พลิกโฉมการเรียนรู้ ครูทำได้ (เรียนรู้อย่างมีความสุขด้วย BBL)
Brain-based Learning : BBL คือ ทฤษฎีเกี่ยวกับพัฒนาการทางสมองของมนุษย์ และระบบประสาทวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการสอน และการปรับเปลี่ยนตัวแปรต่างๆ ในโรงเรียนเพื่อให้เอื้อต่อการพัฒนาของสมองนักเรียน (Renate N. Caine & Geoffrey Caine เป็นผู้นำความรู้ ด้านการทำงานของสมองมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน) ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ ทำให้มนุษย์รู้จักสมองมากขึ้น การวัดคลื่นที่มีชื่อว่า EEG การศึกษาสมองของเด็ก เช่น ถ้าเด็กอ่านหนังสือที่ชอบ คลื่นสมองเด็กจะเป็นอย่างไร ผลปรากฎว่า ถ้าเด็กได้อ่านหนังสือที่ชอบ เซลล์ในสมองที่พร้อมจะเรียนรู้จะแตกตัว และจะเรียนรู้ได้เยอะขึ้น
ในสมองของเด็กกำลังทำอะไรอยู่ ขณะที่เด็กกำลังเล่นเกม
1. เชิงบวก
- วิเคราะห์ วางแผน ตื่นเต้น วางแผน ตื่นตัว เรียนภาษา สมาธิจดจ่อ มีความสุข
- สมองจะประมวลผลข้อมูลได้เร็วขึ้น
- สมองสามารถเรียนรู้เรื่องราวต่างๆ มากมายมหาศาลจากคอมพิวเตอร์
- เด็กจะรู้จักจังหวะ ระยะ และมิติมากขึ้น
- มีความพร้อมในการเรียนรู้
2. เชิงลบ
- เครียด หงุดหงิด รอคอยไม่ได้ ใช้คำหยาบ มุ่งแต่ชนะ สมาธิสั้น
- เด็กไม่ชอบสิ่งที่น่าเบื่อและช้ากว่า
- เด็กจะคุ้นเคยกับความรุนแรงและมีแนวโน้ม ชอบความรุนแรง โดยไม่รู้ว่าผิด
- เด็กมีแนวโน้มจะกลายเป็นคนก้าวร้าว และไม่ทนกับสิ่งที่ไม่ถูกใจ
สมองเรียนรู้ได้อย่างไร
เซลล์สมองมี 100,000 ล้านเซลล์ มีหน้าที่ เรียน คิด จำ การเรียนรู้ของสมองดีที่สุดช่วงอายุ 0-10 ปี เซลล์สมองงอกงาม โดยมี เดนไดรต์ (รับข้อมูล) ตัวเซลล์ แอกซอน (ส่งข้อมูล) สมองเรียนรู้ โดย 1.เดนไดรต์ (รับข้อมูล) ส่งต่อ 2.แอกซอน (ส่งข้อมูล) 3.ซีนแนปส์ (การเรียนรู้)
การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีเมื่อ Prior Learning : วงจรความรู้เดิมที่มีอยู่ในสมอง หรือ ประสบการณ์เดิมที่นักเรียนเรียนรู้มาเข้าใจมาก่อน
- วงจรเซลล์สมองเดิม = ความรู้เดิม (Prior Learning)
- ทบทวนความรู้เดิม ก่อนสอนความรู้ใหม่
- เชื่อมความรู้ใหม่กับความรู้เดิม = การเรียนรู้ง่ายขึ้น สนุก น่าสนใจมากขึ้น
สมอง 4 ส่วน
- สมองส่วนหน้า (คิด จำ ใช้เหตุผล ประมวลผลข้อมูล)
- สมองส่วนรับสัมผัส
- สมองส่วนรับเสียง
- สมองส่วนรับภาพ
และสมองน้อย ควบคุมท่วงท่าและการเคลื่อนไหว
สมองส่วนหน้า คิด จำ ใช้เหตุผล ประมวลผลข้อมูล
ทักษะการคิด : ใช้เหตุผล เปรียบเทียบ แยกหมวดหมู่ เรียงลำดับ วิเคราะห์ แก้ปัญหา คิดสร้างสรรค์
