"ความท้าทาย โอกาส และความสำเร็จ"

ในการขับเคลื่อน วPA ซึ่งเป็นแนวทางการประเมินรูปแบบใหม่ทั้งหลักเกณฑ์และวิธีการทำให้พบปัญหาในด้านต่าง ๆ มากมาย ซึ่งคุณครูต่างก็พบเจอแล้วแต่สถานการณ์นั้นๆ  ดังนั้นจุดเริ่มต้นในการขับเคลื่อนคือบุคลากรทุกคนจะต้องเข้าใจว่า วPA คือระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานตามวิสัยทัศน์ วัตถุประสงค์และเป้าหมาย เพื่อให้บรรลุพันธกิจและความสำเร็จขององค์กร โดยมีการกำหนดหลักเกณฑ์การประเมินและกิจกรรมตัวชี้วัดต่าง ๆ ไว้ล่วงหน้าสอดคล้องกับตำแหน่งและภาระงาน รวมถึงจุดมุ่งหมายขององค์กรนั้นๆโดยมีจุดมุ่งหมายในการประเมินที่ชัดเจน วPA จึงถือว่าเป็นเครื่องมือสำคัญขององค์กรที่ช่วยปรับปรุงพัฒนาองค์กรให้ดีขึ้น และยังเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จขององค์กรได้อย่างดี 

การขับเคลื่อนการพัฒนางานตามประเด็นท้าทายสู่ความก้าวหน้าในวิชาชีพด้วยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนและการขอมีหรือการขอเลื่อนวิทยฐานะตามหลักเกณฑ์ ว 9  คุณครูจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในการจัดทำข้อตกลงการพัฒนางาน ตามหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะและภาระงานที่กำหนด สำหรับการขอมีและเลื่อนวิทยฐานะสูงขึ้นและคุณครูจะต้องศึกษาและเรียนรู้ขั้นตอนและวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงาน วิธีการจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางานตาม ว PA เพื่อนำมาใช้ในการพิจารณาเลื่อนเงินเดือน และคงวิทยฐานะตามมาตรา 55 นั่นเอง ซึ่งในแต่ละโรงเรียนก็จะมีวิธีการบริหารจัดการให้ความช่วยเหลือกัน เช่นตั้งกลุ่มให้ความช่วยเหลือเป็น “คลินิก วPA”เพื่อสร้างความเข้าใจการเพิ่มเติมเสริมความรู้ และการช่วยเหลือในเรื่องเอกสารในการดำเนินการประเมินเพื่อที่จะจับมือไปพร้อมๆกันในการประเมินไปสู่ความสำเร็จมีการแต่งตั้งคณะกรรมการจากหัวหน้ากลุ่มสาระเป็นคณะกรรมการกลั่นกรองก่อนการประเมิน ในเรื่องของคุณสมบัติของผู้ประเมิน การช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันเป็นต้นเป็นครูช่วยครู เป็นแม่ข่ายครูท่านไหนที่ผ่านการประเมินแล้วต้องคอยมาเป็นครูพี่เลี้ยงมาช่วยเหลือ PLC  (Professional Learning Community) คือ การที่ครูทุกคนได้มาแบ่งปันแนวคิดเพื่อช่วยเหลือครูด้วยกันในการประเมินจนทุกคนสามารถบรรลุศักยภาพสูงสุดของตนเองได้กลายเป็นเครือข่ายที่ช่วยเหลือซึ่งกันและกันในโรงเรียน 

คุณครูที่เข้ารับการประเมินต้องตระหนักอยู่เสมอว่าเกณฑ์ใน ว 9/2564 ไม่ได้ให้ความสำคัญกับผลผลิต (output) แต่ให้ความสำคัญกับการนำผลผลิตไปใช้และดูว่าผลการนำไปใช้จะทำให้ได้ผลลัพธ์ (outcome) อย่างไร ซึ่งผลลัพธ์นี้เป็นผลลัพธ์ที่เกิดกับ ผู้เรียนนั่นคือ ผู้เรียนจะต้องมีความรู้ มีทักษะ มีเจตคติที่ดี  มีความคิดอันจะส่งผลต่อพฤติกรรม หรือ คุณลักษณะตามจุดประสงค์ของหลักสูตรนั่นเองซึ่งการประเมินผลการปฏิบัติงาน (PA) นับได้ว่าเป็นอีกหนึ่งการเปลี่ยนผ่านทางการศึกษาที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของครูผู้สอนเป็นอย่างยิ่งซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่ครูผู้สอนจะต้องทำความเข้าใจกับหลักเกณฑ์เหล่านี้เพื่อให้ปฏิบัติตามได้ถูกต้องและส่งผลดีต้องการปฏิบัติงาน

