การออกแบบสื่อและการจัดการเรียนรู้พลศึกษาตามเกณฑ์ ว.PA
ก่อนที่จะเลือกเทคนิคการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ ที่สอดคล้องกับสื่อการจัดการเรียนรู้และตรงตามตัวชี้วัดของ ว.PA อันดับแรกคุณครูจะต้องศึกษาเกณฑ์การให้คะแนนในด้านต่างๆเพื่อทาความเข้าใจ ดังนี้
ด้านที่ 1 ด้านทักษะการจัดการเรียนรู้และการจัดชั้นเรียน คือ 1.ผู้เรียนสามารถเข้าถึงสิ่งที่เรียนและเข้าใจบทเรียน 2.ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้หรือประสบการณ์เดิมกับการเรียนรู้ใหม่ 3.ผู้เรียนได้สร้างองค์ความรู้เองหรือได้สร้างประสบการณ์ใหม่จากการเรียนรู้ 4.ผู้เรียนได้รับการกระตุ้นและเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้ 5.ผู้เรียนได้รับการพัฒนาทักษะความเชี่ยวชาญจากการเรียนรู้ 6.ผู้เรียนได้รับข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อปรับปรุงการเรียนรู้ 7.ผู้เรียนได้รับการพัฒนาการเรียนรู้ในบรรยากาศชั้นเรียนที่เหมาะสม 8.ผู้เรียนสามารถกากับการเรียนรู้และมีการเรียนรู้แบบนาตนเอง
ด้านที่ 2 ด้านผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน คือ 1.ผลงานหรือผลการปฏิบัติเป็นผลลัพธ์เกิดขึ้นจากการจัดการจัดการเรียนรู้ของครู 2.ผลงานหรือผลการปฏิบัติสะท้อนถึงการได้รับการพัฒนาทักษะพื้นฐานตามวัยและลักษณะของผู้เรียน 3.ผลงานหรือผลการปฏิบัติสะท้อนถึงความสามารถในการเรียนรู้ตามวัยและลักษณะของผู้เรียน 4.ผลงานหรือผลการปฏิบัติสะท้อนถึงการบูรณาการทักษะในการทางานตามวัยและลักษณะของผู้เรียน
พลศึกษา คือ การศึกษาแขนงหนึ่งซึ่งมีวัตถุประสงค์ให้ผู้เรียนมีการพัฒนาทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา โดยใช้กิจกรรมทางพลศึกษาที่ได้เลือกเป็นอย่างดีแล้ว ซึ่ง พลศึกษามีจุดมุ่งหมายในเชิงพฤติกรรมที่ชัดเจน นั่นคือ 1.พุทธิพิสัย หรือประชานพิสัย (Cognitive Domain) 2.เจตคติพิสัย (Affective Domain) 3.ทักษะพิสัย หรือจลนพิสัย (Psychomotor Domain) 4.สังคมพิสัย (Social Domain) 5.สมรรถภาพทางกายพิสัย ( Physical Fitness Domain)
วิธีการออกแบบสื่อและการจัดการเรียนรู้ ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อตัวผู้เรียนจะใช้วิธีการที่มีลักษณะเป็นขั้นเป็นตอนตามหลักการ ADDIE MODEL ซึ่งเป็นรูปแบบระบบการเรียนการสอนที่นิยมนามาใช้ในการออกแบบและพัฒนาสื่อการ เรียนการสอน เนื่องจากเป็นรูปแบบที่ง่ายและมีขั้นตอนชัดเจนสามารถนาไปใช้ได้กับวิชาพลศึกษา ประกอบไปด้วย
ขั้นตอนที่1 การวิเคราะห์ (Analysis) ครูผู้สอนจะต้องรู้ว่ากลุ่มผู้เรียนคือใคร มีพื้นฐานความรู้ในระดับใด มีจุดมุ่งหมายของบทเรียนคืออะไรและจะต้องทราบปัญหาและอุปสรรคที่คาดว่าจะเกิดขึ้น?