ยกตัวอย่าง หากเราใช้เด็กนั่งอ่านหนังสือ แล้วเท้าปั่นจักรยานไปด้วย จะทำให้การจดจำดีขึ้น เพราะมีไขสันหลัง มารับส่งข้อมูล
สมองน้อย ถูกออกแบบมาตามธรรมชาติให้ควบคุมการเคลื่อนไหวทุกท่วงท่า ต้องพัฒนาสมองส่วนนี้ผ่าน การทำงาน การออกกำลังกาย และการเล่นกีฬา
- สมองน้อยและไขสันหลังแข็งแรง สมองใหญ่ทำงานได้ดี
- สมองน้อยมีส่วนช่วยสมองใหญ่คิดและจำ
- ไขสันหลังรับส่งข้อมูลได้ดี เด็กก็เรียนรู้ได้เร็ว ดังนั้น การเคลื่อนไหว-ออกกำลังกาย ช่วยสร้างเส้นเลือดใหม่ขึ้นในสมอง แม้ว่าอายุมากแล้วก็ยังสร้างได้ เส้นเลือดใหม่ๆ มีส่วนสร้างเซลล์สมองใหม่ด้วย
จัดการเรียนรู้ให้สารเคมีในสมองสมดุล
ตัวที่ 1 เอ็นดอร์ฟิน (Endorphin) สารแห่งความสุข บรรเทาความเจ็บปวด : ถ้ามีเอ็นดอร์ฟินในสมองปกติ จะช่วยให้ 1. ระงับความเจ็บปวด 2.เพิ่มการหลั่งสารโดปามีน 3. ทำให้เกิดความรู้สึกพอใจ 4. ควบคุมความอยากอาหาร เพิ่มภูมิคุ้มกัน 5. คลายเครียด
กุญแจสำคัญ
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ได้รับแสงแดด
- ทำกิจกรรมที่มีความตื่นเต้น
- ฟังเรื่องตลก ฟังเพลง
- ได้กลิ่นบางชนิด เช่น กลิ่นวานิลลา ลาเวนเดอร์
- รับประทานช็อกโกแลต ประมาณ 6.7 กรัมต่อวัน และอาหารที่มีรสเผ็ด
ตัวที่ 2 เซเรโทนิน (Serotonin) สารแห่งความกระฉับกระเฉง : ความ Active มีพลังงาน ถ้ามีเซเรโทนินในสมองปกติ จะช่วยให้ 1.กระฉับกระเฉง 2. ความรู้สึกอยากกินเรื่อยๆ ลดลง แต่ถ้ามีน้อยจะทำให้เกิด 1. ความซึมเศร้า หมดอาลัยตายอยาก 2. ชอบนอน 3. พฤติกรรมกินอาหารเพิ่ม 4. ก้าวร้าว
กุญแจสำคัญ
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- ขณะเรียนควรกระตุ้นให้ร่างกายเคลื่อนไหว เพื่อให้ระดับเซโรโทนินปกติ นักเรียนกระฉับกระเฉง เรียนรู้ได้ดีขึ้น
ตัวที่ 3 คอร์ทิซอล (Cortisol) สารแห่งความเครียด : ความเครียด ภาวะท้าทาย ถ้ามีคอร์ทิซอลในสมองมาก จะช่วยให้ 1. เรียนรู้ความรู้ใหม่ได้ยาก สมองตื้อ 2. กระวนกระวาย 3. จำอะไรไม่ได้
กุญแจสำคัญ
- สมองจะสั่งให้ร่างกายผลิตคอร์ทิซอลขึ้น เมื่อสมองเครียด
- ในสภาวะกดดัน มีปัญหาที่หาทางออกไม่ได้ จิตใจเศร้า เครียด ระดับคอร์ทิซอลจะเพิ่มขึ้น
ตัวที่ 4 โดปามีน (Dopamine) สารแห่งความสุข : สร้างแรงจูงใจ มุ่งมั่น พึงพอใจ ถ้ามีโดปามีนในสมองปกติ จะช่วยให้ 1. มีสมาธิ ควบคุมตัวเองได้ดี 2.กระตือรือร้น สนใจมุ่งมั่น 3. อยากรู้ อยากลองสิ่งใหม่
กุญแจสำคัญ
- ต้องมีกิจกรรมที่สมองมีความสุขและพึงพอใจ
- จัดประสบการณ์ที่เหมาสมกับเด็ก ให้สมองได้ทำในสิ่งที่ยากกว่าระดับเล็กน้อย ท้าทายจนเด็กสามารถทำได้
สรุป
- โดปามีน
กระตุ้นโดย ความพึงพอใจ ความสำเร็จ รางวัล
ผลต่อการเรียนรู้ แรงจูงใจที่จะเรียนรู้
