เคล็ดไม่ลับ ครองใจผู้เรียนด้วยเทคนิคการปฏิสัมพันธ์ทางการเรียนรู้

Starfish Labz
Starfish Labz 2376 views • 10 เดือนที่แล้ว
เคล็ดไม่ลับ ครองใจผู้เรียนด้วยเทคนิคการปฏิสัมพันธ์ทางการเรียนรู้

ในยุคที่มีเทคนิคการสอนมากมาย ทั้งแบบศาสตร์ใหม่และหลากหลายแขนงให้เราได้ลองใช้กันแต่ในบรรดาหลากหลายแขนงใหม่นี้ ยังมีอีกหนึ่งเคล็ดลับแบบดั้งเดิมทว่าแสนง่ายและยังคงใช้ประโยชน์ได้จริงมาจนถึงปัจจุบันนั่นก็คือการเรียนการสอนที่เรียกว่าการปฏิสัมพันธ์ทางการเรียนรู้ หรือการเรียนรู้ที่เน้นให้ความสำคัญกับสิ่งพื้นฐานทว่าแสนมีความหมายอย่าง ความสัมพันธ์

ความสัมพันธ์ หรือ Relationships สำคัญอย่างไรในการเรียนการสอน ระหว่างคุณครูและนักเรียน รวมถึงระหว่างนักเรียนด้วยกันเอง สามารถใช้เคล็ดลับในการครองใจผู้เรียนหรือเสริมสร้างห้องเรียนที่ดีได้อย่างไร ตาม Starfish Labz มาเรียนรู้กันในบทความนี้เลยค่ะ

การปฏิสัมพันธ์ทางการเรียนรู้คืออะไร? เมื่อความสัมพันธ์อาจคือทุกอย่างสำหรับการรับรู้และการเรียนรู้ที่ดี

ความสัมพันธ์ถือเป็นประตูเชื่อมต่อระหว่างคนสองคน เมื่อพูดถึงการส่งต่อสิ่งหนึ่งๆ จากคนหนึ่งสู่อีกคน การกลับมาตั้งต้นเรื่องของการเชื่อมต่อหรือการปฏิสัมพันธ์จึงถือว่าเป็นหนึ่งในหัวใจของการเรียนรู้นั่นเองค่ะ โดยเมื่อกล่าวถึงเรื่องของความสัมพันธ์ในบริบทของห้องเรียนแล้ว คุณครูหลายๆ คนอาจคิดว่าเอ้ เราคงไม่มีเวลาที่จะมาสร้างความสัมพันธ์หรือใส่ใจกับสิ่งต่างๆ ในเด็กๆ ทุกคนได้ตลอดเวลา คงเป็นไปไม่ได้หรอกเราที่จะมีความสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กได้อย่างดีตลอด หมดทุกคน หรือแม้แค่คิดว่าจะต้อง ‘สร้างความสัมพันธ์’ ก็รู้สึกเหนื่อยและท้อแท้ขึ้นมาแล้ว แต่จริงๆ แล้วคำว่าสร้างความสัมพันธ์ในบริบทของการเรียนรู้หรือในห้องเรียนนี้ไม่ได้ถึงว่าเราต้องมุ่งมานะในการเอาใจ ใส่ใจ หรือต้องคอยประคบประหงมหรือดูแลเด็กๆ แบบนั้นเลยค่ะ

สำหรับในส่วนของห้องเรียนหรือคุณครู การสร้างความสัมพันธ์ที่ว่าหมายถึงการใส่ใจกับ 

‘ปฏิสัมพันธ์’ หรือ ‘Interaction’ ในแต่ละครั้งนั่นเองโดยเจ้าตัวปฏิสัมพันธ์ที่ว่านี้จะเป็นทั้งที่เรามีแบบธรรมชาติๆ หรือจะเป็นที่เราพยายามลองมีหรือลองเข้าหาเด็กๆ ด้วยในบางครั้งก็ได้นั่นเอง ยิ่งเรามีเจ้าโมเมนต์ปฏิสัมพันธ์ที่ดีนี้ต่อกันเท่าไหร่ หัวใจของทั้งสองฝ่ายก็จะยิ่งค่อยๆ พองโตและพร้อมที่จะเปิดใจ รับการเรียนรู้จากกันและกันนั่นเอง

Interactive Learning - Relational Learning ต่างกันนะ อย่าเข้าใจผิด

 การปฏิสัมพันธ์ทางการเรียนรู้มีชื่อในภาษาอังกฤษว่า Relational Learning อ่านมาถึงตรงนี้ หลายคนๆ คงคิดว่า ไม่ใช่ Interactive Learning เหรอ ไหนบอกว่าต้องเป็น Interaction?

