การเรียนรู้แบบร่วมมือคืออะไร? มีประโยชน์อย่างไรต่อคุณครูและเด็กๆ

Starfish Labz
Starfish Labz 16484 views • 7 เดือนที่แล้ว
การเรียนรู้แบบร่วมมือคืออะไร? มีประโยชน์อย่างไรต่อคุณครูและเด็กๆ

หากพูดถึงหนึ่งในเครื่องมือการเรียนการสอนขวัญใจคุณครูหลายๆ คน เครื่องมืออย่างการเรียนรู้แบบร่วมมือหรือการเรียนรู้เชิงกลุ่มคงเป็นหนึ่งในเครื่องมือ ที่ผุดขึ้นมาในใจใครหลายๆ คน ไม่ว่าจะด้วยเรื่องคุณภาพ ประสิทธิภาพ หรือความสะดวกสบาย ใครๆ ก็ชื่นชอบและอยากใช้วิธีการเรียนรู้แบบกลุ่มอยู่เสมอ

แต่เอ้ แม้เราจะชอบหรืออยากลองใช้ แต่จริงๆ แล้วที่ผ่านมาเราเข้าใจหรือใช้เครื่องมือนี้อย่างเกิดประโยชน์ที่สุดแล้วหรือยังนะ? ในบทความนี้ Starfish Labz จะชวนคุณครูและผู้อ่านทุกคนมาเรียนรู้การเรียนรู้แบบร่วมมือกันใหม่ เจ้าเครื่องมือนี้คืออะไร? มีประโยชน์อย่างไร? และควรใช้อย่างไรเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ถ้าพร้อมแล้ว มาเริ่มเรียนรู้และหาคำตอบกันเลย

 การเรียนรู้แบบร่วมมือคืออะไร?

การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) หรือที่มักเรียกโดยย่อว่า CL คือวิธีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางรูปแบบหนึ่ง มีแก่นกลางหรือหัวใจสำคัญในการเน้นให้ผู้เรียนเรียนรู้ร่วมกัน ส่งเสริมให้ผู้เรียนทำกิจกรรมหรือแก้ไขปัญหาหนึ่งๆ ร่วมกันในรูปบบกลุ่มจนเกิดความสำเร็จ เกิดเป็นกระบวนการการเรียนรู้ที่มีความหมายร่วมกันหรือมีการพัฒนาทักษะหนึ่งๆ ร่วมกันผ่านกระบวนการดังกล่าว โดยแม้ปกติเราจะคุ้นเคยกับการเรียนรู้แบบร่วมมือในรูปแบบกลุ่ม มองว่าการเรียนรู้แบบร่วมมือต้องอยู่ในลักษณะงานกลุ่มเท่านั้น แต่จริงๆ แล้ว การเรียนรู้แบบร่วมมือยังสามารถแตกแยกย่อยออกเป็นอีกหลากหลายรูปแบบได้มากมาย อาทิ

  • Student Teams - Achievement Divisions: เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือสำหรับการนำมาใช้หลังจากที่มีการจัดเรียนการสอนเนื้อหาให้แก่ผู้เรียนเรียนทั้งชั้นไปแล้ว ผู้สอนต้องการให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าร่วมกันภายในทีม สืบเนื่องจากสิ่งที่ครูได้สอนไป
  • Team Tournament Game: เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือเชิงกลุ่มในรูปแบบเกม แต่ละทีมแข่งขันการตอบคำถาม เหมาะสำหรับการนำมาใช้ทบทวนหลังเรียนแต่ละบทเรียน
  • Learning Together: เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือเชิงการเรียนร่วมกัน มักถูกนำมาใช้สำหรับการค้นหาและอภิปรายเชิงกลุ่ม
  • Roundtable: เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือสำหรับนักเรียนมากกว่า 2 คนขึ้นไป โดยชวนนักเรียนทุกคนนั่งรวมกันเป็นวง เขียนความคิดเห็นของตนหรือบอกเล่าประสบการณ์ความรู้หรือสิ่งที่ตนกำลังศึกษาให้เพื่อนคนที่อยู่ถัดไป เวียนไปทางด้านใดด้านหนึ่งเพื่อสนทนา สอบถามและแลกเปลี่ยนจนกว่าจะครบ 