- คอร์ติซอล
กระตุ้นโดย ถูกดุด่า ต้องทำเรื่องยากเกินไป เครียดยาวนาน
ผลต่อการเรียนรู้ สมองตื้อตัน คิดไม่ออก จำไม่ได้
- เอ็นดอร์ฟิน
กระตุ้นโดย ออกกำลังกาย กลิ่น เรื่องตื่นเต้น
ผลต่อการเรียนรู้ คลายเครียด บรรเทา เจ็บปวด มีความสุข
- เซโรโทนิน
กระตุ้นโดย ออกกำลังกาย กิจกรรม
ผลต่อการเรียนรู้ กระฉับกระเฉง ไม่ง่วงนอน
วงจรอารมณ์ (The limbic system)
- ทาลามัส จุดควบคุมการผ่านของสัญญาณข้อมูล
- ไฮโปทาลามัส ปรับสมดุลพลังงานในร่างกาย
- อะมิกดาลา ความชอบ ความอยาก ภาวะคับขัน อันตราย
- ฮิปโปแคมปัส เก็บความจำ
ความจำของสมอง
- ความจำขณะคิด Working memory
- ความจำระยะสั้น Short-term memory
- ความจำถาวร Long-term memory
สมองเรียนรู้ได้ดีขึ้น เมื่อกระตุ้นสมองทั้งสองซีก ส่วนเชื่อสมองสองซีก คือ คอร์ปัส แคลโลซัม
สมองซีกซ้าย
- จำรายละเอียด
- ใช้เหตุผล
- รู้ภาษา
- คิดคำนวณ
สมองซีกขวา
- จังหวะ ทำนอง บทเพลง
- จินตนาการ
- ความรู้สึกโดยรวม
- มิติสัมพันธ์
สมองเรียนรู้ได้ดี เมื่อไม่มีข้อมูลอื่นเข้ามารบกวนสมอง
- Working memory มีความจุจำกัด ไม่สามารถรับข้อมูลมากๆ ได้
- อย่า Distract สมองในขณะคิด สมองจะจำไม่ได้
- สิ่งที่ Distract สมอง ได้แก่ สื่อที่ตกแต่งมากเกินไป บอร์ดที่ใช้สีฉูดฉาด ผนังห้องไม่มีที่ว่าง กลิ่น เสียง ฯลฯ
สมองเรียนรู้ได้ดี เมื่อมีเครื่องมือช่วยคิดช่วยจำ
ตัวอย่างทฤษฎี BBL
ทฤษฎี BBL 1 : สอนโดยใช้บทกลอน บทเพลง และจังหวัด อย่างสม่ำเสมอ เพื่อกระตุ้นการทำงานของสมองซีกขวา
ทฤษฎี BBL 2 : นำเนื้อหาที่จะสอนมาดัดแปลงส่วนใดส่วนหนึ่งเป็นเกม หรือกิจกรรมที่สนุก เพื่อกระตุ้นการหลั่งของสารโดปามีน
ทฤษฎี BBL 3 : สร้างนั่งร้าน (Scaffolding) ให้สมองเริ่มเรียนจากสิ่งที่ง่ายที่สุดที่รู้แล้ว แล้วค่อยๆ ต่อยอดทีละขั้น
ทฤษฎี BBL 4: นำ Graphic Organizer (GO) มาใช้ในกระบวนการเรียนรู้เพื่อให้สมองเรียนรู้ง่ายขึ้น
ทฤษฎี BBL 5: การเลือกสรรสื่อกระตุ้นความคิด (Thinking Tools) เข้ามาใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอนและการฝึกเพื่อกระตุ้นสมองให้เกิดความรู้สึกแปลกใหม่
กระบวนการเรียนรู้ BBL 5 ขั้นตอน
1. อุ่นเครื่อง (Warm-up)
- Brain Exercise การเคลื่อนไหวข้ามแกนกลางลำตัว เพื่อกระตุ้นสมอง 2 ซีก
- Rhythm การเคลื่อนไหวร่างกายอย่างอิสระ ใช้เสียงเพลง จังหวะ อุปกรณ์ประกอบการเรียนเคลื่อนไหว ส่งเสริมจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์
- Stretching การยืดเส้น ยืดสาย หรือโยคะ ทำให้สมองน้อยพัฒนา
2. นำเสนอความรู้ (Present)
- เริ่มสอนจากของจริง สิ่งใกล้ตัว
- ใช้สื่อที่แปลกใหม่ น่าสนใจ