คำตอบจริงๆ แล้ว หากจะใช้กันแบบพูดทั่วๆ ไปนั้นได้ค่ะ แต่หากจะใช้ในบริบทเชิงศัพท์เฉพาะหรือที่เรามักนำมาเรียกใช้ตัววิธีหรือเทคนิคกันจริงๆ หากเราใช้คำว่า Interactive Learning นั้นตัวความหมายจะผิดเพี้ยนไปจากสิ่งที่เรียกว่าการปฏิสัมพันธ์ทางการเรียนรู้อย่างมาก เนื่องจากในปัจจุบันคำว่า Interactive Learning มักถูกนำมาใช้ในบริบทการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) หรือการเรียนรู้ที่เน้นให้เด็กๆ มีโอกาสลงมือทำ มีกิจกรรม หรือกลับมาที่ตัวเด็กๆ

เจ้าคำว่า Interactive นี้จริงๆ ก็คือการเน้นให้เด็กๆ มีการปฏิสัมพันธ์กับคุณครูเช่นเดียวกัน แต่ในบริบทของ Interactive Learning จะเป็นในแง่ของการตอบโต้ พูดคุย มีการสอบถามแลกเปลี่ยน เป็นการเน้น ‘การกระทำ’ หรือที่ต่างจากการเรียนรู้แบบเดิมทั่วๆ ไปที่มักมีความ Passive หรือไม่ค่อยมีการตอบโต้ระหว่างครูนักเรียนหรือแม้กระทั่งระหว่างนักเรียนด้วยกัน ซึ่งแม้อาจจะดูเหมือนเป็นเรื่องของความสัมพันธ์ แต่โดยส่วนใหญ่เวลาที่เราใช้วิธีการนี้ เราก็มักไม่ค่อยได้นึกถึงเจ้า ‘เส้น หรือ สายสัมพันธ์’ กันหรอก คุณครูส่วนใหญ่ก็มักจะเน้นกันไปที่การตอบโต้ พูดคุย ให้คำแนะนำ แลกเปลี่ยน แต่การปฏิสัมพันธ์ทางการเรียนรู้หรือ Relational Learning นี้คือการกลับมาที่เส้นสัมพันธ์ หรือการให้ความสำคัญกับลักษณะของการตอบโต้หรือการปฏิสัมพันธ์นั่นเอง

เราคุยกับเด็กๆ อย่างไร น้ำเสียงของเราโอเคไหม โทนเสียงของเราเป็นอย่างไร ใบหน้า วิธีการเอ่ย ลักษณะการใช้ รวมถึงท่าทางของเรา สิ่งๆ ต่างเหล่านี้ล้วนคือองค์ประกอบ Relational Learning ที่ต่างออกไปจาก Interactive Learning และการเข้าใจความแตกต่างของทั้งสองอย่างนี้ยังช่วยให้เรามองเห็นจุดเด่นและแก่นแท้ของการปฏิสัมพันธ์ทางการเรียนรู้ได้แจ่มแจ้งและดีเลยทีเดียวค่ะ

เคล็ดลับสร้างการปฏิสัมพันธ์การเรียนรู้ที่ดี เพียงแค่นี้ ก็มัดใจเด็กๆ ได้อยู่มัด

1. เริ่มต้นที่เราเพื่อก้าวออกสู่ภายนอก (Start in You)

ความสัมพันธ์เป็นเรื่องภายใน ยิ่งเราอยากมีความสัมพันธ์ที่ดีหรืออยากลองมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีทั้งต่อตัวเองและผู้อื่นแค่ไหน เราก็อาจยิ่งต้องลองเปิดใจให้กับตัวเองนั่นเองค่ะ ในวิธีการนี้คุณครูสามารถลองเริ่มต้นง่ายๆ ด้วย Self-Care หรือการดูแลตัวเองด้วยวิธีต่างๆ การเรียนรู้วิธีการที่ใช่ในการรัก ชื่นชมและเปลี่ยนแปลงตัวเอง

2. ปรับ เพิ่ม เสริมแต่อาจยังคงต้องอยู่ในกรอบที่เป็นตัวเรา (Authenticity)

เราอาจอยากลองพูดด้วยโทนเสียงที่หวานหรือนุ่มนวล เราอาจอยากลองเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพหรือลักษณะท่าทางต่างๆ แต่หัวใจสำคัญของการเปลี่ยนแปลงนี้ก็คืออย่างน้อยที่สุด Starfish Labz ยังคงแนะนำให้เป็นตัวเราหรือในกรอบที่เรารู้สึกว่านี่แหละ ไม่ฝืน ไม่เป็นคนอื่นเกินไป หรือเป็นตัวเราในแบบที่ใช่ สามารถนำไปพัฒนาหรือลองใช้งานต่อได้จริงๆ

3. เรียนรู้เคล็ดลับเรื่องความสงบ (Peace/Calmness) แสนง่ายแต่ใช้ได้จริง

ความสงบถือเป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบที่สามารถครองใจเด็กๆ ได้อยู่มัด เด็กๆ ทุกคนล้วนต้องการใครสักคนที่รับฟังหรือพูดคุยกับเขาด้วยท่าทีหรือโทนเสียงที่ฟังแล้วสบายใจ ยิ่งเราสามารถลองค่อยๆ ฝึกในจุดได้เท่าไหร่ บอกเลยว่ายิ่งสามารถช่วยในเรื่องการปฏิสัมพันธ์กันได้อย่างดี แถมยังมีโบนัสในเรื่องการพัฒนาทางความรู้สึกหรือจิตใจของเราเองอีกด้วย

