10 สูตรสร้างสรรค์คอนเทนต์ ก่อนก้าวเป็น "ครูครีเอเตอร์" จาก Workshop Teacher Hero Season 3
ผลสำรวจล่าสุดแสดงให้คอนเทนต์ครีเอเตอร์ทั่วโลกเห็นว่า ต้องต่อสู้แย่งชิงความสนใจของผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียโดยเฉลี่ย 1.5 วินาที เวลาเพียงเท่านี้คือจุดชี้ชะตาของคอนเทนต์หนึ่งๆ ว่าจะทำงานกับผู้อ่านผู้ชมหรือไม่
หลังจากที่เห็นโพสต์ สายตาของมนุษย์จะประมวลผลภาพและข้อมูลส่งเข้าสู่สมอง หากว่าเราเป็นคอนเทนต์ครีเอเตอร์ที่เข้าใจสัดส่วนทองคำดี รู้ว่าควรจะจัดวางเลย์เอาต์เนื้อหาให้อ่านง่ายขึ้นได้อย่างไร เข้าใจเทคนิคการจัดลำดับความสำคัญของข้อมูล และใส่ข้อความเท่าที่จำเป็นเท่านั้น และเลือกสะท้อนเนื้อหาด้วยภาพประกอบที่สื่อให้ผู้พบเห็นเข้าใจได้ทันทีในชั่วพริบตา คอนเทนต์นั้นก็อาจจะแค่รอด หรือได้รับความนิยมสูง ถูกแชร์ต่อไปไกล จนเรียกว่า ‘ไวรัลคอนเทนต์’ ก็เป็นได้
และต่อไปนี้เป็น 10 สูตรสร้างสรรค์คอนเทนต์ ก่อนก้าวเป็น ‘ครูครีเอเตอร์’ ที่ทางทีมงาน Starfish Labz ได้เก็บความรู้ สรุปมาฝากจากคลาส Online Content 101 โดย คุณเอ็ม 'ขจร เจียรนัยพานิชย์' ในงานเวิร์กช้อป Teachers Hero Season 3 ณ โรงแรมอมารี ดอนเมือง กรุงเทพฯ เมื่อวันเสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน 2565 เวลา 13.00 น. - 14.00 น.
1. ทำให้เข้าใจง่ายที่สุด (Simple) ไม่ต้องใส่ข้อมูลละเอียดลงไปในภาพ
2. คุณภาพของภาพ วิดีโอ และเนื้อหา (Quality) ทำให้ดีที่สุดสุดความสามารถ
3. เพิ่มการมีส่วนร่วม (Engagement) กับผู้ติดตามให้ได้ หาคอนเทนต์ที่มีจุดเชื่อมโยงกับองค์กรและกลุ่มเป้าหมายของเรา อาจตั้งคำถามทายคำ หรือหาเกมมาให้เล่น
4. ความคิดเห็น (Opinion) ก่อนจะกลายเป็นผู้ทรงอิทธิพลได้ ครีเอเตอร์จะต้องสร้างความรู้สึกชื่นชมและเชื่อมั่นให้ผู้ติดตามสัมผัสได้ เช่น ความจริงใจ บุคลิกภาพและน้ำเสียงน่าฟัง หรือมีความรู้น่าเชื่อถือเพียงพอให้ผู้คนอยากรับฟังความคิดเห็นของคุณให้ได้ เช่น รีวิวว่าชอบหรือไม่ชอบอะไรหลังใช้งาน เพื่อช่วยผู้ติดตามนำไปตัดสินเลือกซื้อ เลือกทำตามหรือไม่ทำตามได้
5. สร้างแรงดึงดูด (Attractive) หาเทคนิคภาพหรือวิดีโอที่ชวนมอง ใส่คำพูดน่าสนใจ ชวนสงสัยใคร่รู้ ทำให้กลุ่มเป้าหมายของเราอยากหยุดดู และคลิกอ่านต่อ
6. ความคิดสร้างสรรค์ (Creative) เราต้องสู้กับนักสร้างสรรค์ทั้งหมดในโลกโซเชียลมีเดีย จึงต้องสร้างความแตกต่างจากคนอื่นๆ ด้วยไอเดียสนุกๆ และสไตล์เฉพาะตัวที่น่าจดจำ สร้างความประทับใจ และแบ่งปันความรู้สึกร่วมให้เกิดกับผู้คนได้
7. ทำข้อมูลประกอบภาพง่ายๆ (INFO-GRAPHIC) ไม่ต้องใส่ข้อมูลที่ซับซ้อนละเอียดลงลึกระดับกราฟิกดีไซเนอร์มืออาชีพ แต่ใส่ข้อมูลกับไอคอนหรือภาพประกอบที่จะช่วยให้ผู้คนเข้าใจข้อมูลนั้นๆ ได้ง่ายขึ้นแบบง่ายๆ ก็พอ