- ใช้ชาร์ตบทคล้องจอง หรือบทเพลง
- ใช้กระดานเคลื่อนที่นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบ
- ใช้สื่อเทคโนโลยี ให้เป็นประโยชน์
3. ลงมือเรียนรู้ (Learn-Practice)
- นักเรียนได้เคลื่อนไหวในกิจกรรมการเรียนรู้ เช่น ตบการ์ดคำศัพท์ ถือบัตรตัวอักษร
- นักเรียนลงมือใช้สื่อและเครื่องมือต่างๆ เรียนรู้จากสื่อ/เครื่องมือที่ครูเตรียมมาให้
- นักเรียนได้ลงมือทำทุกคน เรียนรู้จากการลงมือทำด้วยตนเอง ไม่ใช่ดูตัวอย่างจากครู หรือเพื่อนทำ
- ฝึกทำซ้ำๆ จนเข้าใจและมองเห็น Pattern ขององค์ความรู้นั้น สิ่งสำคัญคือใบงานและกิจกรรม
4. สรุปความรู้ (Summary)
- การนำประสบการณ์ทั้งหมดที่เกิดจากการเรียนรู้ มาสรุปรวบยอดอีกครั้ง ครูอาจใช้เทคนิคการตั้งคำถามเพื่อกระตุ้นให้นักเรียนคิด และสรุปองค์ความรู้ด้วยตนเอง
- ลองใช้เทคนิค “คำถามไต่ระดับ” ผ่าน Bloom’s Taxonomy 6 ขั้น
ขั้น Create ถามเพื่อกระตุ้นไอเดียใหม่ๆ
ขั้น Evaluate ถามเพื่อให้ตัดสินใจ
ขั้น Analyse ถามเพื่อให้เห็นความสัมพันธ์
ขั้น Apply ถามเพื่อให้ทดลองใช้ความรู้
ขั้น Understand ถามเพื่อให้อธิบาย
ขั้น Remember ถามเพื่อรื้อฟื้นความจำ
5. ประยุกต์ใช้ความรู้ (Apply)
นำความรู้ที่มีอยู้ในประยุกต์ใช้สร้างสรรค์ชิ้นงานใหม่ๆ และแก้ปัญหาได้
PERMA องค์ประกอบที่ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้
P = Positive Emotions บรรยากาศก่อให้เกิดอารมณ์เชิงบวก เช่น เพลิดเพลิน ตื่นเต้น ภูมิใจ
E = Engagement มีกิจกรรมที่ทำให้นักเรียนรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งในการเรียนรู้
R = Relationship มีความสัมพันธ์ที่ดีภายในห้องเรียน คอยสนับสนุนและให้กำลังใจกันและกัน
M = Meaning นักเรียนรับรู้ว่าสิ่งที่เรียนรู้มีความหมาย และมีคุณค่าต่อตนเอง เกิดแรงจูงใจในการเรียน
A = Accomplishment มองเห็นเป้าหมายในการเรียนรู้และเห็นว่าตนเองมีการพัฒนาที่ดีขึ้น
Related Courses
การสอนภาษาไทย (3R)
การสอนภาษาไทยของมูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮมได้ออกแบบมาเพื่อพัฒนาทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน อย่างเป็นระบบเข้าใจง่ ...
การสอนคณิตศาสตร์ (3R)
คณิตศาสตร์จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แค่เรามีเทคนิคดีๆ มาเป็นตัวช่วยในการสอน คณิตศาสตร์ของเราก็จะเป็นเรื่องง่าย ไม่น่าเบื่ ...
Professional Development
การพัฒนาวิชาชีพ (Professional Development) เป็นกระบวนการพัฒนาทักษะ ความรู้ และความสามารถที่จำเป็นในการทำงานแล ...
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...