4. ส่งเสริมให้เด็กๆ มีการเรียนรู้ในด้านนี้ต่อกัน (Togetherness)

ห้องเรียนที่มีการปฏิสัมพันธ์การเรียนรู้ที่ดียังรวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างเด็กๆ ในเคล็ดลับนี้ คุณครูอาจลองชวนพวกเรียนรู้ถึงการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกันที่ดีโดยตรง หรือจะคอยเป็นกำลังเสริม สร้างกิจกรรมกระชับมิตรต่างๆ รวมถึงการให้คำปรึกษาและเป็นที่พึงพาให้กับเด็กๆ บางคนที่อาจจะไม่เก่งในเรื่องการหาเพื่อนหรือการสื่อสาร

5. ให้ความสบายใจ ความเป็นธรรมชาติและความรู้สึกดีคอยนำทางเรา (Treading with Comfort)

การใช้เทคนิคนี้ถือเป็นการใช้งานในระยะยาวหากเรารีบร้อนหรือรีบฝึกจนเกินไป เราก็อาจจะฝืนหรือกลายเป็นใครที่เราไม่อยากเป็น วิธีการที่ดีที่สุดในการพัฒนาตรงนี้จึงคือการค่อยเป็นค่อยและให้ความเป็นธรรมชาติ ความรู้สึกที่ดีที่สุดนำทางเรานั่นเองค่ะ โดยเมื่อคุณครูรู้สึกดีแล้ว ก็จะยิ่งมีกำลังใจและสามารถลองสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กๆ ต่อไปได้เรื่อยๆ

อ้างอิง:

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

เครืองมือครู
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
1:30 ชั่วโมง

Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1

คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...

Starfish Academy
Starfish Academy
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
Starfish Academy

Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1

Starfish Academy
1058 ผู้เรียน
การเรียนแบบบูรณาการ
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
1:30 ชั่วโมง

คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว

คงจะดีถ้าการอ่านออกเขียนได้ ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป นวัตกรรม3R โรงเรียนบ้านปลาดาว ได้ออกแบบชุดการสอนที่ง่ายและเกิดผล ...

Starfish Academy
Starfish Academy
คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว
Starfish Academy

คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว

Starfish Academy
5 (2 ratings)
7355 ผู้เรียน
การเรียนแบบบูรณาการ
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

การสอนคณิตศาสตร์ (3R)

คณิตศาสตร์จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แค่เรามีเทคนิคดีๆ มาเป็นตัวช่วยในการสอน คณิตศาสตร์ของเราก็จะเป็นเรื่องง่าย ไม่น่าเบื่ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
การสอนคณิตศาสตร์ (3R)
Starfish Academy

การสอนคณิตศาสตร์ (3R)

Starfish Academy
2767 ผู้เรียน
เครืองมือครู
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ด้านความสัมพันธ์
basic
3:00 ชั่วโมง

เทคนิคการจัดการเรียนรู้ และการจัดการชั้นเรียนให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีกับผู้เรียน

เผยเคล็ดลับ! เทคนิคการจัดการเรียนรู้และชั้นเรียน สู่ผลลัพธ์ที่ดีกับผู้เรียน พร้อมไหมที่จะยกระดับการสอนของคุณ? คอร์สออนไลน์นี้ร ...

นายตะวัน แสงทอง
นายตะวัน แสงทอง
เทคนิคการจัดการเรียนรู้ และการจัดการชั้นเรียนให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีกับผู้เรียน
นายตะวัน แสงทอง

เทคนิคการจัดการเรียนรู้ และการจัดการชั้นเรียนให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีกับผู้เรียน

นายตะวัน แสงทอง

ต้องใช้ 100 เหรียญ

Related Videos

Makerspace Day #1
07:41
Starfish Academy

Makerspace Day #1

Starfish Academy
598 views • 2 ปีที่แล้ว
Makerspace Day #1
TSQP Kick Off แนวคิดห้องเรียนแห่งความสุข
05:24
Starfish Academy

TSQP Kick Off แนวคิดห้องเรียนแห่งความสุข

Starfish Academy
503 views • 3 ปีที่แล้ว
TSQP Kick Off แนวคิดห้องเรียนแห่งความสุข
เทคนิคการสอน สอนอย่างไรให้ได้ “สมรรถนะ”
03:45
Starfish Academy

เทคนิคการสอน สอนอย่างไรให้ได้ “สมรรถนะ”

Starfish Academy
8385 views • 3 ปีที่แล้ว
เทคนิคการสอน สอนอย่างไรให้ได้ “สมรรถนะ”
Starfish Country Home School Foundation [ENG]
03:43
Starfish Academy

Starfish Country Home School Foundation [ENG]

Starfish Academy
91 views • 3 ปีที่แล้ว
Starfish Country Home School Foundation [ENG]