใหม่ๆ หรือ EdTech ทางการศึกษาเชิงชุมชนหรือการเชื่อมต่อมากมายที่สามารถหยิบจับมาใช้ได้เพื่อให้เกิดประโยชน์รวมถึงเพื่อให้เกิดความสร้างสรรค์ในการเรียนรู้และการนำเสนอช่องทางการเรียนรู้แบบใหม่ๆ อาทิ การใช้ Clubhouse แพลตฟอร์มการเชื่อมต่อและพูดคุยผ่านเสียงยอดนิยมในการจัดการสนทนาหรือแลกเปลี่ยนสิ่งต่างๆ แบบ Online หากไม่จัดด้วยตนเอง จะลองสั่งให้เด็กๆ จัดการสนทนาขึ้นมาเป็นการบ้านและส่งให้เราประเมินก็ยังได้ รวมถึงการใช้งานอีกหลากหลายแอปพลิเคชันมากมาย อาทิ TikTok หรือ YouTube
การใช้งานเครื่องมือเชิงการแสดงออกเหล่านี้เหมาะเป็นอย่างยิ่งสำหรับคลาสที่ต้องการฝึกการสนทนาหรือทักษะการแสดงต่างๆ รวมถึงการสร้างโอกาสในการสามารถประเมินความสามารถหรือทักษะต่างๆ ของเด็กๆ อย่างเป็นธรรมชาติ ยิ่งพวกเขาอยู่ในพื้นที่ที่ชอบมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีโอกาสที่เขาจะผ่อนคลายและเป็นตัวเองมากเท่านั้น ช่วยให้เรามองเห็นตัวเขาอย่างที่เป็นจริงๆ รวมถึงความสามารถและความก้าวหน้าในการเรียนรู้ต่างๆ นั่นเองค่ะ
5.สร้างบัญชี Social Media สำหรับคลาสหนึ่งๆ โดยเฉพาะ
เราอาจเคยเห็นแต่บัญชีของสถาบันการศึกษา เช่น บัญชี IG โรงเรียน หรือแฟนเพจ Facebook โรงเรียนหนึ่งๆ แต่รู้ไหมคะว่านอกเหนือจากสถาบันแล้ว เรายังสามารถลองนำไอเดียตรงนี้มาดัดแปลงเป็นการสร้างบัญชีคลาสหนึ่งๆ ของเด็กหรือของเราในแต่ละภาคการศึกษาให้เกิดความน่าสนใจเป็นแหล่งรวบรวมความทรงจำ มีการถ่ายภาพรวมกัน มีการโพสต์รางวัลหรือผู้ที่ได้คะแนนดีต่างๆ รวมถึงการอัปเดตข่าวสารโดยเฉพาะ ซึ่งแตกต่างจากการอัปเดตในกลุ่มเนื่องจากเมื่อเป็นบัญชีหรือแฟนเพจ นอกจากเด็กๆ แล้วเรายังเปิดโอกาสให้คนอื่นๆ เข้ามาชื่นชมและสัมผัสประสบการณ์การเรียนรู้ บรรยากาศ และความสามารถของพวกเขาได้อีกด้วย การออกแบบการเชื่อมต่อแบบนี้จึงไม่เพียงช่วยเรื่องการสร้างความกลมเกลียว แต่ยังช่วยกระตุ้นการอยากเรียนรู้และการอยากเป็นส่วนหนึ่งในห้องเรียน รวมถึงความสนุกและความสุขต่างๆ ที่สามารถแบ่งปันร่วมกัน
ยิ่งผู้สอนเลือกแพลตฟอร์มที่ตรงใจเด็กๆ รุ่นใหม่โดยเฉพาะก็ยิ่งมีโอกาสที่จะช่วยดึงดูดพวกเขา รวมถึงสร้างความรู้สึกที่ดีต่อการเรียนรู้ หรือหากใครที่ไม่ชินกับแพลตฟอร์มใหม่ ๆ หรืออยากลองแพลตฟอร์มแบบที่คุ้นเคยหรือง่ายๆ สำหรับคุณครูก่อนจะลองใช้เป็นเทคโนโลยีการศึกษาประเภทห้องเรียน อาทิ Microsoft Teams หรือ Starfish Class ที่มีฟีเจอร์สร้างห้องเรียนสำหรับเด็กๆ โดยเฉพาะหรือจะเริ่มต้นเรียนรู้วิธีการเชื่อมต่อแบบง่ายๆ ก่อนผ่านเว็บไซต์ชุมชนออนไลน์มากมาย อาทิ Starfish Labz เชื่อว่าจะช่วยให้รู้สึกกังวลน้อยลงเพราะมีหลากหลายฟีเจอร์ที่ออกแบบมาให้ใช้งานได้อย่างง่ายแถมยังเป็นการเริ่มต้นแบบสบายๆ อีกด้วย
กล่าวได้ว่านี่คือ 5 ไอเดียที่น่าสนใจอย่างยิ่งสำหรับการใช้งานสังคมออนไลน์และการใช้เทคโนโลยีการศึกษาในการเชื่อมต่อ ใครที่กำลังมองหาวิธีการใหม่ ๆ ในการเชื่อมต่อกับผู้เรียน อย่าลืมนำวิธีเหล่านี้ไปลองใช้กันนะคะ
อ้างอิง:
บทความใกล้เคียง
Related Courses
การสอนภาษาไทย (3R)
การสอนภาษาไทยของมูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮมได้ออกแบบมาเพื่อพัฒนาทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน อย่างเป็นระบบเข้าใจง่ ...
การสอนคณิตศาสตร์ (3R)
คณิตศาสตร์จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แค่เรามีเทคนิคดีๆ มาเป็นตัวช่วยในการสอน คณิตศาสตร์ของเราก็จะเป็นเรื่องง่าย ไม่น่าเบื่ ...
Professional Development
การพัฒนาวิชาชีพ (Professional Development) เป็นกระบวนการพัฒนาทักษะ ความรู้ และความสามารถที่จำเป็นในการทำงานแล ...
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...