8. เล่าให้จบในแต่ละโซเชียล (Social Base) ควรเล่าเรื่องให้คนอ่านจนจบตามความเหมาะสมกับฟังก์ชันของแต่ละแพลตฟอร์ม อย่าพยายามย้ายคนจากแพลตฟอร์มหนึ่งไปยังแพลตฟอร์มหนึ่ง เพราะคนจะหายไปทันที 70% พวกเขาไม่สะดวกที่จะไปต่อกับเรา และโพสต์นั้นๆ จะไม่ได้ผลทันที เราจึงควรจะสร้างการเติบโตแยกโซเชียล เช่น หากจะสร้าง traffic เข้าเว็บไซต์ก็ควรจะทำบทความที่ติด SEO เป็นมิตรต่อ Google แล้วหากจะนำมาเล่าต่อใน facebook ก็ควรจะนำเสนอใหม่เป็น format อื่น อาจเป็นอัลบั้ม 4 ภาพจบ ที่แสดงผลเหมาะกับแพลตฟอร์มนั้นๆ พร้อมถ่ายทอดเนื้อหาแต่ต้นจนจบแบบย่อๆ แล้วฝากลิงก์ให้ไปติดตามฉบับเต็มบนเว็บไซต์ต่อได้ เป็นต้น
9. ความสม่ำเสมอ (Consistency) ห้ามทำๆ หยุดๆ เด็ดขาด ควรตั้งตารางปล่อยคอนเทนต์ให้ผู้ติดตามทราบว่าจะได้พบกันเรื่อยๆ ในทุกๆ วันไหน ไม่จำเป็นต้องทำปริมาณเยอะ แต่ต้องหมั่นเล่าให้สม่ำเสมอ เช่น เดือนละ 2 ครั้ง หรือจะทุกๆ วันไหนเวลาอะไร เป็นต้น
10. ติดตามวัดผล (Measurement) คอยติดตามข้อมูลตัวเลขหลังบ้านแต่ละโซเชียลมีเดียมาวิเคราะห์ผลอยู่เสมอ เพื่อพัฒนาคอนเทนต์ของเราจากฟีดแบ็กที่ได้รับจริงว่าพฤติกรรมของผู้ติดตามเราเป็นอย่างไร ผลตอบรับเป็นแบบนี้แล้วเราจะปรับปรุงพัฒนายังไงต่อไป
หากคุณครูอยากดึงความสนใจจากนักเรียนให้สนใจความรู้มากขึ้น ก็อาจนำไปปรับใช้กับการสร้างสื่อการสอนให้เด็กๆ ได้เช่นเดียวกันนะคะ
ประวัติ Exclusive Expert
คุณเอ็ม 'ขจร เจียรนัยพานิชย์' @khajochi บล็อกเกอร์และคอนเทนต์ครีเอเตอร์ มีผู้ติดตามบน twitter, tiktok, และ facebook page รวมกว่า 1 ล้านคน ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท Rabbit Digital Group ดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งเอเจนซี่ ผู้ผลิตสื่อออนไลน์ ได้แก่ Parent One นิตยสารออนไลน์แม่และเด็ก, Rainmaker สื่อสอนเทคนิคการสร้างออนไลน์คอนเทนต์ และ Mango ZERO สื่อสำหรับวัยรุ่น เป็นต้น ผลงานล่าสุดเป็นผู้ร่วมก่อตั้งงาน iCreator Conference งานอัปเดตความรู้ในแวดวงคอนเทนต์ครีเอเตอร์ และมอบรางวัลให้แก่ครีเอเตอร์ชั้นนำของเมืองไทยที่มีผลงานโดดเด่นในด้านต่างๆ
บทความใกล้เคียง
ตื่นตา ตื่นใจ กับการเรียนรู้โลกทั้งใบด้วย Google Earth
ยกระดับการเรียนรู้โรงเรียนทองผาภูมิวิทยา ด้วย 3 นวัตกรรมเทคโนโลยีด้านการศึกษา จาก Starfish Education
5 คอร์สออนไลน์ยอดฮิต เรียนฟรี แสนคุ้มค่า จาก Starfish Labz
Related Courses
Micro Learning การดูแลสุขภาพใจ ป.1-3
การที่เด็กอารมณ์ดี มีความร่าเริงแจ่มใสจะมีผลต่อพัฒนาการในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็น สมอง จิตใจ และร่างกาย แต่หากอารมณ์ไม่ ...
Micro Learning เทคนิคการดูแลสุขภาพกาย ป.4-6
การเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายที่ดีจากภายในสู่ภายนอก ควรทำควบคู่ไปกับการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และพักผ่อนให้เพียงพอ
Micro Learning เครื่องมือช่วยจัดการเรียนรู้ทางไกล
การเลือกครื่องมือช่วยจัดการเรียนรู้ทางไกลมีความสำคัญเพราะเป็นช่องทางที่จะนำความรู้ไปสู่นักเรียน จะมีเครื่องมือไหนบ้างที่เหมาะส ...
Micro Learning การดูแลสุขภาพใจ ป.4-6
เด็กระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6 จะอยู่ในช่วงวัยที่เริ่มเรียนรู้จักพัฒนาตนเอง สนใจความรู้สึกตนเองและผู้อื่น เริ่มให้ความสนใจเพศตร ...