ดังนั้น การในการประเมิน PA ไม่ได้เป็นสิ่งที่ยากเนื่องจากเป็นงานที่ทำอยู่แล้วแต่จะต้องส่งผลลัพธ์ต่อผู้เรียนทั้ง 3 องค์ประกอบคือ พุทธิพิสัย ทักษะวิสัยและจิตพิสัย ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญในการออกแบบการจัดทำแผนการเรียนรู้ที่จะส่งผลต่อนักเรียนจะทำให้การประเมินประสบความสำเร็จได้ จนสามารถก้าวข้ามผ่านวิกฤตต่าง ๆ ไปได้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในอนาคตต่อไป 

วิดีโอใกล้เคียง

เทคนิคการออกแบบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
01:28:36

เทคนิคการออกแบบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน

413 views • 8 เดือนที่แล้ว
เทคนิคการออกแบบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
PA พลิกโฉมห้องเรียนแห่งอนาคต ด้วยการประเมินผู้เรียนที่ตรงจุด
01:01:51

PA พลิกโฉมห้องเรียนแห่งอนาคต ด้วยการประเมินผู้เรียนที่ตรงจุด

356 views • 2 เดือนที่แล้ว
PA พลิกโฉมห้องเรียนแห่งอนาคต ด้วยการประเมินผู้เรียนที่ตรงจุด
ถอดบทเรียนแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาครูสู่เส้นชัย วPA
01:42:05

ถอดบทเรียนแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาครูสู่เส้นชัย วPA

238 views • 10 เดือนที่แล้ว
ถอดบทเรียนแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาครูสู่เส้นชัย วPA
ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้อย่างไรให้ครบ 8 องค์ประกอบ วPA
01:10:44
Starfish Academy

ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้อย่างไรให้ครบ 8 องค์ประกอบ วPA

Starfish Academy
744 views • 1 ปีที่แล้ว
ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้อย่างไรให้ครบ 8 องค์ประกอบ วPA

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

คอร์สใกล้เคียง

ภาษาและการสื่อสาร
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
3:00 ชั่วโมง

How to พูดอังกฤษยังไงให้เป๊ะ แบบไม่เน้นท่องจำ

การสื่อสารภาษาอังกฤษ ใครว่ายาก? หากเราเข้าใจ และสื่อสารมันจากความรู้สึก และไม่ต้องกังวลจนเกินไป ในคอร์สเรียนนี้เราจ ...

ศรีชัยยะพรกณก กิจเวชเจริญ (อ.บี)
ศรีชัยยะพรกณก กิจเวชเจริญ (อ.บี)
How to พูดอังกฤษยังไงให้เป๊ะ แบบไม่เน้นท่องจำ
ศรีชัยยะพรกณก กิจเวชเจริญ (อ.บี)

How to พูดอังกฤษยังไงให้เป๊ะ แบบไม่เน้นท่องจำ

ศรีชัยยะพรกณก กิจเวชเจริญ (อ.บี)

ต้องใช้ 100 เหรียญ

เครืองมือครู
การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”

เรียนรู้ ทำความเข้าใจภาพรวมของการประเมินเพื่อขอมี / เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู” (วPA)

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
7005 ผู้เรียน
เครืองมือครู
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
1:30 ชั่วโมง

Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1

คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...

Starfish Academy
Starfish Academy
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
Starfish Academy

Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1

Starfish Academy
1011 ผู้เรียน
เครืองมือครู
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
3:30 ชั่วโมง

นวัตกรรม Booklet ทำอย่างไรให้ ว้าว!

วันนี้ Starfish Labz มีเคล็ดลับดีๆ ที่จะช่วยให้ครูผู้สอนได้เทคนิคการออกแบบกิจกรรมใน Booklet ให้มีความน่าสนใจ สร้างสรร ...

นจรส  ศิริขรรแสง (ครูเจ)
นจรส ศิริขรรแสง (ครูเจ)
นวัตกรรม Booklet ทำอย่างไรให้ ว้าว!
นจรส  ศิริขรรแสง (ครูเจ)

นวัตกรรม Booklet ทำอย่างไรให้ ว้าว!

นจรส ศิริขรรแสง (ครูเจ)

ต้องใช้ 100 เหรียญ