ขั้นตอนที่ 2 การออกแบบ (Design) คือการกาหนดหัวข้อหรือโครงร่างในการจัดการเรียนการสอน โดยการศึกษาเนื้อหาและแบบฝึกจากหนังสือหรือจากตาราวิชาการ เพื่อนามากาหนดเนื้อหาหรือแบบฝึกในวิดิทัศน์ให้เหมาะสมกับช่วงวัยของผู้เรียน
ขั้นตอนที่ 3 การพัฒนา (Development) คือการเขียนบทหรือการจัดทาสตอรี่บอร์ดและเรียงลาดับเนื้อหาที่เน้นความกระชับ เข้าใจง่ายและเข้าถึงง่าย ขั้นตอนต่อไปเริ่มการถ่ายทาและตัดต่อภาพให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด
ขั้นตอนที่ 4 การนาไปใช้ (Implementation) นั่นคือการนาไปใช้ในการจัดการเรียนรู้จริงในชั้นเรียน
ขั้นตอนที่ 5 การประเมินผล (Evaluation) นั่นคือการประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อสื่อการจัดการเรียนรู้ และทาการวัดและประเมินผลผู้เรียนหลังจากนาสื่อการจัดการเรียนรู้ไปใช้ถ้าทาได้ครบทั้ง 5 ขั้นตอนจะทาให้การออกแบบสื่อและการจัดการเรียนรู้ได้ตรงและครอบคลุมจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด การเรียนรู้เชิงรุก Active Learning คือกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้ลงมือทาและได้ใช้กระบวนการคิด เกี่ยวกับสิ่งที่เขาได้ลงมือปฏิบัติคือการจัดการเรียนรู้ที่เน้นบทบาทและการมีส่วนร่วมของผู้เรียนโดยการนนาเอาวิธีการสอน เทคนิคการสอนที่หลากหลายในวิชาพลศึกษามาใช้ออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้และกิจกรรมกระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมใน ชั้นเรียน ส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียนและผู้เรียนกับผู้สอน เป็นการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งเน้น พัฒนากระบวนการเรียนรู้ ส่งเสริมให้ผู้เรียนประยุกต์ใช้ทักษะและเชื่อมโยงองค์ความรู้นาไปปฏิบัติเพื่อแก้ไข ปัญหาหรือประกอบอาชีพในอนาคตนั่นเอง
การจัดการเรียนรู้พลศึกษาตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน คือ การเปลี่ยนกิจกรรมจากการที่ครูบรรยายในชั้นเรียนเพียงอย่างเดียว แต่อาจให้นักเรียนไปเรียนนอกห้องเรียนหรือเรียนรู้ที่บ้านผ่านสื่อวีดีทัศน์หรือสื่อออนไลน์ ต่าง ๆ ส่วนเวลาที่เรียนในชั้นเรียนนักเรียนจะมีเวลาในการปฏิสัมพันธ์ร่วมกันระหว่างเพื่อนและครูเพิ่มมากขึ้น การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านมีความเหมาะกับการเรียนรู้ในวิชาพลศึกษาเพราะเป็นการเพิ่มโอกาสในการเรียนรู้ให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา และสามารถปฏิบัติซ้าย้าทวนได้ตามที่ใจต้องการจนกว่าจะเข้าใจ จนเกิดทักษะความสามารถในการปฏิบัติได้ในที่สุด
จึงเห็นได้ว่าการออกแบบสื่อและการจัดการเรียนรู้พลศึกษาตามเกณฑ์ ว.PAนั้น ไม่ยากอย่างที่คิดแต่จะเป็นส่วนสาคัญในการพัฒนาผู้เรียนเนื่องจากหากครูผู้สอนพลศึกษาสามารถพัฒนาหรือออกแบบสื่อการจัดการเรียนรู้ให้มีความน่าสนใจเด็กได้เรียนรู้อย่างสนุกสนาน เร้าใจ ตื่นเต้น น่าดึงดูด และสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนและมีความสอดคล้องกับการออกแบบการจัดการเรียนรู้จะเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ผู้เรียนพัฒนาไปสู่การเล่นกีฬาและการออกกาลังกาย นาไปสู่วิถีชีวิตแบบ Active Lifestyle ได้อย่างยั่งยืนทั้งนี้สามารถรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ www.StarfishLabz.com
บทความใกล้เคียง
แชร์ไอเดียการสอนภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ ง่ายๆ สไตล์โรงเรียนบ้านปลาดาว
การศึกษาหลังยุคโรคระบาดจะเป็นอย่างไร? 5 แนวโน้มเทคโนโลยีการศึกษาที่สถาบันต้องจับตาในปี 2023
Teachers Hero’s Journey เส้นทางครูฮีโร่ ในยุค new normal
Related Courses
การสอนคณิตศาสตร์ (3R)
คณิตศาสตร์จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แค่เรามีเทคนิคดีๆ มาเป็นตัวช่วยในการสอน คณิตศาสตร์ของเราก็จะเป็นเรื่องง่าย ไม่น่าเบื่ ...
การวางแผนพัฒนาตนเอง
การวางแผนพัฒนาตนเองช่วยให้คุณครูกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน มีการวางแผน และช่วยให้ครูเลือกใช้วิธีการที่เหมาะสม มีการกำหนดระ ...
การสอนภาษาไทย (3R)
การสอนภาษาไทยของมูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮมได้ออกแบบมาเพื่อพัฒนาทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน อย่างเป็นระบบเข้าใจง่ ...
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...