สร้างผู้เรียนอย่างไรให้เกิด 3 สนุก : สนุกเรียนสนุกคิดและสนุกเมื่อได้ออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน
การเรียนรู้อย่างมีความสุขเป็นรากฐานสำคัญที่ทำให้เด็กคิดเป็นเกิดความพึงพอใจในการเรียนรู้และนำไปสู่การประยุกต์ใช้การเรียนรู้ที่สนุกไม่ใช่เพียงแค่การพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนเก่งเท่านั้นแต่เป็นการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม มีเป้าหมายในการเรียนรู้ และสามารถเรียนรู้ไปพร้อมๆ กันได้อย่างไรก็ตามจากพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนในห้องเรียนบางครั้งครูจะพบว่านักเรียนบางคนขยันบางคนขี้เกียจ บางคนยิ้ม บางคนเศร้า บางคนกระฉับกระเฉง บางคนเชื่องช้า บางคนไม่ใส่ใจในการเรียน บางคนสนใจในการเรียน บางคนเงียบ บางคนพูดมาก บางคนอยากแสดงออก บางคนชอบเก็บตัว บางคนชอบก้มหน้า ไม่กล้าสบตาและไม่กล้าแม้แต่จะสงสัยทั้งนี้เราสามารถสร้าง“ระบบนิเวศการเรียนรู้ในห้องเรียน” และจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนสนุกไปกับการเรียนรู้ สนุกคิดและสนุกกับการนำเสนอที่ก่อให้เกิดแรงบันดาลใจอยากเรียนรู้อย่างแท้จริงได้
สร้างพลังแห่งการเรียนรู้สู่ 3 สนุก
1.การสร้างบรรยากาศ กฎกติกาภายในห้องเรียนให้ผู้เรียนรู้สึกสบายทั้งกายและใจให้มากที่สุดไม่ว่าจะเป็นการจัดที่นั่งเรียนการให้ผู้เรียนส่งสัญญาณแทนการขออนุญาตเป็นวาจาสำหรับการทำกิจส่วนตัว เช่น การขออนุญาตเข้าห้องน้ำ เป็นต้น
2.การรับฟังเสียงของผู้เรียน และฟังเสียงที่ไม่มีเสียงให้มากขึ้น อาทิเช่น การสังเกตพฤติกรรม ท่าทาง และปฏิกิริยาตอบสนองของผู้เรียน
3.การสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างครูกับนักเรียน ระหว่างนักเรียนกับนักเรียน
4.เปลี่ยนห้องเรียนที่น่าเบื่อให้เป็นพื้นที่ปลอดภัยการออกแบบการเรียนรู้ที่ดีจะช่วยแนะแนวทางให้ครูผู้สอนว่าต้องทำอย่างไรเมื่ออยู่ต่อหน้าผู้เรียนอีกทั้งยังส่งผลให้ปฏิสัมพันธ์ของคนในห้องเรียนเปลี่ยนไปตัวอย่างเช่น การตั้งคำถาม ครูควรตั้งคำถามว่าทำไมและอย่างไร เพื่อกระตุ้นแรงบันดาลใจและความต้องการเรียนรู้ทำให้ผู้เรียนเข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนรู้เปิดโอกาสให้ครูมีเวลาปฏิสัมพันธ์กับนักเรียนและเพิ่มกิจกรรมเพื่อกระตุ้นให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนการสอนมากขึ้น
5.สร้างการเรียนรู้แบบกลุ่ม (เพื่อนช่วยเพื่อน) ใช้แนวคิดจากกลุ่มเป็นปัจจัยในการผลักดัน ผ่านการคิดวิเคราะห์การพูดคุยและการนำเสนอคำตอบที่หลากหลายเป็นคำตอบที่ไม่เน้นถูกผิดแต่เพียงอย่างเดียวแต่เน้นการคิดที่หลากหลายโดยใช้เหตุและผลปรับมุมมองใหม่คำตอบไม่ใช่ของนักเรียนคนใดคนหนึ่งแต่เป็นมติของกลุ่มที่ได้ผ่านการอภิปรายถกเถียงจากความคิดเห็นของสมาชิกทุกคน
6.จัดให้มีการนำเสนอหน้าชั้นเรียนโดยการให้นักเรียนผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันมานำเสนอโดยผ่านการตั้งคำถามของครูทีละคำถามในรูปแบบของการนำเสนอแนวคิดเพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เกิดเป็นความเข้าใจใหม่อีกทั้งยังสามารถขยายมุมมองใหม่ ๆ ให้กับผู้เรียนได้
เห็นได้ว่าการเรียนอย่างสนุกเริ่มได้จากสิ่งแวดล้อมรอบตัวการสร้างระบบนิเวศการเรียนรู้ในห้องเรียนที่เอื้อให้ผู้เรียนรู้สึกปลอดภัย สบายใจ และเชื่อมั่นผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมและเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เข้ามามีส่วนร่วม ย่อมส่งผลให้การเรียนรู้มีคุณภาพและประสิทธิภาพได้
บทความใกล้เคียง
แชร์ไอเดียการสอนภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ ง่ายๆ สไตล์โรงเรียนบ้านปลาดาว
การศึกษาหลังยุคโรคระบาดจะเป็นอย่างไร? 5 แนวโน้มเทคโนโลยีการศึกษาที่สถาบันต้องจับตาในปี 2023
Teachers Hero’s Journey เส้นทางครูฮีโร่ ในยุค new normal
Related Courses
การสอนคณิตศาสตร์ (3R)
คณิตศาสตร์จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แค่เรามีเทคนิคดีๆ มาเป็นตัวช่วยในการสอน คณิตศาสตร์ของเราก็จะเป็นเรื่องง่าย ไม่น่าเบื่ ...
การวางแผนพัฒนาตนเอง
การวางแผนพัฒนาตนเองช่วยให้คุณครูกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน มีการวางแผน และช่วยให้ครูเลือกใช้วิธีการที่เหมาะสม มีการกำหนดระ ...
การสอนภาษาไทย (3R)
การสอนภาษาไทยของมูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮมได้ออกแบบมาเพื่อพัฒนาทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน อย่างเป็นระบบเข้าใจง่ ...
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...