เทคโนโลยี AR และ VR ต่างกันอย่างไร ชวนทำความเข้าใจเทคโนโลยีเสมือนจริงในการศึกษา

Starfish Labz
Starfish Labz 3674 views • 10 เดือนที่แล้ว
เทคโนโลยี AR และ VR ต่างกันอย่างไร ชวนทำความเข้าใจเทคโนโลยีเสมือนจริงในการศึกษา

หากพูดถึงเรื่องราวของเทคโนโลยีการศึกษาในปัจจุบันแล้วนอกเหนือจากเหล่า EdTech Tools ที่เราคุ้นหน้าคุ้นตากันอย่าง Google Classroom, Microsoft Teams หรือ Starfish Class อีกหนึ่งรูปแบบ EdTech ที่หลายๆ คนรอคอยก็คือเรื่องราวของ AR และ VR ที่ยังคงมีการพัฒนา วิวัฒนาการมาอย่างต่อเนื่องแต่ก็ยังคงไม่เป็นที่แน่ชัดสักทีว่าเราจะได้ใช้งานกันเมื่อไหร่หรืออย่างไร ในบทความนี้ Starfish Labz จะขอพาทุกคนมาอัปเดตทุกเรื่องราวเกี่ยวกับเจ้าเทคโนโลยีนี้ในแวดวงการศึกษากันค่ะ เทคโนโลยีเสมือนจริงในการศึกษาอย่าง AR / VR คืออะไร? แตกต่างอย่างไร? เมื่อไหร่จะได้ใช้ถ้าพร้อมแล้ว มาหาคำตอบกันเลย

AR คืออะไร? AR หรือ Augmented Reality กล่าวอย่างให้ง่ายที่สุดแล้วก็คือเทคโนโลยีที่ฉายภาพเสมือน 2 หรือ 3 มิติลงบนวัตถุคล้ายกับการใช้ฟิลเตอร์บน ​​Instagram, Snapchat และ Facebook โดยใช้นวัตกรรมจากคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยรวมทั้งใช้ประโยชน์จากอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เว็บแคม คอมพิวเตอร์ กล้องและแว่นตาเพื่อเข้ามาสร้างให้เกิดเป็นภาพเสมือนจริง ช่วยให้ดวงตาของเราในโลกจริงๆ สามารถมองเห็นสิ่งต่างๆ ในรูปแบบใหม่ที่มิติ มีการเคลื่อนไหว หรือมีเสียง มีการเปลี่ยนแปลงไปที่ต่างจากเดิม จุดเด่นของ AR คือความสามารถในการทำผู้ใช้งานสามารถเห็นภาพ 2 หรือ 3 มิติของสิ่งของหรือวัตถุต่างๆ ได้อย่างสมจริงมากยิ่งขึ้น เช่น การนำเทคโนโลยี AR เป็นหนึ่งในสื่อการเรียนการสอนซึ่งสามารถช่วยให้เด็กๆ เห็นภาพ เข้าใจ และยังรู้สึกอยากมีส่วนร่วมได้ดียิ่งขึ้น หรือตัวอย่างที่เห็นชัดที่สุดก็คือการนำ AR มาใช้ในเกม Pokemon GO ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้เล่นออกไปจับโปเกม่อนข้างนอกจริงๆ ด้วยโทรศัพท์มือถือด้วยตัวเองผ่านการเทคโนโลยีแบบ AR เรียกได้ว่าเป็นการเล่นเกมแบบใหม่ที่จำลองความเสมือนจริงเข้ามาได้อย่างสุดคูลเลยทีเดียว

VR คืออะไร? หาก AR คือการจำลองภาพเสมือนจริงแบบ 2 หรือ 3 มิติ VR หรือ Virtual Reality ก็คือการจำลองภาพเสมือนจริงแบบ 360 องศา หรือการจำลองที่ให้ขอบเขต ความสมจริง หรือลักษณะความมีส่วนร่วม (Immersive/Immersion) ที่มากไปกว่า AR นั่นเองค่ะ ด้วยเป้าหมายที่อยากให้เกิดความสมจริงทุกสัดส่วนนี้โดยปกติแล้ว VR จึงต้องใช้งานกับอุปกรณ์อย่างแว่นตาเป็นหลักเพื่อให้สามารถมองเห็น สัมผัสสิ่งต่างๆ ได้อย่างเต็มรูปแบบตัวอย่างการเอาเทคโนโลยี VR ไปใช้ในการเล่นเกม เช่น เกมแนว FPS (เกมแนวยิงปืน) ที่จำลองให้เราเสมือนสามารถถือปืนได้จริงๆ ในระหว่างเล่น เป็นต้น จะเห็นได้ว่าเมื่อกล่าวถึงเทคโนโลยี AR และ VR แล้วความแตกต่างก็คือระดับความเสมือนจริงหรือประสบการณ์การมีส่วนร่วมเวลาใช้งานนั่นเองค่ะ ซึ่งพอมีความแตกต่างในจุดนี้ การตอบโจทย์ต่างๆ ในการใช้งานก็แตกต่างกัน AR จะมีความเรียบง่ายกว่า ใช้อุปกรณ์น้อยกว่า รวมถึงมีค่าใช้จ่ายที่อาจถูกกว่าส่วน VR นั้นมีระดับที่ค่อนข้างสมจริงกว่าจึงอาจมีค่าใช้จ่ายต่างๆ สูงกว่านั่นเอง

