Active Learning ชุมชนออนไลน์

กลุ่มพูดคุยเรื่องการเรียนแบบ Active Learning: แนวทางและประสบการณ์ มากมายที่นี่

ค้นพบวิธีการสอนแบบ Active Learning ในกลุ่มพูดคุยของเรา และแบ่งประสบการณ์เพื่อเสริมสร้างการเรียนที่น่าสนใจและมีประสิทธิภาพ

การพัฒนาสมรรถนะด้านเทคโนโลยีของครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อพัฒนากระบวนการสอนแบบ active learning โดยใช้รูปแบบ PAPADA MODEL

นางสาวปภาดา
นางสาวปภาดา
Top Post
Top Post

9 เดือนที่แล้ว

การพัฒนาสมรรถนะด้านเทคโนโลยีของครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อพัฒนากระบวนการสอนแบบ active learning โดยใช้รูปแบบ PAPADA MODEL
P-Plan การร่วมกันวางแผน กำหนดทิศทาง รูปแบบในการดำเนินการประเด็นต่างๆทั้งด้านการพัฒนานักเรียน พัฒนาครู พัฒนาโรงเรียน ให้มุ่งสู่ความมีประสิทธิภาพ 1) วิเคราะห์สภาพปัญหา บริบทของโรงเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน
2) ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษาร่วมกันวางแผนในการจัดการศึกษา
A-Attitude การสร้างเจตคติที่ดีในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในกระบวนการทำงานของครูและบุคลากรทางการศึกษา
1) สร้างทัศนคติการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ดีให้กับครูและบุคลากรทางการศึกษา
2) สร้างความตระหนักและประโยชน์ของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในกระบวนการทำงานอย่างรอบด้าน
P-Participation การมีส่วนร่วมในการพัฒนาสมรรถนะด้านเทคโนโลยีของครูและบุคลากรทางการศึกษา
1) พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีส่วนร่วมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศร่วมกันในดำเนินงานต่างๆ ในโรงเรียน
2) พัฒนาชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพ (PLC)
A-Action การลงมือปฏิบัติการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการปฏิบัติงานต่างๆ ในโรงเรียน
1) สร้างช่องทางออนไลน์ในการปฏิบัติงานร่วมกันในโรงเรียน เช่น การใช้ google drive , google from, google sheet เป็นต้น
2) สร้างช่องทางออนไลน์ในการใช้ Q-info นวัตกรรมการศึกษาในการนำมาใช้ในการบริจัดการข้อมูลสารสนเทศต่าง ๆ ในชั้นเรียน
D-develop พัฒนาและขับเคลื่อนให้ครูและบุคลากทางการศึกษาในโรงเรียนมีการพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอในด้านสมรรถนะทางเทคโนโลยี
1) ขับเคลื่อนให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนพัฒนาสมรรถนะด้านเทคโนโลยี
อย่างต่อเนื่องเช่น การเข้ารับการอบรมต่าง ๆ
2) ขับเคลื่อนให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาเข้ารับการอบรมพัฒนาสมรรถนะทางด้าน
ดิจิทัลของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
A – Assessment ประเมินผลการพัฒนาสมรรถนะด้านเทคโนโลยีของครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อพัฒนากระบวนการสอนแบบ active learning
1) มีการประเมินผลการนำเทคโนโลยีไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนของครูด้วยรูปแบบการ
นิเทศการสอน
2) ส่งเสริมให้ครูสร้างนวัตกรรม และเทคโนโลยีในการนำมาใช้ในการเรียนการสอนให้กับผู้เรียน
และมีการประเมินสื่อและนวัตกรรมหลังการใช้เพื่อนำผลที่ได้ไปปรับปรุงและพัฒนาต่อไป

3 ชอบ

2 ตอบกลับ

1,317 ดู

เพิ่มความคิดเห็น
ก็อปปี้ลิงก์
โค้ชชล
โค้ชชล
Top Fan
Top Fan

9 เดือนที่แล้ว

เป็นโมเดลที่น่าสนใจมากค่ะ

1 ชอบ

นางสาวปภาดา
นางสาวปภาดา
Top Post
Top Post

4 เดือนที่แล้ว

ขอบคุณค่ะลองไปปรับใช้ดูนะคะ

0 ชอบ

เข้าร่วมชุมชนออนไลน์

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์ เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

หมวด