การเรียนรู้แบบใหม่ที่พ่อแม่ต้องรู้ถึงจะทันโลก
เทคโนโลยีทำให้ความก้าวหน้าเกิดขึ้นกับชีวิตมนุษย์ และมีการเปลี่ยนแปลงอย่างหลากหลายรูปแบบ เช่นเดียวกับการเรียนรู้ใหม่ๆ ที่ก้าวกระโดด ทำให้เด็กๆ รุ่นใหม่จึงมีการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาและการเรียนรู้ใน Platform อื่นๆ มากขึ้นด้วย
ด้วยสภาพและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทางการเรียนรู้ของเด็กยุคใหม่ ทั้งสภาพเศรษฐกิจและสังคมในยุคปัจจุบันทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบทางการศึกษา และมีอาชีพใหม่เกิดขึ้น และอาชีพเก่าบางอาชีพก็จะลดคความสำคัญลงอีกด้วย
ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีรูปแบบการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับยุคที่เรียกได้ว่า ยุคข้อมูลข่าวสาร นั้นก็คือ รูปแบบที่สามารถนำเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์ เช่น หลักสูตรออนไลน์ต่างๆ หรือช่องทางการเรียนรู้อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นภาพ เสียง วีดีทัศน์ สื่อสังคม เกม ซึ่งเด็กๆ ในยุคนี้จึงมีโอกาสที่จะเลือกรูปแบบการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับตนเองได้นั้นเอง
ซึ่งรูปแบบการเรียนรู้ที่ได้รับความนิยมและประสบความสำเร็จและใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งในประเทศและต่างประเทศนั้นได้แก่
- หลักสูตรออนไลน์แบบเปิด Massive Open Online (MOOCs)
- สื่อวีดีทัศน์ (YouTube)
- เกมคอมพิวเตอร์ (Games)
- สื่อสังคม (Social Media)
- สื่อทางเสียง (Audiobooks and Podcasts)
ในแต่ละ Platform ก็ควรที่จะคำนึงถึงการเลือกสื่อที่เหมาะสมกับคามต้องการของบริบท รวมทั้งต้องเตรียมความพร้อมเพื่อให้ได้รับประโยชน์จากสื่อการเรียนรู้อย่างเต็มที่ด้วย และนอกจากนี้การเรียนรู้แบบใหม่ของการศึกษาในอีก 10 ปีข้างหน้าจะเป็นอย่างไร และจะมีการเปลี่ยนแปลงไปมหาศาลมากน้อยและส่งผลต่อชีวิตของเด็กๆ ขนาดไหน
วันนี้เราก็มี งานวิจัยของ HolonIQ แพลตฟอร์มข้อมูลเทรนด์และงานวิจัยทางการศึกษาระดับโลก ที่จะมาเผย 5 ความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นในโลกแห่งการศึกษายุค 2030 ซึ่งได้วิเคราะห์มาจากการใช้ Machine Learning ดึงข้อมูลจากแหล่งข่าวชั้นนำทั่วโลก ผนวกกับการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานที่ทำงานวิจัยการศึกษาอย่าง World Bank , OCED และ UNESCO มาดูกันเลยดีกว่าว่าจะมีอะไรบ้าง
1. Education as Usual
ในอนาคตอาจจะมีสถาบันรูปแบบใหม่ๆ เกิดขึ้น ที่เป็นสถาบันที่เน้นทักษะอาชีพโดยเฉพาะ โดยอาจจะเป็นรูปแบบของการร่วมมือกับบริษัทต่างๆ ภาคเอกชน เพื่อสร้างหลักสูตรที่เน้นทักษะที่นำไปใช้ในการทำงานได้จริง ไม่เน้นทฤษฎี จบหลักสูตรก็สมัครงานในตำแหน่งนั้นๆ ได้เลย โดยการเรียนเช่นนี้จะไม่ได้จำกัดแค่นิสิต นักศึกษา แต่คนทั่วไปก็สามารถเรียนได้หรือคนที่อยากจะเปลี่ยนสายงานตัวเองก็สามารถเรียนได้เช่นกันค่ะ นอกจากนี้อาจจะมีเทนด์การจ้างงานข้ามประเทศกันมากขึ้นในรูปแบบการทำงานออนไลน์อีกด้วย