เทคโนโลยี AR และ VR ในการศึกษา นอกเหนือจากถูกใช้ในทางธุรกิจและเกมอีกหนึ่งจุดที่สำคัญก็คือบทบาทของ AR และ VR ในฐานะเทคโนโลยีการศึกษา ซึ่งในปัจจุบัน จริงๆ แล้วอาจกล่าวได้ว่ามีการใช้งาน AR เยอะกว่ามากเพราะการสร้างและการใช้งานต่างๆ ที่ง่ายกว่าส่วน VR ในต่างประเทศมีการใช้งานในบางโรงเรียนและมหาวิทยาลัย ซึ่งจริงๆ แล้วต้องบอกว่าทั้งสองมีคุณประโยชน์ที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับเป้าหมายของคุณครูในการสอนเหมาะกับทั้งการเรียนการสอนแบบ Online 100% และการสอนแบบ Hybrid มีเทคโนโลยีเข้ามาเสริม

เมื่อไหร่ AR และ VR จะมีความแพร่หลายมากขึ้นในการศึกษา สำหรับในประเด็นสุดท้าย แน่นอนว่าหลายๆ คนที่เป็นแฟนเทคโนโลยีเสมือนจริงในการศึกษาอยากรู้ก็คือเมื่อไหร่กันที่ AR / VR จะมีความแพร่หลายหรือสามารถเข้าถึงได้ง่ายยิ่งขึ้น คำตอบคือจริงๆ แล้ว ในส่วนของ AR มีการใช้งานที่ค่อนข้างแพร่หลายแล้วในช่วงหลายปีที่ผ่านมาอัตราการเติบโตของ AR สูงขึ้นเพราะสร้างง่ายกว่าใช้งานง่ายกว่าคุณครูไม่ว่าจะในประเทศไหนต่างประเทศหรือประเทศเราก็สามารถลองเรียนรู้เทคโนโลยีนี้ได้ด้วยตัวเองส่วนเทคโนโลยีเสมือนจริงในการศึกษาอย่าง VR เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีที่มีค่าใช้จ่ายสูงรวมถึงมีกระบวนการสร้างที่ซับซ้อนกว่าจึงปฏิเสธไม่ได้ว่าการเข้าถึงยังคงยากกว่า AR แต่ในอนาคต เชื่อว่าหากได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจะต้องมีโอกาสที่มีการผลิตออกมาในราคาที่เข้าถึงได้และเชื่อว่าจะต้องมี Solutions ต่างๆ ที่สร้างขึ้นมาเพื่อให้ตอบโจทย์ต่อการใช้งานในวงกว้างมากขึ้นอย่างแน่นอนโดยในการประยุกต์ AR และ VR กับการศึกษาสามารถมีความแตกต่างกัน ดังนี้

แนวทางในการประยุกต์ใช้ AR กับการศึกษา เด็กๆ สามารถเรียนรู้อย่างเสมือนจริงแม้อยู่ในชั้นเรียนคุณครูสามารถใช้เพื่อช่วยอธิบายเนื้อหาที่เข้าใจยากให้เห็นภาพได้มากขึ้นสามารถใช้เพื่อช่วยสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับเนื้อหาการเรียนเด็กๆ สามารถเรียนรู้แบบโมเดลสามมิติ สามารถใช้ AR เพื่อส่งเสริมทักษะและการเรียนรู้ด้วยตนเอง