ประโยชน์ของการเรียนรู้แบบร่วมมือ

การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือมีประโยชน์มากมายต่อผู้เรียน อาทิ

  • ช่วยเสริมสร้างการแลกเปลี่ยนในการเรียนรู้
  • ช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างนักเรียน
  • ช่วยกระตุ้นให้นักเรียนอยากเรียนรู้
  • ช่วยพัฒนาความเชื่อมั่นและการแสดงออกของนักเรียน
  • ส่งเสริมทักษะการทำงานร่วมกัน
  • ทำให้นักเรียนมีวิสัยทัศน์หรือมุมมองกว้างขึ้น
  • ช่วยส่งเสริมมทักษะการปรับตัวในสังคมและทักษะความสัมพันธ์
  • ช่วยเสริมสร้างการพัฒนาทักษะแบบเชิงสัมพันธ์หรือการได้รับฟีดแบคจากเพื่อนๆ หรือสมาชิกในกลุ่ม

ใช้งานเครื่องมือการเรียนรู้แบบร่วมมืออย่างไร? 5 เคล็ดลับจาก Starfish Labz

1. ทำความเข้าใจความหมาย แก่นแท้ หรือหลักการที่สำคัญของการเรียนรู้แบบร่วมมือ

หลายครั้งเราอาจเข้าใจว่าการเรียนรู้แบบร่วมมือหมายถึงการเรียนรู้เชิงกลุ่มเท่านั้น แต่ความหมายของการเรียนรู้แบบร่วมมือจริงๆ แล้วยังหมายถึงรูปแบบหรือเทคนิคการเรียนรู้ที่มากกว่า 1 คนอันหลากหลาย คุณครูสามารถออกแบบออกมาได้อย่างสร้างสรรค์ เลือกสรรรูปแบบการเรียนรู้เชิงร่วมมือที่ใช่สำหรับชั่วโมงการเรียนหนึ่งๆ

 2. ชวนเด็กๆ ทำความเข้าใจคุณประโยชน์ของการเรียนรู้แบบร่วมมือ

ก่อนเริ่มกิจกรรมหรือก่อนการสั่งงาน คุณครูสามารถลองอธิบายหรือชวนเด็กๆ คุยถึงประโยชน์จริงๆ ที่พวกเขาจะได้เกี่ยวกับกิจกรรมนี้ รวมถึงลักษณะการเรียนรู้แบบกลุ่ม เด็กๆ หลายคนอาจมองว่างานกลุ่มเป็นสิ่งน่าเบื่อ การชวนพวกเขาคุยและลองเปลี่ยนมุมมองให้เห็นคุณค่าดีๆ ตั้งแต่แรกเริ่มสามารถช่วยเพิ่มโอกาสในความอยากเรียนรู้และความสนใจ สามารถช่วยให้เขาอยากเป็นส่วนหนึ่งกับกิจกรรมหรือการร่วมมือเรียนรู้กับเพื่อนๆ

3. คิดนอกกรอบ ออกแบบเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือที่ใช่

 ดังที่กล่าวข้างต้นว่าเพราะการเรียนรู้แบบร่วมมือไม่จำเป็นต้องอยู่ในกรอบงานกลุ่มหรือการนำเสนอเสมอไป แต่ยังสามารถถูกออกแบบให้อยู่ในรูปแบบกิจกรรมใหม่ๆ เช่น การพบปะพูดคุยกันเชิงกลุ่มผ่านแอปฯ ที่น่าสนใจ หรือการลองบูรณาการเทคนิค Active Learning ต่างๆ อื่นๆ เข้ามาใช้งานเพื่อเพิ่มความน่าสนใจของกิจกรรม นอกจากนี้ คุณครูยังสามารถลองตั้งต้นเป้าหมายที่อยากได้มาใช้เป็นฐานในการออกแบบกิจกรรม อาทิ หากต้องการพัฒนาทักษะ Critical Thinking ให้เด็กๆ กิจกรรมเชิงการเรียนรู้แบบร่วมมือที่เหมาะก็อาจเป็นการสนทนากันแบบโต๊ะ (Roundtable) ซึ่งให้ทั้งความน่าสนใจและโอกาสในการขบคิด ชวนคุยกันอย่างเป็นอิสระระหว่างเด็กๆ หรือหากต้องการให้เด็กๆ เรียนรู้การตอบรับฟีดแบคหรือพัฒนาการเชิงสัมพันธ์ เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมืออย่างการผลัดกันตรวจระหว่างผู้เรียน (Peer Review) ก็สามารถเป็นอีกหนึ่งเทคนิคอันยอดเยี่ยมเช่นกัน