2. Regional Rising
รูปแบบนี้เป็นการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะเติโตในรูปแบบกลุ่ประเทศ มีการร่วมมือกันอย่างแข็งแกร่งในภูมิภาคต่างๆ สิ่งที่จะเกิดขึ้นในกรณีนี้ คือ สถาบันการศึกษาในภูมิภาคร่วมมือกันปรับหลักสูตร แบ่งปันข้อมูลกัน และร่วมกันพัฒนามาตรฐานการอบรมครูให้เป็นสากลจนสามารถทำโปรแกรม Exchange คุณครู โดยให้คุณครู 1 คน สามารถสอนได้ในหลายประเทศหมุนเวียนกันไป นอกจากนี้ก็ยังมีการ Exchange นักเรียนและคนทำงานเพิ่มมากขึ้นด้วยระหว่างประเทศ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและป้องกันภาวะสมองไหล ส่วนในการเรียนรู้ในโรงเรียนและมหาลัยยังคงเป็นโครงสร้างเดิม แต่เพิ่มรูปแบบ Blended Learning ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย เป็นการเรียนออนไลน์แต่เรียนในห้องเรียน ผู้สอนเป็นผู้เชี่ยวชาญพิเศษระดับภูมิภาค สอนออไลน์แล้วให้เด็กๆ หลายประเทศเข้ามาเรียนพร้อมกัน โดยมีคุณครูในแต่ละห้องช่วยดูแลด้วย
3. Global Giants
ในรูปแบบนี้ เทคโนโลยีและความร่วมมือระหว่างภูมิภาคจะเชื่อมต่อโลกทั้งใบเข้าด้วยกัน เทคโนโลยีการศึกษามีความสำคัญมากในการเจาะตลาดโลก มีการคาดการณ์ว่าตลาดการศึกษาจะมีขนาด 10 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐภายในปี 2030 ตลาดที่จะเติบโตมากที่สุดคือในทวีปเอเชีย แอฟริกา และลาตินอเมริกา ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีประชากรจำนวนมาก และล้วนใช้ smartphone เป็นหลัก ผู้เล่นรายใหญ่จะเริ่มทยอยซื้อกิจการ EdTech รายย่อยจนในที่สุดผู้เล่นรายใหญ่จะสามารถให้บริการที่ครอบคลุมทุกส่วนของการเรียนรู้เชื่อมโยงกัน ทั้งคอร์สเรียน แพลตฟอร์มวิเคราะห์ข้อมูลการเรียน การวัดผล การสื่อสาร และการรายงานผลการเรียน และมีการร่วมมือกันระหว่างผู้เล่นรายใหญ่กับบริษัทชั้นนำ เพื่อสร้าง solution การเรียนรู้ที่ตอบโจทย์ทักษะการทำงาน บางมหาวิทยาลัยอาจได้รับผลกระทบอย่างหนัก อาจต้องหาทางร่วมมือกันเป็นกลุ่มใหญ่ แต่กลุ่มมหาวิทยาลัยชื่อดังที่ปรับตัวทันก็จะได้เปรียบมาก
หากเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทมากขึ้น แล้วยิ่งเป็น solution คุณภาพระดับโลก การพัฒนาการเรียนการสอนก็จะเป็นแบบ data-driven และ personalized มากขึ้นเพราะมีจุดข้อมูลที่ไม่เคยมีมาก่อน เช่น ข้อมูลการเรียนแบบ real-time ส่งให้พ่อแม่และคุณครู ทำให้ช่วยสอนได้ถูกจุดด้วยนั่นเอง
4. Peer to Peer
รูปแบบนี้จะเป็นไปได้ถ้าหากว่ามีการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน 1 ต่อ 1 ระหว่างบุคคล peer-to-peer ได้รับการยอมรับแบบกว้างขวางภายในปี 2030 ซึ่งก็เป็นไปได้ เพราะว่าเทคโนโลยีได้เชื่อมต่อผู้คนเข้าด้วยกันแล้ว และมีแนวโน้มว่าจะมีราคาถูกลง ทำให้เข้าถึงได้กว้างขึ้นไปอีก รูปแบบนี้เหมาะกับการเรียนรู้ทักษะการทำงานของผู้ใหญ่มาก จะมีการรับรองคุณภาพด้วย rating ของผู้สอนซึ่งถูกโหวตในระบบเปิดและการออกใบรับรองแบบใหม่ ๆ เป็นการกระจายการเรียนรู้แบบกว้างขึ้นไปอีกเพราะผู้สอนเป็นใครก็ได้ที่มีทักษะและประสบการณ์ในสายอาชีพนั้น ไม่จำเป็นต้องมาจากสถาบันแบบดั้งเดิม การเรียนการสอนจะถูกโยกจากระดับสถาบันมาเป็นระดับบุคคล
