ท้อกับการสอนทำยังไงดี? 5 เคล็ดลับการพัฒนาตนเองสำหรับคุณครู กอบกู้หัวใจในการสอน
สำหรับคุณครูแล้ว คงไม่มีอะไรที่จะน่าท้อใจไปกว่าช่วงเวลาที่เรารู้สึกว่าเราอาจจะยังสอนได้ไม่ดีพอ หรือยังมีหลากหลายจุดที่เราต้องพัฒนาและเสริมสร้างในตนเอง ช่วงเวลาเหล่านี้อาจดูเหมือนเป็นช่วงเวลาที่แย่ เป็นโมเมนต์ที่เราไม่อยากรู้สึกหรือไม่อยากเผชิญ แต่ในความเป็นจริง ช่วงเวลาเหล่านี้ถือเป็นช่วงเวลาที่ดีและมีคุณค่าเลยทีเดียวค่ะที่คุณครูจะสามารถใช้เพื่อฝึกฝนและพัฒนาตัวเองเพิ่มเติม ทีละเล็กละน้อย เพื่อช่วยให้การสอนของเราดียิ่งขึ้น
แต่ไม่เคยเริ่มลองฝึกฝนตัวเองในด้านอื่นๆ เพิ่มเติมมาก่อนเลย ที่ผ่านมาก็พยายามโฟกัสที่เนื้อหาวิชามาตลอด จะเริ่มยังไงดีนะ? บทความนี้ Starfish Labz มีเคล็ดลับมาฝากค่ะ จะเป็นทักษะการมีความคิดแบบเติบโตได้ (Growth Mindset), การเรียนการสอนเชิงปฏิบัติ (Active Learning) หรือกลกยุทธ์การเรียนการสอนอื่นๆ (Learning Strategies) เคล็ดลับเหล่านี้ก็สามารถช่วยคุณครูเริ่มต้นด้วยตัวเองได้
จะมีเคล็ดลับอะไรสำหรับการพัฒนาตนเองของคุณครูกันบ้าง มาดูกันเลยค่ะ
ท้อกับการสอน ทำยังไงดี? 5 เคล็ดลับการพัฒนาตนเองสำหรับคุณครู กอบกู้หัวใจในการสอน
1.เริ่มต้นด้วยการปรับกรอบความคิด (Shifting Mindset)
การเริ่มต้นเปลี่ยนแปลงตัวเองหรือการพัฒนาสิ่งใหม่ ๆ คงจะเป็นไปไม่ได้เลยหากเรายังอยู่ในกรอบความคิดหรือ Mindset แบบเดิม ขั้นตอนแรกที่สำคัญคือการค่อยๆ ตรวจดูกรอบความคิดหรือทัศนคติของเราที่มีอยู่ต่อการเปลี่ยนแปลง เรากำลังอยากเปลี่ยนแปลงหรือเปล่า เราพร้อมและเปิดต่อการพัฒนาไหม และถ้าไม่พร้อม หรือรู้สึกต่อต้านอยู่เป็นเพราะอะไร ถ้าเรารู้ว่าเราอยากลองพัฒนาทักษะใหม่ๆ แต่ยังรู้สึกต่อต้านในใจ หัวใจสำคัญก็คือการเริ่มต้นที่การลองปรับความคิด การรู้สึกต่อต้านไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวลหรือเป็นเรื่องที่ผิดเลยค่ะ อันที่จริงเป็นสิ่งที่เป็นธรรมชาติมากๆ และเมื่อเราค่อยๆ ปรับและเปิดกรอบความคิดและทัศนคติของเราแล้ว เราก็จะค่อยๆ เปิดรับต่อไอเดียเรื่องการพัฒนาสิ่งใหม่ๆ ได้เองอย่างเป็นธรรมชาติ โดยไม่รู้สึกว่าเรากำลังบีบบังคับหรือพัฒนาตัวเองให้ต้องเก่งหรือขยันอย่างเดียวเสมอไป
หากเริ่มต้นด้วย Mindset ที่ดีแล้ว การพัฒนาต่อไปก็ไม่ใช่เรื่องยากเลยทักษะสำคัญในขั้นตอนนี้คือการปรับกรอบความคิด (Shifting Mindset), การยืดหยุ่นความคิด (Flexibility) และการปรับตัว (Adaptability) นั่นเองค่ะ
2.พูดคุยกับตัวเองอย่างซื่อตรง เราอยากพัฒนาอะไร เรากำลังขาดในจุดไหน เป้าหมายท้ายสุดในการพัฒนาของเราคืออะไร (Honest Self-Talk)
มี Mindset ที่ดีแล้วก็ถึงคราวของการระบุสิ่งที่เราอยากพัฒนา ในขั้นตอนนี้การใช้เหตุผล (Reasoning) พูดคุยกับตัวเองอย่างซื่อตรง (Honest Self-Talk) ถือเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ ยิ่งเราสามารถซื่อตรงต่อตัวเองได้มากเท่าไหร่ เราก็ยิ่งมีโอกาสที่จะมองเห็นสิ่งที่เราอยากพัฒนาและต้องพัฒนาจริงๆ ได้อย่างชัดเจนมากเท่านั้น
เรากำลังขาดจุดไหนเวลาสอน หรือเวลาทำงานสอนในด้านอื่นๆ เราพัฒนาเพิ่มเติมได้อีกไหม เมื่อระบุสิ่งที่อยากพัฒนาได้แล้ว เป้าหมายท้ายสุดในการพัฒนาของเราคืออะไร เช่น เด็กๆ เข้าใจสิ่งนี้ได้ดียิ่งขึ้น, เรารู้สึกสอนได้อย่างลื่นไหลกว่าเดิม ไปจนถึงเรารู้สึกเหนื่อยน้อยลงระหว่างการสอน
3.วางแผนการเรียนรู้และพัฒนา มองหาตัวเลือกการพัฒนาที่ใช่ (Planning)