4. เปิดโอกาสให้เด็กๆ มีส่วนร่วมในการออกแบบกิจกรรม

เด็กๆ อยากเรียนรู้แบบไหน กิจกรรมกลุ่มแบบใดที่เขาชื่นชอบ คำถามเหล่านี้ล้วนเป็นอีกหนึ่งเคล็ดลับง่ายๆ ที่คุณครูสามารถใช้เพื่อกระตุ้นความสนใจและการมีส่วนร่วม พวกเขาอยากได้สมาชิกกลุ่มกี่คนและคิดว่าควรจัดกลุ่มแบบไหน ยิ่งเด็กๆ มีโอกาสในการเลือกและออกแบบ ก็ยิ่งสามารถช่วยเพิ่มอัตราความสำเร็จและความสนใจ ลดความรู้สึกเบื่อหน่ายหรือความรู้สึกว่าต้องทำตามที่คุณครูสั่ง

การเปิดโอกาสให้เด็กๆ ช่วยเลือกลักษณะกิจกรรมยังถือเป็นการเรียนรู้ในเชิง Active Learning ลักษณะหนึ่ง นั่นคือมีการเปิดโอกาสให้พวกเขามีส่วนร่วม เป็นผู้คิดหรือผู้นำในการเรียนรู้และพัฒนาทักษะต่างๆ    

อ้างอิง:

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

การเรียนแบบบูรณาการ
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
2:00 ชั่วโมง

การสอนภาษาไทย (3R)

การสอนภาษาไทยของมูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮมได้ออกแบบมาเพื่อพัฒนาทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน อย่างเป็นระบบเข้าใจง่ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
การสอนภาษาไทย (3R)
Starfish Academy

การสอนภาษาไทย (3R)

Starfish Academy
2713 ผู้เรียน
การเรียนแบบบูรณาการ
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
1:30 ชั่วโมง

คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว

คงจะดีถ้าการอ่านออกเขียนได้ ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป นวัตกรรม3R โรงเรียนบ้านปลาดาว ได้ออกแบบชุดการสอนที่ง่ายและเกิดผล ...

Starfish Academy
Starfish Academy
คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว
Starfish Academy

คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว

Starfish Academy
6815 ผู้เรียน
เครืองมือครู
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
1:30 ชั่วโมง

Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1

คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...

Starfish Academy
Starfish Academy
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
Starfish Academy

Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1

Starfish Academy
1008 ผู้เรียน
การเรียนแบบบูรณาการ
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

การสอนคณิตศาสตร์ (3R)

คณิตศาสตร์จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แค่เรามีเทคนิคดีๆ มาเป็นตัวช่วยในการสอน คณิตศาสตร์ของเราก็จะเป็นเรื่องง่าย ไม่น่าเบื่ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
การสอนคณิตศาสตร์ (3R)
Starfish Academy

การสอนคณิตศาสตร์ (3R)

Starfish Academy
2667 ผู้เรียน

Related Videos

เทคนิคการสอน สอนอย่างไรให้ได้ “สมรรถนะ”
03:45
Starfish Academy

เทคนิคการสอน สอนอย่างไรให้ได้ “สมรรถนะ”

Starfish Academy
7483 views • 2 ปีที่แล้ว
เทคนิคการสอน สอนอย่างไรให้ได้ “สมรรถนะ”
TSQP Kick Off แนวคิดห้องเรียนแห่งความสุข
05:24
Starfish Academy

TSQP Kick Off แนวคิดห้องเรียนแห่งความสุข

Starfish Academy
423 views • 2 ปีที่แล้ว
TSQP Kick Off แนวคิดห้องเรียนแห่งความสุข
Starfish Country Home School Foundation [ENG]
03:43
Starfish Academy

Starfish Country Home School Foundation [ENG]

Starfish Academy
78 views • 3 ปีที่แล้ว
Starfish Country Home School Foundation [ENG]
Makerspace Day #1
07:41
Starfish Academy

Makerspace Day #1

Starfish Academy
558 views • 2 ปีที่แล้ว
Makerspace Day #1