การใช้ smartphone ผสานกับบทเรียนขนาดสั้น micro-learning จะทำให้การเรียนรู้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตประจำวัน ผู้เรียนเองก็มีทางเลือกใหม่ ๆ เพิ่มมากขึ้น ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนเก็บสะสมไปเป็น module ย่อยจากหลาย ๆ ผู้สอนได้
5. Robo Revotion
รูปแบบนี้ถ้าหาก AI มีการพัฒนาไปก้าวไกลและได้นำมาใช้ทดแทนตำแหน่งงานบางส่วนแล้ว ผู้คนไม่ต้องทำงานซ้ำซากจำเจที่หุ่นยนต์สามารถทำได้ เปลี่ยนมาเน้นทำงานที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์และความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ ในการศึกษาเช่นนี้ AI จะเข้ามามีบทบาทอย่างมากเช่นกัน แต่แบบที่ได้ผลดีที่สุดยังคงต้องเป็นการผสมผสานระหว่างระบบอัตโนมัติกับความใส่ใจของคุณครู เพราะการเรียนรู้ของคน ไม่ใช่การเขียนโค้ดระบบสั่งการเหมือนหุ่นยนต์ คาดการณ์ว่าการเรียนรู้จะเป็นแบบ personalized ปรับให้เหมาะกับนักเรียนแต่ละคนมากที่สุดโดยเรียนผ่านระบบ ทุกคนสามารถเข้าถึงการเรียนรู้ที่มีคุณภาพเท่าเทียมกัน นักเรียนแต่ละคนจะได้เรียนบทเรียนที่ต่างกันตามระดับความรู้ความเข้าใจแต่ละคน ครูอาจต้องเปลี่ยนบทบาทจากผู้สอน มาเป็นผู้ดูแลให้คำแนะนำ ทำให้ครูมีเวลาและมีข้อมูล ซึ่งจะช่วยให้คุณครูสามารถให้กำลังใจนักเรียน ส่งเสริมการเรียนรู้ สอนเพิ่มเติมในจุดที่ต้องการความช่วยเหลือ ดูแลเอาใจใส่นักเรียนแต่ละคนที่มีความต้องการที่แตกต่างกัน
สำหรับระดับประถมและมัธยม AI อาจมาในรูปแบบผู้ช่วยคุณครูอัจริยะ ช่วยลดงานเอกสารของคุณครู เช่น การเตรียมการสอน การเช็คชื่อ การวัดผลการเรียน มีระบบอัจริยะคอยอัพเดทสถานะและแจ้งเตือนคุณครูหากมีเด็กคนไหนน่าเป็นห่วง ทำให้คุณครูมีเวลามากขึ้นในการทำกิจกรรมกับเด็ก ๆ และให้ความใส่ใจแบบใกล้ชิดได้มากขึ้นนั้นเอง
แหล่งอ้างอิง : www.okmd.or.th/okmd-opportunity/FutureLearningPlatform/899/Digilearn_infographic
Related Courses
สร้างสรรค์การนำเสนอที่ทรงพลังด้วย Google Slides
การใช้ Google Slides เพื่อการสอนอย่างสร้างสรรค์สามารถช่วยกระตุ้นความสนใจและสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่มีส่วนร่วมสำ ...
เทคนิคและวิธีการสอนสมัยใหม่
การใช้คำถาม เครื่องมือ การนำเสนอ ที่แปลกใหม่ น่าสนใจ มีส่วนสำคัญในการสร้างห้องเรียนที่ผู้เรียนมีส่วนร่วม เรียนรู้วิธีการถาม กา ...
พื้นฐานการใช้เทคโนโลยี สำหรับครูยุคใหม่
หลักสูตรเพื่อก้าวสู่การครูยุคใหม่ซึ่งมีทักษะพื้นฐานทางดิจิทัลและความรู้เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในนำมาใช้ในการผลิตสื่อ ...
ห้องเรียนแห่งอนาคต
แนวคิดในการพัฒนาห้องเรียนอัจฉริยะสู่การเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ซึ่งสามารถรองรับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับการศึกษาในศต ...