EP:2 Chef’s Table Eat & EDUCATE ทิศทางของครูไทย ไปยังไงกันต่อดี
ยุคสมัยเปลี่ยนไป แม่พิมพ์อย่างคุณครู ก็ต้องปรับตัว
เตรียมพร้อมสร้างผู้ใหญ่ ในอนาคตที่แข็งแกร่ง และมั่นใจ
แต่การเปลี่ยนแปลง ย่อมนำความสับสน ความไม่แน่ใจ
มาให้เหล่าคุณครูได้บ้าง ถือเป็นเรื่องปกติ
และพวกเขา ต้องการแรงสนับสนุน จากทางภาครัฐ
เพื่อมีแรงเดินหน้าต่อ กับเส้นทางอันมีเกียรติสายนี้
วันนี้ Starfish Labz ร่วมเสวนากับ รศ.ดร.ประวิต เอราวรรณ์ เลขาธิการ ก.ค.ศ.
พร้อมด้วย ดร.แพร นรรธพร จันทร์เฉลี่ย เสริบุตร CEO Starfish Education,
ครูสายบัว พิมพ์มหา และครูตะวัน แสงทอง
พูดคุยประเด็นสำคัญอย่าง วิชาชีพครู ผ่านรายการ Chef's Table EAT & EDUCATE
EP. 2 ในหัวข้อ ทิศทางของครูไทย ไปอย่างไรกันต่อดี เรื่องราวจะเข้มข้นแค่ไหน มาหาคำตอบไปพร้อมกัน
ครูยุคใหม่ ปรับไวตามเทคโนโลยี
เมื่อก่อนคุณครู สอนในห้องสี่เหลี่ยม มีกระดาน มีนักเรียน แต่พอโควิดมา เปลี่ยนสภาพแวดล้อมโดยสิ้นเชิง เด็กมาโรงเรียนไม่ได้ ครูต้องสร้างสรรค์ วิธีสอนแบบใหม่
พอโควิดคลาย กลับไปห้องเรียนแบบเดิมไม่ได้ จะสอนเด็กอย่างไร
ให้ตรงกับการเปลี่ยนแปลง ครูต้องปรับตัว เพิ่มทักษะการสอนเพื่อเดินหน้าต่อ
ทิศทางหัวเรือ หลังสถานการณ์โควิด-19
เด็กเขามีทักษะเทคโนโลยีเพิ่ม ตัวครูก็จะใช้สื่อเทคโนโลยีมากขึ้น
รวมไปถึงเราพบทักษะ ที่ขาดหายไปของเด็ก ทักษะการทำงานเป็นทีมลดลง ทักษะทางสังคม การนำเสนองาน
ดังนั้นคุณครู ก็ต้องปรับวิธีการสอน ทำให้เด็ก ๆ อยากเรียนรู้ พร้อมฝึกทักษะ การนำเสนองาน กระบวนการทำงานเป็นทีมของพวกเขา
สอนสนุก เครื่องมือครบครัน
คาบสอนภาษาอังกฤษ จะเน้น active learning
และเสริมเทคโนโลยีเข้ามา เพราะเด็ก ๆ เขามีความสามารถด้านนี้ ยกตัวอย่าง
วิชาโครงงานภาษาอังกฤษ ถ้าให้เด็ก เขียนใส่กระดาษ เขาจะเบื่อ
ต้องใช้ Google Docs ช่วย เด็กเขียนงานบนนั้นได้ คุณครูก็คอมเมนต์ได้ อีกหนึ่งเครื่องมือ ClassPoint คุณครูตั้งคำถาม เด็กตอบได้หลากหลาย ไม่ว่าจะพูด หรือพิมพ์ มันช่วยให้เห็นถึงกระบวนการ ของนักเรียนที่ต่างกันออกไป
มิติใหม่ของระบบราชการครูไทย
ก.ค.ศ. เห็นโครงการ UTOC ทำวิจัย ประเมินการสอนของครู
ผ่านคลิปวิดีโอ เราเลยปรับมาใช้บ้าง โดยคุณครูไม่ต้องส่งแฟ้ม
ใช้คลิปการสอนแทน ส่งเข้ามาในระบบออนไลน์
พร้อมคำอธิบาย ทำไมครูถึงสอนแบบนี้ และให้กรรมการ ประเมินผ่านลิงก์
วิธีนี้ทำให้ครูบางท่าน ที่เหนื่อยกับการทำเอกสาร กลับมาโฟกัส การเรียนการสอน
โลกหมุนไป การประเมินครูไทยต้องเปลี่ยนแปลง
ทำคลิปการสอนส่ง ประเมินผ่านออนไลน์ ช่วยลดภาระงานคุณครู
ส่วนวิธีการประเมิน ใช้กรรมการ 3 ท่าน เราจะส่งลิงก์ไปให้
ถ้า 3 ผ่านคือ 3 ท่านให้ผ่าน ซึ่งความจริง 2 คนก็โอเคแล้ว เขาจะดูจากของจริง และให้คะแนน ในทางวิชาการ เราเรียกว่า การประเมินตามสภาพจริง
เกณฑ์เทียบเคียงระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัดการประเมิน เรา review จาก smart teaching ที่เป็นการวิจัยพันกว่าเรื่องทั่วโลก ที่เขาสังเคราะห์ออกมาว่า ถ้าการสอน powerful ของคุณครู วัดได้จาก 8 ตัวนี้
ส่วนผลลัพธ์การเรียนรู้ของเด็ก เราใช้เกณฑ์ของ world economic forum เป็นตัววัดว่า ถ้าสอนดี เด็กจะเกิดอะไร มี 4 ตัว ทั้งหมด 12 ตัว ที่เราใช้ประเมิน
การสอนในเวอร์ชันที่ดีที่สุด
เมื่อระบบเปลี่ยน ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยประเมิน ทำให้ครูกล้าเปิดตัวเองออกมา ทลายกำแพงความกลัวของตัวเอง ไม่ต้องกังวลคนอื่นจะเข้ามาดู ว่าเราสอน ไม่เข้าท่าเข้าทางไหม
และยังช่วยให้คุณครู ได้พัฒนาตัวเองต่อไป มีเป้าหมาย การสอนครั้งหน้า มันต้องดีกว่าครั้งก่อน ซึ่งตรงนี้เราเรียกว่า ประเด็นท้าทาย
วิชาชีพครู ไม่แข่งกับใคร
เราออกแบบระบบ ให้คุณครูไม่ต้องมีคู่แข่ง เมื่อเข้าสู่วิชาชีพ การจะได้ขึ้นเงินเดือน เลื่อนตำแหน่ง ครูต้องแข่งกับตัวเอง ความก้าวหน้าของครู เป็นแท่งตรง การจะขึ้นไปตำแหน่งสูง ๆ ขึ้นอยู่กับฝีมือ
ในอนาคตครูมีความสามารถ สอนดี เห็นผลลัพธ์กับเด็กได้จริง เขาก็สามารถ ไต่ขึ้นไปได้ทุกปี เงินเดือน ก็จะเพิ่มขึ้น แต่จะมีเงินอีกส่วนหนึ่ง เราเรียกว่าวิทยฐานะ
การเติบโต ที่สมเหตุสมผล
เมื่อก่อนกว่าจะได้เลื่อนตำแหน่ง ต้องรอ 5 ปี แต่ของใหม่ เราลดเหลือ 4 ปี และมีสิทธิ์ลดเหลือ 3 ปี ถ้าภาษาอังกฤษดี ทักษะในเรื่องต่าง ๆ ครูพัฒนาตัวเอง เรียนต่อปริญญาโท ปริญญาเอก เงินจะมา 2 ทาง เงินเดือนกับเงินวิทยฐานะ
Big Data กับการพัฒนาครูให้ถูกจุด
เทอมที่ผ่านมา เรามีครู 400,000 คน ครูขอประเมินวิทยฐานะตามระบบ 40,000 คน ถ้าทำไปเรื่อย ๆ เราจะมีคลิปการสอน หลักแสน ต่อไปในอนาคตจะเป็น Big Data ที่เราใช้ วิเคราะห์เชิงนโยบาย
ครูไทยต้องเติม competency เรื่องอะไร ใช้วางแผนพัฒนาคุณครู โดยไม่ต้องจินตนาการ แต่ใช้ AI เข้ามาวิเคราะห์แทน
อนาคตที่ดีกว่าเดิม
เราแบ่งศูนย์พัฒนาการเรียนรู้ครู เป็น 2 ส่วน หน่วยที่ 1 ปฐมภูมิคือ โรงเรียนต้องช่วยกัน พัฒนาชุมชนทางวิชาชีพ ในอนาคต ระดับใหญ่ขึ้น เราเรียกว่า แพลตฟอร์มการเรียนรู้ร่วมกัน ก.ค.ศ.
จะจัดการประชุม วิชาการระดับชาติ และนานาชาติ โดยให้คุณครู แชร์สิ่งที่เป็น best practice ช่วยให้คุณครูท่านอื่น เห็นตัวอย่างร่วมกัน
ต้นแบบของเพื่อนร่วมอาชีพ
Teacher Hero คือเป็นครูที่กล้าคิด กล้าทำ กล้าพัฒนา กล้าเรียนรู้ และสามารถนำคนอื่นได้ ชุมชนการเรียนรู้ของครู ต้องมีการแลกเปลี่ยนกัน มาแชร์กัน
บรรเทาปัญหา การเรียนการสอน สอนแล้วมีปัญหาอะไร แก้ปัญหาอย่างไร ผลเป็นอย่างไร ขั้นต่อไป จะทำอย่างไรต่อ
เสียงสะท้อนจากใจครู ถึงระบบการศึกษาไทย
เราอยากให้คุณครู สอนตามหลักสูตรปกติ พัฒนาผู้เรียนตามปกติ แต่เพิ่มทักษะทางด้านสังคม การเข้าร่วมสังคม การอยู่ร่วมกับผู้อื่น
เพราะส่วนใหญ่ เด็กที่อยู่ในเมือง เขาจะมีปัญหาเรื่องนี้เยอะ
แต่สำหรับชนบท ทักษะชีวิต เด็กเขาจะมีทักษะตรงนี้มาก
สร้างผู้ใหญ่ในอนาคตให้แข็งแกร่ง
คนเป็นพ่อเป็นแม่ อยากเห็นครูที่ให้ความสำคัญ กับห้องเรียน รู้จักสังเกต และให้ความสำคัญ กับเด็กทุกคน มองแววตา ดูว่าเด็กแต่ละคน แตกต่างกันอย่างไร
ครูต้องรู้จักหาวิธีใหม่ ๆ ในการสอน มีการปรับวิธีตั้งคำถาม ให้เด็กได้คิดเพิ่ม ลดความคาดหวัง ที่เด็กจะเก่งที่สุด แต่ให้เขามีทักษะ ที่หลากหลาย
📍รู้จักกับเราเพิ่มเติม 📍
✅สมัครเรียนออนไลน์ฟรี พร้อมรับเกียรติบัตรกับ Starfish Labz: www.starfishlabz.com
✅ ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นประเมินทักษะและสมรรถนะด้วย Starfish Class: www.starfishclass.com
✅ ติดต่อรับบริการด้านการศึกษา Starfish Education Social Enterprise: www.starfishedu.org/
✅ กดติดตามข่าวสารอื่นๆ ของ STARFISH EDUCATION ได้ที่
• FACEBOOK: www.facebook.com/starfishlabz
• FACEBOOK: www.facebook.com/StarfishAcademy2019
• YOUTUBE : Starfish Labz Channel
วิดีโอใกล้เคียง
EP:3 Chef’s Table Eat & EDUCATE โลกเปลี่ยน อาชีพเปลี่ยน เตรียมอาชีพให้เด็กยังไงในอนาคต
ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้อย่างไรให้ครบ 8 องค์ประกอบ วPA
แบ่งปันไอเดียสร้างห้องเรียนสมรรถนะตามเกณฑ์ วPA สอนอย่างไรให้ผ่าน PA
กล้าสอน KLA-SON KN ENJOY MODEL
คอร์สใกล้เคียง
ฝึกทักษะพื้นฐานในการตัดสินใจ (Decision Making)
การตัดสินใจที่ดีและมีประสิทธิภาพนั้น ถ้าหากได้รับการฝึกฝนทักษะการตัดสินใจตั้งแต่วัยรุ่น ก็จะเพิ่มโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในชีวิ ...
การวางแผนพัฒนาตนเอง
การวางแผนพัฒนาตนเองช่วยให้คุณครูกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน มีการวางแผน และช่วยให้ครูเลือกใช้วิธีการที่เหมาะสม มีการกำหนดระ ...
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...
Micro Learning - เทคนิคการช่วยเหลือผู้เรียน
การช่วยเหลือผู้เรียนสำคัญต่อการลดภาวะการเรียนรู้ถดถอยและฟื้นฟูการเรียนรู้ โดยการสร้างความร่วมมือระหว่างครูกับผู้ปกครอง