แนวทางการออกแบบการจัดการเรียนรู้ในโลกอนาคต
OECD หรือองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจในภาคส่วนของการศึกษา (OECD Education) 2030 ได้พูดถึงความท้าทาย 5 ประการที่ระบบการศึกษาทั่วโลกจะต้องปฏิรูปให้ก้าวข้ามให้ได้ ดังนี้
- เผชิญกับความต้องการที่อยู่นอกเหนือจากหลักสูตรที่เรียนมาก แต่ไม่ได้เรียนในสิ่งที่นำไปใช้จริง เพราะฉะนั้น เราจะต้องเปลี่ยนโฟกัสจาก “เรียนมาก” เป็น “เรียนอย่างมีคุณภาพ”
- การปฏิรูปหลักสูตรมีความล่าช้า และหลักสูตรได้กำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนที่กว้างเกินไป ต้องทำให้หลักสูตรแคบลง เน้นผลลัพธ์ที่จับต้องได้มากยิ่งขึ้น
- เนื้อหาบทเรียนต้องมีคุณภาพ เพราะต้องการให้นักเรียนมีความเข้าใจที่ลึกซึ้งขึ้น
- หลักสูตรควรมีการรับประกันคุณภาพในระหว่างที่มีการพัฒนา และควรได้รับความร่วมมือจากนักเรียน ชุมชนรอบข้างในการประกันคุณภาพด้วย เพื่อตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจและเทคโนโลยี
- ทุกภาคส่วนต้องร่วมกันการวางแผนอย่างเป็นระบบ เพื่อการปฏิรูปที่ยั่งยืน
ดังนั้น เพื่อการก้าวข้ามความท้าทายทั้ง 5 ประการนี้ ภาคีเครือข่ายด้านการศึกษาทุกภาคส่วนต้องร่วมกันสร้าง “หลักการออกแบบ” เพื่อการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรและระบบการศึกษาที่จะมีในแต่ละประเทศ ดังหลักการในประเด็นแนวคิด และเนื้อหาดังนี้
- เนื้อหาต้องให้นักเรียนเป็นเจ้าของ: หลักสูตรควรคำนึงถึงการสร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้เรียนทั้งในด้านความรู้ ทักษะ ทัศนคติ และคุณค่าของการเรียนรู้
- เนื้อหาต้องเข้มข้น : เนื้อหาในบทเรียนควรเป็นเนื้อหาที่ท้าทายผู้เรียน และช่วยให้ผู้เรียนคิดได้ลึกซึ้งขึ้น
- เนื้อหาต้องมีจุดโฟกัส : จำนวนเนื้อหาที่เรียนควรมีจำนวนน้อย แต่ต้องเน้นการเรียนรู้ในเชิงลึกและคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน บางเนื้อหาอาจจะมีความซ้ำกันเพื่อเน้นย้ำแนวคิดที่สำคัญ
- เนื้อหาต้องมีการเชื่อมโยง : ลำดับเนื้อหาต้องมีความเชื่อมโยงและต่อเนื่องกัน ไล่ลำดับความยากง่ายและลึกตื้นของเนื้อหา เพื่อให้เห็นขั้นตอนของแนวคิดต่างๆ และจะต้องเหมาะสมกับช่วงวัยของนักเรียน
- เนื้อหาควรสอดคล้องกับการประเมินผู้เรียน : หลักสูตรควรสอดคล้องกับแนวทางการสอนและประเมินผล ซึ่งการประเมินผลในแต่ละเนื้อหาอาจจะต้องมีความแตกต่างกัน และควรมีวิธีการประเมินใหม่ๆ เพื่อให้นักเรียนเห็นคุณค่าในตัวเอง
- เนื้อหาควรเน้นที่การผสมผสานความรู้ ทักษะ ทัศนคติ และคุณค่า : ผู้เรียนสามารถนำความรู้ และทักษะเหล่านี้ไปใช้ได้ในบริบทอื่นๆ ด้วย
- เนื้อหาควรให้ทางเลือกแก่นักเรียน : ผู้เรียนควรได้เรียนรู้การทำโปรเจกต์ หรือการเลือกหัวข้อในการเรียนรู้ด้วยตัวเองด้วยการสนับสนุนจากคุณครู เพื่อการตัดสินใจเลือกด้วยการมีข้อมูลอย่างครบถ้วน
ทั้ง 7 หลักการออกแบบหลักสูตรและเนื้อหาการสอนจะช่วยให้นักเรียนสามารถปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงในโลกอนาคตได้ อย่างไรก็ตาม หัวใจสำคัญของการออกแบบหลักสูตร คือ การเชื่อมโยงเนื้อหากับชีวิตจริงนอกห้องเรียนของผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญในการเรียนรู้นั่นเอง
อ้างอิง The Future of Education and Skills Education 2023, OECD
บทความใกล้เคียง
Related Courses
การสอนภาษาไทย (3R)
การสอนภาษาไทยของมูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮมได้ออกแบบมาเพื่อพัฒนาทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน อย่างเป็นระบบเข้าใจง่ ...
คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว
คงจะดีถ้าการอ่านออกเขียนได้ ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป นวัตกรรม3R โรงเรียนบ้านปลาดาว ได้ออกแบบชุดการสอนที่ง่ายและเกิดผล ...
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...
การสอนคณิตศาสตร์ (3R)
คณิตศาสตร์จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แค่เรามีเทคนิคดีๆ มาเป็นตัวช่วยในการสอน คณิตศาสตร์ของเราก็จะเป็นเรื่องง่าย ไม่น่าเบื่ ...