แนวทางในการประยุกต์ใช้ VR กับการศึกษา สามารถใช้ VR พานักเรียนเข้าไปสู่โลกเสมือนจริงแห่งการเรียนรู้โดยที่ตัวนักเรียนไม่ต้องออกจากห้องเรียนได้แบบสมจริงและ Immersive ผู้เรียนสามารถใช้ทักษะ ความคิดสร้างสรรค์ ผสมผสานกับการใช้เครื่องมือในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ในการลองสร้างงานศิลปะแบบ 3 มิติด้วย VR เด็กๆ สามารถใช้ VR ในการฝึกทักษะต่างๆ เช่น การพูดสื่อสารในสถานการณ์ต่างๆ แบบเสมือนจริงการเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ ในคลาส Online หรือในช่วงพิเศษ เช่น ในช่วง COVID-19 เด็กๆ และคุณครูสามารถใช้ VR เพื่อสื่อสารกันอย่างสมจริงแต่อาจต้องมีเครื่องมือที่จัดหาให้โดยทางโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษา เป็นต้น

อ้างอิง:

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

เทคโนโลยีดิจิทัล
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
3:00 ชั่วโมง

การใช้เทคโนโลยีโลกเสมือนจริง Immersive Technology ในห้องเรียน

AR เป็นเครื่องมือที่ทรงพลังที่สามารถช่วยให้นักเรียนเข้าใจแนวคิดที่ซับซ้อนได้ง่ายขึ้นและยังช่วยสร้างการมีส่วนร่วมในการเรียนรู้มาก ...

อาจารย์กุลเชษฐ์ เล็กประยูร
อาจารย์กุลเชษฐ์ เล็กประยูร
การใช้เทคโนโลยีโลกเสมือนจริง Immersive Technology ในห้องเรียน
อาจารย์กุลเชษฐ์ เล็กประยูร

การใช้เทคโนโลยีโลกเสมือนจริง Immersive Technology ในห้องเรียน

อาจารย์กุลเชษฐ์ เล็กประยูร

ต้องใช้ 100 เหรียญ

เทคโนโลยีดิจิทัล
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
3:00 ชั่วโมง

เทคนิคการสร้าง AR Content อย่างง่ายด้วย MywebAR

ผู้ที่สนใจในการสร้างเนื้อหาดิจิทัล และต้องการใช้ AR เพื่อเพิ่มมิติใหม่กับผลงานของตัวเอง โดยเฉพาะคุณครูอาจารย์ที่ต้องการสร้าง ...

อาจารย์กุลเชษฐ์ เล็กประยูร
อาจารย์กุลเชษฐ์ เล็กประยูร
เทคนิคการสร้าง AR Content อย่างง่ายด้วย MywebAR
อาจารย์กุลเชษฐ์ เล็กประยูร

เทคนิคการสร้าง AR Content อย่างง่ายด้วย MywebAR

อาจารย์กุลเชษฐ์ เล็กประยูร

ต้องใช้ 100 เหรียญ

เครืองมือครู
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
1:30 ชั่วโมง

Micro Learning เครื่องมือช่วยสอนการเรียนออนไลน์

เครื่องมือช่วยครูในการเรียนออนไลน์ในคอร์สนี้ แนะนำเครื่องมือที่น่าสนใจ 3 ตัวช่วย คือ Google Earth, Line Open Chat แ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
Micro Learning เครื่องมือช่วยสอนการเรียนออนไลน์
Starfish Academy

Micro Learning เครื่องมือช่วยสอนการเรียนออนไลน์

Starfish Academy
เครืองมือครู
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
1:30 ชั่วโมง

Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1

คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...

Starfish Academy
Starfish Academy
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
Starfish Academy

Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1

Starfish Academy
1008 ผู้เรียน

Related Videos

พื้นที่แห่งการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21
04:37
Starfish Future Labz

พื้นที่แห่งการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21

Starfish Future Labz
8125 views • 3 ปีที่แล้ว
พื้นที่แห่งการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21
เทคนิคการสอน สอนอย่างไรให้ได้ “สมรรถนะ”
03:45
Starfish Academy

เทคนิคการสอน สอนอย่างไรให้ได้ “สมรรถนะ”

Starfish Academy
7490 views • 2 ปีที่แล้ว
เทคนิคการสอน สอนอย่างไรให้ได้ “สมรรถนะ”
3 ขั้นตอนอ่านออก เขียนได้ สไตล์ปลาดาว
04:12
Starfish Academy

3 ขั้นตอนอ่านออก เขียนได้ สไตล์ปลาดาว

Starfish Academy
467 views • 2 ปีที่แล้ว
3 ขั้นตอนอ่านออก เขียนได้ สไตล์ปลาดาว
10 ขั้นตอน สร้าง PORTFOLIO
02:33
Starfish Future Labz

10 ขั้นตอน สร้าง PORTFOLIO

Starfish Future Labz
61497 views • 3 ปีที่แล้ว
10 ขั้นตอน สร้าง PORTFOLIO