อยากพัฒนาทักษะนี้แต่จะเริ่มที่ไหนดี? เมื่อเรามีสิ่งที่อยากพัฒนาในใจแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือการวางแผนการพัฒนาตนเองนั่นเองค่ะ ช่องทางการพัฒนา แหล่งเรียนรู้ ไปจนถึงความถี่ในการพัฒนา เคล็ดลับในขั้นตอนนี้คือการวางแผนที่ช่วยให้เราอยากเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ผ่อนคลาย และเป็นธรรมชาติ เราอาจจะเลือกเป็นการเรียนด้วยตนเองแบบออนไลน์ หรือจะกับผู้สอนตัวต่อตัวก็ได้ แต่หัวใจสำคัญก็คือการไม่หักโหม เคร่งเครียด และกดดันตัวเองจนเกินไปนะคะ ไหนจะงาน ไหนจะพักผ่อน ไหนจะที่บ้าน น้อยๆ แต่ต่อเนื่องจะช่วยให้เราไม่รู้สึกว่าการเรียนรู้เป็นภาระ แต่เป็นกิจกรรมเสริมที่สามารถสร้างความสนุกขึ้นมาและยังสามารถเป็นสิ่งที่ทำให้เรารู้สึกตื่นเต้นได้
4.ขยายกรอบการเรียนรู้และพัฒนาของเรา (Expanding)
นอกเหนือจากการเรียนรู้ในรูปแบบดั้งเดิมแล้ว อีกหนึ่งเคล็ดลับที่ Starfish Labz อยากเสนอให้กับคุณครูทุกคนก็คือการลองขยายกรอบการเรียนรู้ของตัวเองให้กว้างกว่าเดิมและไปจนถึงแปลกใหม่ ยิ่งมีความคิดสร้างสรรค์เท่าไหร่ ก็ยิ่งช่วยให้เราสนุกไปกับการเรียนรู้เท่านั้น
ตัวอย่างการขยายกรอบการเรียนรู้ เช่น เราอยากพูดเก่งและลื่นไหลได้ดีกว่าเดิม เราฝึกเรียนกับคอร์สออนไลน์แล้ว เราลองออกไปฝึกแบบเป็นธรรมชาติๆ กับกิจกรรมอื่นๆ ดูไหม ลองลงทำงานอาสาสมัคร พาตัวเองออกไปพบกับผู้คน ฝึกความกล้าแสดงออกอย่างเป็นธรรมชาติ การเรียนรู้และการพัฒนาตนเองไม่จำเป็นว่าต้องเกิดกับผู้สอนหรือในคอร์สเสมอไป แต่ยังสามารถเกิดได้อย่างง่ายๆ ผ่านกิจกรรมทั่วไป กิจกรรมพิเศษในวันหยุด ไปจนถึงกิจกรรมง่ายๆ ในชีวิตประจำวันของเรา
5.วัดผลการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาของเรา (Feedback)
เมื่อเริ่มพัฒนาแล้ว ก็ถึงคราวของการวัดผลและประเมินการพัฒนาของเรา ในขั้นตอนนี้ คุณครูสามารถทำได้ทั้งการประเมินตนเอง (self-feedback) และการลองขอให้เพื่อนร่วมงานหรือไปจนถึงเด็กๆ ช่วยประเมินการเปลี่ยนแปลง ถ้าเป็นทักษะการทำงานส่วนตัว การประเมินด้วยตัวเองย่อมดีกว่า ส่วนถ้าเป็นทักษะในห้องเรียน นอกเหนือจากการประเมินด้วยตัวเอง ยังสามารถลองให้เด็กๆ ช่วยประเมิน ช่วยชี้แนะ และแนะนำสิ่งที่เขาต้องการ ถือเป็นอีกหนึ่งเคล็ดลับเล็กๆ ที่ช่วยทั้งการพัฒนาตนเองของคุณครูและการเรียนรู้ของเด็กๆ ด้วยค่ะ
อ้างอิง:
บทความใกล้เคียง
แชร์ไอเดียการสอนภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ ง่ายๆ สไตล์โรงเรียนบ้านปลาดาว
การศึกษาหลังยุคโรคระบาดจะเป็นอย่างไร? 5 แนวโน้มเทคโนโลยีการศึกษาที่สถาบันต้องจับตาในปี 2023
Teachers Hero’s Journey เส้นทางครูฮีโร่ ในยุค new normal
Related Courses
การสอนคณิตศาสตร์ (3R)
คณิตศาสตร์จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แค่เรามีเทคนิคดีๆ มาเป็นตัวช่วยในการสอน คณิตศาสตร์ของเราก็จะเป็นเรื่องง่าย ไม่น่าเบื่ ...
การวางแผนพัฒนาตนเอง
การวางแผนพัฒนาตนเองช่วยให้คุณครูกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน มีการวางแผน และช่วยให้ครูเลือกใช้วิธีการที่เหมาะสม มีการกำหนดระ ...
การสอนภาษาไทย (3R)
การสอนภาษาไทยของมูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮมได้ออกแบบมาเพื่อพัฒนาทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน อย่างเป็นระบบเข้าใจง่ ...
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...